ความจริงความคิด : เศรษฐกิจดีขึ้น แต่เราก็อย่าประมาท

โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP นักวางแผนการเงิน

 

เห็นข้อมูลประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่มาจากแบงค์ชาติ ว่า GDP ประเทศไทยปีนี้เติบโต 3.4% ดีกว่าปี 2564 ที่เติบโตอยู่แค่ 0.9% ดูแล้วก็ดีใจที่ว่าฟ้าหลังฝนมาซะที เพราะเศรษฐกิจไทยย่ำแย่จากโควิดมาตั้งแต่ปี 2563 ที่ถูกโควิดทำให้เติบโตติดลบ 6.1%

แต่ถึงแม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะดูสดใส แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่เราควรต้องระวัง อย่าประมาท ที่เห็นๆก็คือ

• ของเริ่มแพงขึ้น แม้ว่าตัวเลขคาดการณ์จะอยู่ประมาณ 1% – 2%

แต่ความจริงของบางอย่างโดยเฉพาะของที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร น้ำมัน ฯลฯ แพงขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามควบคุมราคาและขอความร่วมมือจากพ่อค้าคนกลางก็ตาม จากข้อมูลของเว็บ https://workpointtoday.com/product-prices-in-2022/ ที่สำรวจราคาสินค้าเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมาพบว่า

• ภาระหนี้ระดับครัวเรือนยังสูง จากรายได้ที่หดหายจากโควิด โดยตัวเลขสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยอยู่ในจุดใกล้เส้นยาแดงที่ระดับ 30% มาตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด (ปี 2562)

พูดง่ายๆ คือ ถ้าสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกนิดเดียวจนเกิน 30% ซึ่งเป็นจุดวกกลับ (turning point) การก่อหนี้ก็จะเปลี่ยนบทบาทจากการกระตุ้นเป็นการฉุดรั้งการบริโภคของครัวเรือน และเมื่อเกิดวิกฤตโควิดช่วงปี 2563 – 2564 เศรษฐกิจไทยถูกกระทบรุนแรง รายได้ครัวเรือนหายไปมาก ครัวเรือนจำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อพยุงกำลังซื้อและรักษาระดับการบริโภค สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้โดยเฉลี่ยจึงปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วเกินระดับ 30% จนทำให้ภาระหนี้กลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งการบริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

มองไปข้างหน้า แม้รายได้ของครัวเรือนจะมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่คาดว่าภาระหนี้ที่สูงจะยังคงเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจต่อไป เนื่องจากครัวเรือนจำเป็นต้องนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปชำระหนี้ที่มีอยู่เดิมก่อน ทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายได้อย่างเต็มที่

แต่ข่าวดี ก็คือ แม้หนี้ครัวเรือนจะมากขึ้น (ไตรมาส 3 ของปี 2564 ระดับหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 14.35 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 89.3% ของ GDP) หนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นนั้น เป็นหนี้ครัวเรือนที่ทำให้เกิดความมั่งคั่ง โดยนำไปซื้อสินทรัพย์และประกอบอาชีพเพื่อหารายได้

• ซื้อสินทรัพย์มีสัดส่วน 34.5%
• ซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ซึ่งประเมินว่า การซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์นี้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 12.4%
• นำไปประกอบอาชีพ 20%

คิดรวม ๆ แล้ว หนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นนำไปประกอบอาชีพมากกว่า 65% ก็ยังนับว่าเป็นหนี้ที่ดี คือ เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต แต่ก็อย่าประมาท เพราะเมื่อเป็นหนี้ เราก็มีภาระแล้ว ส่วนรายได้จะได้ตามที่คาดหรือไม่เป็นเรื่องอนาคต หากเป็นตามคาด เราก็จะมีเงินเก็บ หากไม่เป็นตามคาด เงินเก็บที่มีอาจหมดไปก็ได้ ก็ขอให้ลงทุนด้วยความระมัดระวังนะ

อ่านบทความอื่นๆ

ความจริงความคิด : ความชัดเจน คือ พลัง
ความจริงความคิด : ความเคยชิน ทำให้ไม่เห็นปัญหา
ความจริงความคิด : ซื้อประกันอย่างไร จ่ายเบี้ยประกันคุ้ม
ความจริงความคิด : องค์ประกอบในการกำหนดราคาเบี้ยประกัน
ความจริงความคิด : ภาษี crypto
ความจริงความคิด : สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม ตอน 1
ความจริงความคิด : เผย 10 กลโกงซื้อขายออนไลน์แห่งปี 64 รู้ไว้! จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อโจรไซเบอร์ 1
ความจริงความคิด : วัฏจักรเศรษฐกิจกับการลงทุน