KTAM Focus

KTAM Focus : ขบวนเก็บตก

ผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อย (รวมถึงผู้เขียน) อาจจะ “ตกรถ” คันใดคันหนึ่งหรือหลายคันแล้วในปีนี้หลังเวลาผ่านไป 8 เดือนเศษ (ถึงวันที่ 3 ก.ย.) หุ้นสหรัฐ +22.6% (S&P 500) หุ้นยุโรป +17.5% (STOXX 600) หุ้นอินเดีย +23.6% (NIFTY 50) หุ้นเวียดนาม +20.9% (VNINDEX) หรือแม้แต่ “หุ้นไทย” ก็ยังบวกได้สวยๆสองหลัก +12.4% (SET)

KTAM Focus : ดอยทอง…ลงทางนี้

ข้อมูลแรงงานสหรัฐแกร่งทุกมุม จ้างงานนอกภาคเกษตร ก.ค. +943,000 สูงกว่าคาด ว่างงานลดฮวบจาก 5.9% เหลือ 5.4% แถมคนอเมริกันกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้นด้วย อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน (labor force participation rate) ขยับขึ้นเป็น 61.7% บรรดาธุรกิจยังหาคนทำงานยาก หนุนค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงพุ่งเกินคาด +0.4%MoM +4.0%YoY

KTAM Focus : Adoption

Global Public Investor Survey จัดทำโดย Official Monetary and Financial Institutions Forum (OMFIF) เผย 30% ของธนาคารกลางทั่วโลก วางแผนเติมเงินหยวนเข้าทุนสำรองภายในระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้า ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดจาก 10% เมื่อปีก่อน ความนิยมใช้สกุลเงินของจีนพุ่งขึ้นอย่างแรง โดยเฉพาะบางภูมิภาคเช่น ทวีปแอฟริกา

KTAM Focus : แผนที่ลงทุน

แพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ $1.9 ล้านล้านกำลังมา ปธน.โจ ไบเดน เดินหน้าผลักดันโปรเจคต่อไป “แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน” (Infrastructure Bill) มูลค่าราว $2 ล้านล้าน มิใช่แค่สร้างถนนซ่อมสะพานดังเช่นในอดีต แต่มุ่งแก้ปัญหา “การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ” (Climate Change) ตั้งเป้าขจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือศูนย์ภายในปี 2035 หนุนจ้างงานเพิ่มหลายล้านตำแหน่ง …ข่าวนี้เข้ามาได้เวลาพอดิบพอดี…

คอลัมน์ KTAM Focus : ASEAN MMT

Modern Monetary Theory (MMT) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ “นอกกรอบ” ตั้งอยู่บนสมมุติฐานสำคัญคือ ถ้าประเทศใดพิมพ์เงินได้ไม่จำกัด ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องหนี้ต่อจีดีพี เพราะถึงอย่างไรก็พิมพ์เงินใช้คืนได้อยู่แล้ว รัฐบาลควรดำเนินนโยบายคลังเชิงรุก เพิ่มการใช้จ่ายและลดภาษีเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ ส่วนอัตราดอกเบี้ยควรตรึงไว้ที่ระดับต่ำ แล้วถ้าเงินเฟ้อสูงเกินไป ธนาคารกลางก็ไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ย แต่ให้รัฐบาลขึ้นภาษีแทน

KTAM Focus : Global Credit พิชิตไวรัส

ความโกลาหลในตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก ที่เพิ่งผ่านพ้นไปในเดือนนี้ ได้ผลักดันเงินทุนให้หลั่งไหลไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยขั้นสุดอย่าง “ตั๋วเงินคลังสหรัฐ” กดยีลด์ลงต่ำจนติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ต.ค. 2015 ดอลลาร์เป็นที่ต้องการมากในภาวะ “กลัวเสี่ยง” (risk off) หนุน dollar index พุ่งทะยานแตะ 103 เมื่อ 19 มี.ค. ทดสอบจุดสูงสุดในรอบ 3 ปีเศษ

คอลัมน์ KTAM Focus : แข็งสุดในปฐพี

เงินบาท ปิดตลาดวันศุกร์ 30.16 บาทต่อดอลลาร์ แข็งสุดใน 6 ปี บาทแข็งค่าราว 8%มากที่สุดในบรรดาสกุลเงิน Emerging Markets ปีนี้เป็นรองเพียง รูเบิลรัสเซีย แต่หากดู real effective exchange rate (REER) คือเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักๆถ่วงน้ำหนักด้วยดุลการค้าแล้ว ปัจจุบันบาทแข็งเกือบเท่าช่วงก่อนลอยค่าเงินในวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 เลยทีเดียว!

คอลัมน์ KTAM Focus : นโยบายเปลี่ยนหมุน กระแสทุนเปลี่ยนทิศ

เกือบตลอดเดือนที่ผ่านมา ผมได้ย้ำว่า “นโยบายกระตุ้นการคลัง” โดยรัฐบาลจัดงบขาดดุล ลดภาษี เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ น่าจะเป็นทางออกของเศรษฐกิจโลก เพื่อแก้ปัญหาการเติบโตต่ำจนเสี่ยงถดถอย รวมถึงภาวะ “ยีลด์ติดลบ” ที่รุนแรงขึ้นในตลาดตราสารหนี้ แล้วรัฐบาลของนานาประเทศก็เริ่มขยับเขยื้อนไปในแนวทางดังกล่าว เห็นได้จากการออกแพคเกจกระตุ้นกันอย่างคึกคักในเอเชีย อาทิ อินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย รวมถึงไทย หรือแม้แต่ในยุโรป “เยอรมนี”

1 2 3 4 5