กองทุนรวม

กองทุนรวม 8 เดือนวูบ 4.52 แสนลบ. ลด 8.4% ศก.โลกผันผวน เงินลงทุนนอกหดต่ำ 1 ล้านลบ.

HoonSmart.com>> “สมาคมบริษัทจัดการลงทุน” เผย 8 เดือนแรกปี 65 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง 4.52 แสนล้านบาท กว่า 8.44% จาก 5.37 ล้านล้านบาท เหลือ 4.91 ล้านล้านบาท ด้าน “ชวินดา หาญรัตนกูล” นายกสมาคมฯ ชี้สงครามยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกผันผวนหนัก ฉุดทุกสินทรัพย์ราคาปรับตัวลดลง “ตราสารหนี้” วูบ “หุ้น” ร่วง กองทุนต่างประเทศ (FIF) มูลค่าลดต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท มองความผันผวนยังไม่จบ แนะลงทุนอย่างระมัดระวัง ทยอยเข้าลงทุน

กองทุนรวม Q2/65 เงินไหลออก 1.2 แสนลบ. ซื้อ “กองหุ้นไทย” รอบ 2 ปีรับเปิดเมือง

HoonSmart.com>> “มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิรช์” เผยกองทุนรวมไตรมาส 2/65 เงินไหลออกสุทธิกว่า 1.2 แสนล้านบาท เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยขึ้น นักลงทุนลดเสี่ยงลงทุน ดันยอดครึ่งปีเงินไหลออกทะลุ 2 แสนล้านบาท ชี้กองทุน money market เงินไหลเข้าสูงต่อเนื่อง “หุ้นจีน-เวียดนาม” ยังฮอตซื้อสุทธิ ฟากกลุ่มกองทุนตราสารหนี้เงินออกสุทธิมากสุด ผลตอบแทนติดลบ ด้าน “กองทุนหุ้นไทย” สัญญาณดี เงินไหลเข้าเป็นไตรมาสแรกในรอบ 2 ปี รับเปิดประเทศ จับตาดอกเบี้ยไทย ฟันด์โฟลว์

กองทุนรวมครึ่งปี 65 วูบ 4.84 แสนลบ. AUM ลด 9% หุ้นร่วง ตราสารหนี้ฉุด

HoonSmart.com>> “สมาคมบริษัทจัดการลงทุน” เผยครึ่งปี 65 กองทุนรวมทั้งระบบมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (AUM) ลดเหลือ 4.88 ล้านล้านบาท ลดลงกว่า 4.84 แสนล้านบาท หรือ 9.02% จากสิ้นปีก่อน หลังเงินเฟ้อ ราคาพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์และอาหารพุ่ง สงครามยืดเยื้อ ฉุดหุ้นทั่วโลกร่วง ตราสารหนี้มูลค่าลดลง ด้านกองทุน FIF ลงทุนนอกมูลค่าหด 2.4 แสนล้านบาท กว่า 19.60% ผลตอบแทนจากการลงทุนติดลบ มีเพียง “สินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมัน ทอง” กำไร

กองทุนรวม 5 เดือนมูลค่าลดลง 8.1% เงินไหลออก 1.6 แสนลบ.

HoonSmart.com>> “มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช” เผย 5 เดือนแรกปี 65 “กองทุนรวมไทย” มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง 8.1% จากสิ้นปีก่อน ลงมาแตะ 3.9 ล้านล้านบาท (เฉพาะกองทุนเปิด ไม่รวมกองทุนปิด, ไม่รวม ETF, REIT, Infra fund) เงินไหลออกต่อเนื่อง เฉพาะเดือนพ.ค.กว่า 5.6 หมื่นล้านบาท รวมปีนี้ไหลออกสุทธิ 1.6 แสนล้านบาท ด้านผลตอบแทนหลายกลุ่มกองทุนติดลบ หุ้นทั่วโลกติดลบสะสมระดับ 10% ติดตามเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย แนะจัดพอร์ตด้วยความระมัดระวัง

กองทุนรวม Q1/65 เงินไหลออก 8.7 หมื่นลบ. หนีดอกเบี้ยขาขึ้น

HoonSmart.com>> HoonSmart.com>> “มอร์นิ่งสตาร์” เผยไตรมาส 1/65 เงินไหลออกกองทุนรวมกว่า 8.7 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากกองทุนตราสารหนี้กว่า 8.5 หมื่นล้านบาท หนีเฟดขึ้นดอกเบี้ย สงครามรัสเซีย-ยูเครนดันราคาน้ำมันพุ่งหนุนเงินเฟ้อสูง โควิดระบาดในจีน หุ้นทั่วโลกร่วงฉุดกองทุนตราสารทุนมูลค่าลดลง ส่วนกองทุน LTF เงินไหลออก 1.6 หมื่นล้านบาท ประเมินแนวโน้มไตรมาส 2/65 เงินเฟ้อสูงยังกดดันการลงทุน

กองทุนรวม Q1/65 มูลค่าทรัพย์สินลด หุ้นทั่วโลกตก-ตราสารหนี้หด

HoonSmart.com>> “กองทุนรวม” ไตรมาส 1/65 มูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 5.21 ล้านล้านบาท หดตัวลง 1.57 แสนล้านบาท คิดเป็นกว่า 2.92% จากสิ้นปีก่อน หลังเฟดส่งสัญญาณยุติ QE เร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ฉุดผลตอบแทนส่วนใหญ่ลดลง กองทุนหุ้นต่างประเทศติดลบกว่า 10% ฉุดมูลค่าทรัพย์สินลดลง 1.22 แสนล้านบาท กองทุนตราสารหนี้เงินไหลออก ด้าน “กองทุนน้ำมัน” ยังครองแชมป์ผลตอบแทนสูงสุด 3 เดือนแรกพุ่ง 27.5%

ปี 64 เงินไหลเข้ากองทุนรวม 2 แสนลบ. – “กองหุ้นโลก-จีน” ยอดนิยม

HoonSmart.com>> “มอร์นิ่งสตาร์ฯ” เผยเงินไหลเข้าสุทธิกองทุนรวมรอบปี 64 มูลค่า 2 แสนล้านบาท “กองทุนหุ้นโลก” ทะลัก 9.4 หมื่นล้านบาท รองลงมากองทุนหุ้นจีน 8.4 หมื่นล้านบาท ฟากกองทุน “มันนี่ มาร์เก็ต” เงินไหลออก 1 แสนล้านบาท โยกลงทุนเพิ่มผลตอบแทน ด้าน “กองทุนน้ำมัน” ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุด 65.9% ส่วน “กองทุนหุ้นจีน” ผลตอบแทนติดลบมากสุด -12.85% เซ่นรัฐคุมเข้มธุรกิจ ด้านกองทุนหุ้นไทยเงินไหลออกต่อเนื่อง 8 ไตรมาส คาดเก็บภาษีหุ้นกระทบกองทุนหุ้นไทยทางอ้อมดึงความน่าสนใจลงทุนน้อยลง

กองทุนรวมปี 64 โต 6.57% หุ้นทั่วโลกหนุนสินทรัพย์แตะ 5.37 ล้านล้าน

HoonSmart.com>> อุตสาหกรรมกองทุนรวมปี 64 เติบโต 3.31 แสนล้านบาท ขยายตัว 6.57% จากสิ้นปีก่อนมาแตะ 5.37 ล้านล้านบาท รับอานิงส์หุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ผสมเม็ดเงินไหลเข้าลงทุนกองทุนหุ้น หนุนมูลค่าทรัพย์สินกองทุนหุ้นพุ่งเกือบ 25% กว่า 3.6 แสนล้านบาท ด้านกองทุน FIF โตต่อเนื่องเติบโตเกือบ 28% มูลค่าแตะ 1.23 ล้านล้านบาท ส่วนกองทุนประหยัดภาษี SSF โตแรงจากฐานต่ำ ฟาก RMF เพิ่มขึ้น 19% ด้าน “บลจ.กสิกรไทย” ยังครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดทะลุ 1 ล้านล้านบาทเพียงรายเดียว

ก.ล.ต.เห็นชอบแนวปฏิบัติให้บลจ.ใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม

HoonSmart.com>> ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบประกาศสมาคมบริษัทจัดการลงทุน วางแนวปฏิบัติการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่อง ให้บลจ.มีแนวปฏิบัติเดียวกัน ยกระดับบลจ.ใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหน่วยลงทุน

1 2 3 4 5 6