KTAM Focus

คอลัมน์ KTAM Focus : QE แอบ

เฟดประกาศขยายขนาดงบดุล ด้วยการพิมพ์เงินซื้อ ตั๋วเงินคลัง (T-bills) 6 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เริ่มตั้งแต่ 15 ต.ค. – 15 พ.ย. และต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสสองปี 2020 เป็นอย่างน้อย โดยแต่ละเดือนอาจปรับเปลี่ยน อัตราการซื้อ และ ดูเรชั่น

คอลัมน์ KTAM Focus : ดาวเรียงตัวกันในฉากสุดท้ายของ Super Mario

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะประชุมนโยบายการเงินครั้งสำคัญ 12 กันยายน 2019 แม้ยังไม่ใช่นัดสุดท้ายอย่างเป็นทางการของ Mario Draghi ในฐานะประธาน (ยังเหลืออีกครั้งก่อนครบวาระ 31 ต.ค.) แต่ทุกสายตาในตลาดต่างจับจ้องและทุกหูต่างก็รอฟัง การแถลงข่าว ซึ่งเปรียบเสมือน “ฉากสุดท้าย” ของนายธนาคารกลางสายพิราบ

คอลัมน์ KTAM Focus : นโยบายเปลี่ยนหมุน กระแสทุนเปลี่ยนทิศ

เกือบตลอดเดือนที่ผ่านมา ผมได้ย้ำว่า “นโยบายกระตุ้นการคลัง” โดยรัฐบาลจัดงบขาดดุล ลดภาษี เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ น่าจะเป็นทางออกของเศรษฐกิจโลก เพื่อแก้ปัญหาการเติบโตต่ำจนเสี่ยงถดถอย รวมถึงภาวะ “ยีลด์ติดลบ” ที่รุนแรงขึ้นในตลาดตราสารหนี้ แล้วรัฐบาลของนานาประเทศก็เริ่มขยับเขยื้อนไปในแนวทางดังกล่าว เห็นได้จากการออกแพคเกจกระตุ้นกันอย่างคึกคักในเอเชีย อาทิ อินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย รวมถึงไทย หรือแม้แต่ในยุโรป “เยอรมนี”

คอลัมน์ KTAM Focus : Floccinaucinihilipilification

ยังไม่ใช่คำยาวที่สุดในภาษาอังกฤษ แต่กว่าจะหัดอ่านจนคล่องปากก็ใช้เวลานานหลายนาที! Oxford Dictionary ให้คำจำกัดความ floccinaucinihilipilification ว่ามันคือ the action or habit of estimating something as worthless “การกระทำหรือนิสัยที่มองว่า บางสิ่งบางอย่างนั้นไม่สำคัญ ไม่มีค่า หรือ ไร้ค่า” ศัพท์คำนี้ปรากฏเมื่อวันพุธในรายงานประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ครั้งล่าสุด 7 ส.ค. ซึ่งผลโหวต 4:2 ให้ลดดอกเบี้ย 0.35%

คอลัมน์ KTAM Focus : แจกซะ (MM) ที!

BlackRock บริษัทจัดการลงทุนใหญ่ที่สุดในโลก สัปดาห์ที่ผ่านมาได้นำเสนอรายงาน “Dealing with the next downturn” ชี้ว่า นโยบายการเงิน และ นโยบายการคลัง แบบเดิมๆที่ใช้บริหารเศรษฐกิจโลกมายาวนานอาจถึง “ทางตัน” เพราะดอกเบี้ยปัจจุบันต่ำกว่าในอดีตมาก ตราสารหนี้ในโลกทุกวันนี้มียีลด์ต่ำเป็นประวัติการณ์หรือ “ติดลบ” อยู่แล้ว

1 15 16 17 18