ความจริงความคิด : ซื้อของออนไลน์ป้องกันโกง ทำยังไง?

โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP นักวางแผนการเงิน

เกือบ 2 ปีของวิกฤติโควิดไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติสาธารณสุขแล้ว ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของพวกเราอย่างมากมาย อย่างที่เห็นกันทั่วไป ไม่เพียงแต่ การใส่หน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อออกจากบ้าน หรือ การอยู่แต่ในบ้าน ไม่จำเป็นไม่ออกนอกบ้าน ยังพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของเราที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่ภาวะปกติแบบใหม่ (New normal) ในหลายๆเรื่อง

แต่เรื่องที่จะคุยก็คือ การซื้อของออนไลน์ จากรายงาน Global Digital Stat 2021 ของ We Are Social พบว่า

1. คนไทยช้อปออนไลน์เป็นแล้วอันดับ 3 ของโลกสูงถึง 83.6% สูงกว่าหลายประเทศพัฒนาแล้วอย่างมาก แม้แต่ USA ก็ตาม
2. ตัวเลขคนไทยช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือเป็นอันดับ 2 ของโลกด้วยสัดส่วนที่มากถึง 74.2%
3. คนไทยเป็นชาติที่ใช้แอปธนาคารหรือ Mobile banking สูงที่สุดในโลกด้วยตัวเลขที่มากถึง 68.1%
4. คนไทยใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือสูงเป็นอันดับสองของโลก ด้วยตัวเลข 45.3% เป็นรองอันดับหนึ่งของโลกอย่างฮ่องกงแค่นิดเดียวเท่านั้น
5. คนไทยสั่งอาหารผ่านแอปหรือใช้ Food Delivery มากถึง 61%

จากรายงานวิจัย New normal ใหม่ของคนไทยอย่างหนึ่ง คือ การซื้อของออนไลน์ หลายคนอาจซื้อผ่านแพลทฟอร์ม e commerce อย่างเช่น Shopee, LAZADA,Kaidee, ฯลฯ ซึ่งจะมีระบบการซื้อขายที่คุ้มครองผู้ซื้อเป็นอย่างดี แต่หลายครั้งเช่นกัน ที่ของที่เราต้องการซื้อไม่มีขายในแพลทฟอร์ม e commerce แต่กลับมีขายในโซเฃียล มีเดีย อื่นๆ เช่น facebook การซื้อขายระบบนี้ไม่มีการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้บริโภคต้องดูแลตนเอง แล้วอย่างนี้ เราจะป้องกันตนเองจากการถูกโกง ซื้อของออนไลน์แล้วไม่ได้ของ หรือ ได้ของไม่ตรงที่สั่งอย่างไร

วิธีป้องกันตัวเองจากการซื้อของออนไลน์แล้วถูกโกง

เว็บไซต์หรือเพจต้องน่าเชื่อถือ

หลักง่ายๆ คนแบบไหนก็จะอยู่ในสังคมแบบนั้น ก่อนจะซื้อของออนไลน์จากเพจไหน ลองพิจารณาเพจ ด้วยวิธีดังนี้

ดูก่อนเลยสมาชิกเยอะมั๊ย สมาชิกเหนียวแน่นมั๊ย สมาชิกรู้จักกันหรือไม่ ส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่เพจหรือกลุ่มที่เนื้อหาที่ลึกหรือแน่นไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ยากที่สมาชิกในบอร์ดจะอยู่กันอย่างเหนียวแน่นหรือรู้จักตัวตนของกันและกัน

โพสต์ที่ผ่านมามีการโกงกันหรือไม่

Admin มีระบบที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น มีระบบในการคัดกรองสมาชิกหรือไม่, admin มีการพิจารณาสินค้าก่อนอนุมัติโพสต์หรือไม่, admin มีการกำหนดกฎเกณฑ์ในการโพสต์ขายสินค้าหรือไม่ เช่นต้องถ่ายรูปสินค้าออย่างคมชัดทั้งหน้าหลัง ต้องถ่ายรูปสินค้าคู่กับบัตรประชาชน พร้อมเขียน ชื่อ เบอร์โทร และวันที่ลง ฯลฯ, admin มีระบบการคุ้มครองผู้ซื้อหรือไม่ เช่น มีการประกาศรายชื่อ Black list ทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อหรือไม่ มีระบบการซื้อขายผ่าน admin หรือไม่, ฯลฯ

การโพสต์ต้องน่าเชื่อถือ รูปสินค้าเชื่อถือได้?

การโพสต์ขายของ บางเพจที่ไม่เข้มงวดหรือกำหนดกฎเกณฑ์ในการโพสต์ ก็จะมีแต่รูปถ่ายหรือภาพของสินค้าที่ลงประกาศขาย กรณีโกงที่พบก็มี เช่น การเอาภาพสินค้าของคนอื่นมาลงว่าเป็นของตัวเอง และหลอกคนซื้อให้โอนเงินให้ สุดท้ายก็เชิดเงินหนีหายไป หรือ ของที่ได้รับไม่ใช่ของที่โพสต์ เป็นต้น

วิธีป้องกัน ก็คือ การขอให้ผู้ขายถ่ายรูปสินค้าคู่กับบัตรประชาชน พร้อมเขียน ชื่อ เบอร์โทร และวันที่ลงฯ วิธีนี้ป้องกันได้ระดับหนึ่ง เพราะมิจฉาชีพจะใช้วิธีโกงโดยไปขอผู้ขายตัวจริงถ่ายรูปสินค้าคู่กับบัตรประชาชน พร้อมเขียน ชื่อ เบอร์โทร และวันที่ลง และเอารูปนั้นมาสวมรอยหลอกเราอีกที เมื่อเราโอนให้ เพราะเชื่อว่าผู้ขายมีของจริง สุดท้ายก็จะเสียเงินแต่ไม่ได้ของ เราจึงต้องป้องกันเพิ่มอีกขั้น คือ ขอให้ถ่ายรูปสินค้าคู่กับบัญชีเงินฝากที่รับโอน และต้องโอนเงินเข้าบัญชีที่มีชื่อเดียวกับบัตรประชาชนเท่านั้น แต่ถึงแม้ทำถึงขนาดนี้ ก็ยังป้องกันไม่ได้ 100% เพราะมิจฉาชีพจะหลอกให้เราโอนเงินเข้าบัญชีที่แสดง เสร็จแล้วก็จะแจ้งเจ้าของบัญชีตัวจริงว่ามีการโอนเงินผิด ให้โอนเงินกลับคืนมาด้วย สุดท้ายเมื่อเราไม่ได้รับของ ติดต่อผู้ขายไม่ได้ เราก็แจ้งความตามข้อมูลที่เรามี คือ ชื่อบัตรประชาชน ชื่อบัญชี ซึ่งปรากฏว่าไม่ใช่ตัวมิจฉาชีพ

อีกวิธีที่ง่ายและรวดเร็ววิธีหนึ่งคือ การตรวจสอบที่มาของภาพโดยใช้ Google ทำง่ายๆ เอา pointer จิ้มที่รูป click ขวาแล้วเลือก “ค้นหารูปภาพจาก Google” เมื่อคลิกค้นหาภาพแล้วจะปรากฏหน้าต่างแสดงผลการค้นหาขึ้นมา เป็น Link ของทุกเว็บที่มีการใช้ภาพนี้โพสต์ขึ้นไป เท่านี้เราก็สามารถตรวจดูได้แล้วว่าแต่ละเว็บนั้นเป็นผู้ขายคนเดียวกันหรือไม่

คนขายเชื่อถือได้หรือไม่

ก่อนตัดสินใจซื้อขาย ลองพิจารณาดูความน่าเชื่อถือของคนขาย ซึ่งมีวิธีที่จะตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ ดังนี้

ตรวจสอบชื่อผู้ขายว่าอยู่ในบัญชี black list หรือไม่ ที่ https://www.blacklistseller.com/

ดูรูป profile คนขาย ถ้าเป็นรูปการ์ตูน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ ที่ไม่ใช่รูปคนจริงที่เห็นหน้าชัดๆ ก็ควรระวังไว้ก่อน

ตรวจสอบข้อมูลคนขายที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้นๆ ว่ามีประวัติการขายมาก่อนหรือไม่ และมีประวัติการโดนร้องเรียนหรือไม่นั้น ถ้าไม่เคยมีประวัติการขายหรือ เพิ่งเป็นสมาชิกกลุ่ม (ดูจากวันเวลาที่สมัครเป็นสมาชิก) หรือ มีประวัติเคยถูกร้องเรียน ก็ควรปลอดภัยไว้ก่อน อย่าเสี่ยงซื้อขายด้วย

ตรวจสอบเพจส่วนตัวของผู้ขายตามชื่อ profile ว่ามีกิจกรรมสม่ำเสมอหรือไม่ มีเพื่อนมากหรือไม่ เพจตั้งมานานแล้วหรือไม่ ถ้าไม่ อาจเป็นเพจส่วนตัวที่เพิ่งตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ในการโกง

ตรวจสอบชื่อในบัตรประชาชนตรงกับชื่อบัญชีรับโอนเงินหรือไม่ ถ้าไม่ มีความเสี่ยงที่จะถูกโกง ขอยกตัวอย่าง

อ่านบทความอื่นๆ
ความจริงความคิด : ม. 40 กับ มาตรการเยียวยากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์
ความจริงความคิด : เรื่องต้องรู้ ลดหนี้ด้วยวิธีรีไฟแนนซ์
ความจริงความคิด : ความเสี่ยงของวัยเกษียณ
ความจริงความคิด : กองทุนไหนดี เลือกอย่างไร
ความจริงความคิด : แก่อย่างมีความสุขต้อง 4 แก่ (ตอนที่ 1)
ความจริงความคิด : ยิ่งเกิด covid ยิ่งกังวลเรื่องเงิน
ความจริงความคิด : การบริหารความเสี่ยงในการลงทุน