KTAM Focus

KTAM Focus : Global Credit พิชิตไวรัส

ความโกลาหลในตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก ที่เพิ่งผ่านพ้นไปในเดือนนี้ ได้ผลักดันเงินทุนให้หลั่งไหลไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยขั้นสุดอย่าง “ตั๋วเงินคลังสหรัฐ” กดยีลด์ลงต่ำจนติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ต.ค. 2015 ดอลลาร์เป็นที่ต้องการมากในภาวะ “กลัวเสี่ยง” (risk off) หนุน dollar index พุ่งทะยานแตะ 103 เมื่อ 19 มี.ค. ทดสอบจุดสูงสุดในรอบ 3 ปีเศษ

KTAM Focus : AI

สภาวะเลวร้ายสุดของตลาดน่าจะผ่านไปแล้ว เห็นได้จาก “ความคาดหวังเงินเฟ้อ” ตัวแปรสำคัญระดับ Mother of All Factors (KTAM Focus 15 มี.ค.) ปรับตัวขึ้นครั้งแรกใน 8 วันทำการ +25 bps บวกแรงสุดในปีนี้โดย 10-Year Breakeven Inflation Rate ฟื้นจากระดับปิดต่ำสุด 0.50% วันที่ 19 มี.ค. ขึ้นมาส่งท้ายปลายสัปดาห์ 0.75% ยีลด์พันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี กลับลงมาต่ำกว่า 1% บ่งชี้ว่าสภาพคล่องเริ่มกลับเข้าสู่ตลาด

KTAM Focus : Mother of All Factors

ความคาดหวังเงินเฟ้อ ซึ่งสะท้อนในตลาดพันธบัตรเช่น US 10-Year Breakeven Inflation Rate ลงมาต่ำกว่า 1% ครั้งแรกนับตั้งแต่ มี.ค. 2009 หลังวิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis: GFC) เรื่องนี้สำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังเงินเฟ้อนั้นกระทบ “ดอกเบี้ยแท้จริง” ซึ่งมีอิทธิพลต่อสภาวะทางการเงิน (financial conditions) เป็นอย่างมาก เพราะยามที่ดอกเบี้ยแท้จริงปรับตัวลง สภาวะทางการเงินก็ผ่อนคลาย หนุนราคาสินทรัพย์ต่างๆปรับตัวขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากดอกเบี้ยแท้จริงสูงขึ้น สภาวะการเงินตึงตัว ถ้าขณะนั้นเศรษฐกิจชะลอ ราคาสินทรัพย์ก็อาจร่วงลงอย่างรุนแรงได้

KTAM Focus : สุขใจ

KTAM Focus อาทิตย์ที่แล้ว “Dislocation” ชี้ภาวะ “ไม่ปกติ” ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.พ. ตลาดหุ้นร่วงลงรวดเร็วและรุนแรง ขณะความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ต่างๆผิดเพี้ยนไป ซึ่งผมได้ทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยว่า จะทบทวนกลยุทธ์เพื่อนำเสนอผ่านช่องทางสื่อสารของ บลจ.กรุงไทย “KTAM Smart Trade” จึงขอเรียบเรียงไว้ให้ ณ ที่นี้ด้วย

คอลัมน์ KTAM Focus : Dislocation

อาการ “หลุด” ของไหล่ (Shoulder Dislocation) ทำให้ร่างกายเจ็บปวดทุรนทุรายอย่างไร “การเคลื่อนหลุด” ของตลาดการเงิน (Financial Market Dislocation) ก็สร้างความทรมานแก่นักลงทุนไม่แพ้กัน เพราะมันคือ “สภาวะไม่ปกติ” อันเนื่องมาจากแรงกดดันบางประการ ซึ่งส่งผลให้ราคาตลอดจนความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ต่างๆในตลาดการเงินผิดเพี้ยนไปมากจากตรรกะและมูลค่าแท้จริงตามปัจจัยพื้นฐาน ทั้งนี้ ตลาดการเงินโลกออกอาการ dislocation ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะดัชนีความผันผวน (VIX) “มาตรวัดความกลัว” พุ่งทะลุ 40 สู่ระดับใกล้เคียงกับจุดสูงสุดในภาวะวิกฤตหลายๆครั้งในอดีต

คอลัมน์ KTAM Focus : จากทองสู่ไทยไปเวียดนาม

ทอง +3.75% ในสัปดาห์ล่าสุด ราคาขึ้นมายืนเหนือ $1,600 ต่อออนซ์ “ปลุก” นักลงทุนทั่วโลกให้ตื่นขึ้นมาสนใจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน โลหะสีเหลืองมันวาว ซึ่งเปรียบเสมือนสกุลเงินสากลอมตะนิรันดร์กาลตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ …แต่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวกลับกลายเป็นเรื่องเด็กๆไปเลยเมื่อเทียบกับการ “ระเบิดฟอร์มเทพ” +10.82% ของ ดัชนีหุ้นเหมืองทอง ในช่วงเวลาเดียวกัน!!!

คอลัมน์ KTAM Focus : ชีวิตหลัง 1%

กนง. ลดดอกเบี้ย 25 bps เหลือ 1% เมื่อ 5 ก.พ. “คิกออฟ” นโยบายการเงินยุคใหม่ เพราะมันไม่เคยต่ำขนาดนี้ ผมยืนยันตั้งแต่ปีที่แล้วว่า ดอกเบี้ยไทยไม่น่าถึง 1% แปลว่าหากสถานการณ์เป็นใจ ดอกเบี้ยอาจลงได้อีก 1-2 ครั้งจากระดับปัจจุบัน ถ้าลดเหลือ 0.5% เลยก็ดี เพราะจะทำให้ “ดอกเบี้ยแท้จริง” (หักเงินเฟ้อแล้ว) ลงไปติดลบ กระตุ้นเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น

1 13 14 15 16 17 18