ความจริงความคิด : กลโกงทางการเงิน 1


โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP นักวางแผนการเงิน

มีคำกล่าวที่ว่า “เมื่อไรก็ตามที่เศรษฐกิจมีปัญหา เมื่อนั้นปัญหาอาชญากรรมจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ปัญหาอาชญากรรมของสังคมไทยในปัจจุบัน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2560 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง พบว่า สาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมของสังคมไทย

48.80% สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ชีวิต ความเป็นอยู่ และเทคโนโลยี
44.32% ความอ่อนแอของกระบวนการยุติธรรม และการบังคับใช้กฎหมาย ผู้กระทำผิดจึงไม่เกรงกลัว จึงได้ใจและกล้าที่จะกระทำผิด
42.72% จิตใจของผู้คนมักขาดสติ ไม่ใช้สติในการแก้ไขปัญหา ขาดศีลธรรม
34.80% พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวที่แตกต่างกัน
33.04% เกิดจากพฤติกรรมการเลียนแบบจากสื่อหรือคนรอบข้าง
22.32% ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
0.96% การใช้ยาเสพติด

ในภาวะโควิดที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่ว คนทุกระดับชั้นได้รับผลกระทบหมด รายได้หดหาย หนี้สินเพิ่มพูน ปัญหาอาชญากรรมก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะกลโกงทางการเงินที่พวกมิจฉาชีพเอามาดูดเงินพวกเรากันไปหมดดังที่เห็นในข่าวตามสื่อต่างๆ วันนี้เราอาจโชคดีไม่เป็นเหยื่อ แต่ไม่แน่ว่าจะมีวันที่โชคร้ายหรือเปล่า เพื่อป้องกันวันที่เราอาจจะโดนหลอก เรามาศึกษากลโกงทางการเงินกันหน่อยดีกว่า

กลโกงทางการเงินจะอาศัย “ความโลภ” “ความกลัว” และ “ความไม่รู้” ของเรา หากเรายิ่งมีอารมณ์โลภมาก (Extreme greed) หรือ อารมณ์กลัวมาก (Extreme fear) มากเท่าไร ความสามารถในการตัดสินใจด้วยเหตุผลจะยิ่งน้อยลงมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งเราไม่มีความรู้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีโอกาสตกเป็นเหยื่อมากขึ้นเท่านั้น

กลโกงที่อาศัย “ความกลัว”

กลโกงนี้มักจะมาทางโทรศัพท์ วิธีนี้จะเป็นการส่งข้อความเข้าโทรศัพท์ของเหยื่อ เพื่อสร้างความตกใจให้เหยื่อติดต่อกลับ และเมื่อเหยื่อติดต่อกลับจะได้ยินเสียงปลายสายเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติพอเหยื่อได้ยินก็ยิ่งกระตุ้นความรู้สึกให้เหยื่อตกใจกลัวมากขึ้น เรื่องที่นิยมใช้หลอกเหยื่อทางโทรศัพท์มีดังนี้

บัญชีเงินฝากถูกอายัดหรือเป็นหนี้บัตรเครดิต มิจฉาชีพจะหลอกถามฐานะทางการเงินของเหยื่อ ถ้ามีเงินไม่มากก็จะให้เหยื่อทำรายการโอนเงินให้มิจฉาชีพผ่านตู้เอทีเอ็ม (ATM) แต่ถ้าเหยื่อมีเงินเยอะก็จะให้เหยื่อทำรายการโอนเงินให้มิจฉาชีพผ่านเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ(ADM) และจะให้เลือกทำรายการ เป็นภาษาอังกฤษ

บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติด หรือการฟอกเงิน โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีหลอกถามฐานะการเงินของเหยื่อก่อน ถ้าพบว่าเหยื่อมีเงินมากจะแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่ ปปง. (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) เจ้าหน้าที่ ปปส. (สำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด) หลอกให้เหยื่อโอนเงินทั้งหมดไปให้ตรวจสอบ

กลโกงที่อาศัย “ความโลภ”

Advance fee หลอกให้จ่ายก่อนเพื่อรับทรัพย์ก้อนใหญ่

วิธีการโกงแบบนี้ คือ การหลอกให้เราจ่ายเงินหรือทรัพย์ของเรา โดยเสนอทรัพย์ที่มากกว่าตอบแทน หรือที่เรียกว่า “Advance fee” วิธีนี้คล้ายวิธีตกทองสมัยก่อน ที่มิจฉาชีพทำเป็นพบสร้อยทองเส้นใหญ่ที่ตกหล่นอยู่พร้อมกับเรา อ้างสิทธิการเป็นเจ้าของสร้อยทองที่พบคนละครึ่งกับเรา และจะทำการตกลงขอสร้อยทองที่เราสวมอยู่ (เส้นเล็กกว่าเส้นที่พบ) แลกกับสิทธิการเป็นเจ้าของสร้อยเส้นที่พบ เมื่อเราหลงกลยอมแลก ปรากฏว่าเมื่อเอาสร้อยทองไปตรวจสอบที่ร้านทอง ก็พบว่าเป็นทองปลอม แต่ในยุคปัจจุบัน มิจฉาชีพก็มีพัฒนาการตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น

เงินคืนภาษี ในกรณีเงินคืนภาษีมิจฉาชีพจะใช้หลอกเหยื่อในช่วงที่มีการยื่นภาษีและขอ คืนภาษี โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร แจ้งว่าเหยื่อได้รับเงินคืนภาษีแต่จะต้องยืนยัน รายการโดยทำตามที่มิจฉาชีพบอกผ่านตู้เอทีเอ็ม เมื่อเหยื่อทำรายการเสร็จจะพบว่าได้ทำการโอนเงินในบัญชี ตนเองไปให้มิจฉาชีพเรียบร้อยแล้ว

โชคดีรับรางวัลใหญ่ โดยมิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นพนักงานของบริษัท หรือตัวแทนองค์กร แจ้งข่าวดีกับเหยื่อว่าได้รับรางวัลใหญ่ซึ่งมีมูลค่าสูง แต่ก่อนจะรับรางวัลขอให้เหยื่อโอนเงินค่าภาษีมาให้ก่อน ถ้าเหยื่อหลงเชื่อก็จะท ารายการโอนเงินไปให้แก่มิจฉาชีพทันที

วิธีแก้ไข

ข้อสังเกตกลโกงทั้ง 2 วิธีนี้มักจะมาทางโทรศัพท์ คือ มิจฉาชีพจะหลอกถามข้อมูลจากเหยื่อ และเมื่อเหยื่อหลงเชื่อก็จะพูดโน้มน้าว ใช้ข้ออ้างต่าง ๆ เร่งให้เหยื่อรีบทำรายการผ่านตู้เอทีเอ็ม และเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้เหยื่อมีเวลาตรวจสอบ หรือสอบถามบุคคลอื่น โดยจะให้เลือกทำรายการเป็นภาษาอังกฤษ การป้องกันกลโกงทางโทรศัพท์ สามารถทำได้โดยใช้สติพิจารณาข้อเท็จจริงที่มิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นไปได้หรือไม่ อย่าตื่นตกใจกลัว หรือ อย่าตื่นเต้นดีใจจนขาดสติ ให้ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ติดต่อกลับว่าเป็นของหน่วยงานนั้น ๆ จริงหรือไม่ เดี๋ยวนี้ง่ายมากไม่สามารถตรวจสอบได้จาก internet ถามอากู๋ (google) ก็ได้ ไม่ควรเร่งรีบตัดสินใจตามที่มิจฉาชีพต้องการ

อ่านบทความอื่นๆ
ความจริงความคิด : สิทธิของลูกหนี้ในการไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน
คอลัมน์ความจริงความคิด : ภาษีพระ
ความจริงความคิด : ซื้อของออนไลน์ป้องกันโกง ทำยังไง?
ความจริงความคิด : ม. 40 กับ มาตรการเยียวยากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์
ความจริงความคิด : เรื่องต้องรู้ ลดหนี้ด้วยวิธีรีไฟแนนซ์
ความจริงความคิด : ความเสี่ยงของวัยเกษียณ

📌 ติดตาม HoonSmart ผ่านช่องทาง
Website : www.hoonsmart.com
Facebook : https://www.facebook.com/HoonSmart
Line OpenChat : https://line.me/ti/g2/wEbsUcMaP2oP45XhK3vYhQ
Telegram : https://t.me/HoonSmart
Instagram : hoonsmart_ig
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCtZL62sDzYkq0WJNE11GrnQ
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCtZL62sDzYkq0WJNE11GrnQ
หุ้นสมาร์ทแฟนคลับ แลกเปลี่ยน พูดคุย
https://line.me/ti/g2/96otXLiCSBxAYgZuZATAAA?