ความจริงความคิด : กฎเหล็ก 7 ข้อ สู่ การวางแผนการเงิน


โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP นักวางแผนการเงิน

ทุกอาชีพเป็นเหมือนกันหมด หากอยากประสบความสำเร็จต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และจากประสบการณ์ของผมที่ทำงานจนเกษียณแล้ว ก็กล้าพูดได้เต็มปากเลยว่า ความรู้ในห้องเรียนคือพื้นฐาน ความรู้นอกห้องเรียนคือประสบการณ์ที่ช่วยให้เราต่อยอดและประยุกต์ความรู้ที่เคยเล่าเรียนมาให้ขยายต่อเนื่องมากขึ้น ลงลึกมากขึ้น ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ผมจึงชอบที่จะอ่านบทความ แนวคิดของกูรูท่านอื่นๆ เสมอมา

กูรูท่านนึงที่ผมติดตามเพจของท่านอยู่บ่อยๆ ก็คือ Rujiphan Pornrattanapitack หรือคุณหมู ซึ่งผมก็ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวนะ แต่บทความข้อคิดที่ท่านได้เผยแพร่เป็นประโยชน์มากจริงๆ อย่างเช่น บทความเรื่อง กฎเหล็ก 7 ข้อสู่การวางแผนการเงิน ซึ่งสรุปเป็นแนวทางเพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่ความมั่นคงทางการเงินได้อย่างกระชับ ครบถ้วน เข้าใจง่าย จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อครับ ส่วนใครอยากอ่านเพิ่มเติมหรือสนใจบทความอื่นก็ดูที่เพจท่านได้ หรือที่เพจ Retirement Like SWAN ของท่านก็ดีครับ

1.กฎการบริหารเงิน
50/30/20 = Needs/Wants/Savings
————————————————
อะไรเป็น Needs จากเพจ #นักลงทุนบ้านนอก

ขั้นตอนการตรวจสอบส่วนตัวที่ใช้ในการแยกทั้ง 2
อย่างออกจากกัน คือ

1. Need เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
ตาม function การใช้งาน ตัวอย่าง เช่น ปัจจัย 4

– อาหาร : กินเพื่อให้มีสารอาหารครบ 5 หมู่ กินเพื่อให้อิ่มท้อง
– ที่อยู่อาศัย : ทำให้เกิดความสบายตัว สะดวกกายในการใช้ชีวิตประจำวัน
– เครื่องนุ่งห่ม : ปกปิดผิวกาย ป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อม เหมาะสมตามกาละเทศะ
– ยารักษาโรค : ยาตามอาการ เพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ

2. Need เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหารายได้
จำเป็นต้องมีในการทำงาน เช่น

– ยานพาหนะ : หากไม่สามารถเดินทางไปทำงานด้วยรถโดยสารประจำทางไม่มีบริการสาธารณะที่สะดวกกับเวลาทำงาน เช่น
บางคนต้องทำงานที่ไกลบ้านมาก เวลาเลิกงานไม่แน่นอน รถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซด์ อาจกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงาน
เพราะ ถ้าไม่มีก็จะทำงานไม่ได้

– อุปกรณ์สื่อสาร : ใช้ในการทำงาน ติดต่องาน
ดังนั้น ก็ต้องมีความคงทน มีเสถียรภาพเพียงพอ ไม่ใช่ว่า ใช้งานแล้วพังบ่อย ๆ เลือกใช้เครือข่ายที่ดี มีสัญญาณชัดเจนครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะ เราไม่มีทางรู้ว่า ความจำเป็นในการใช้งานจะเกิดขึ้นตอนไหน

3. Need เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัย ของเราและคนในครอบครัว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ต้องเลือกให้ยี่ห้อให้ดี มีมาตรฐานความปลอดภัย ที่อยู่อาศัย ก็ต้องมีการเดินสายดิน เลือกสายไฟที่ได้มาตรฐานรถยนต์ ก็ต้องมีความปลอดภัย ระบบเบรคที่ดี กันขโมย
อาหาร ก็ต้องมีความปลอดภัย กินแล้วท้องไม่เสีย ไม่ทรมาน

4. Need เป็นสิ่งจำเป็นต่อการปกป้องรายได้ในอนาคต
เช่น ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เป็นสิ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของเราหากเจ็บป่วย คนชอบคิดว่า ประกันสุขภาพประกันชีวิต นั้นไม่ใช่ Need

แต่พอป่วยขึ้นมา เป็นโรคขึ้นมา ก็อยากจะให้บริษัทประกันรับประกันให้ได้ แบบนี้จะไม่เรียกว่า Need ได้อย่างไร ?
————————————————

2.กฎของการออมเงิน เก็บก่อนใช้
รายได้ – เงินออม = รายจ่าย

3.กฎการผ่อน
*หนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไม่ควรเกิน 15% เช่น ผ่อนมือถือ
*ไม่ควรมีภาระหนี้เงินผ่อนเกิน 40%-50% ของรายได้

4.กฎของการบริหารความเสี่ยง
4.1)ควรเก็บเงินก้อนแรกเพื่อเป็น “กองทุนฉุกเฉิน” จำนวน 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน หรือ ของรายได้(ก็ไม่เสียหาย) ไว้ในที่สภาพคล่องสูง เช่น MEbyTMB ออมทรัพย์ กองทุนตราสารหนี้

4.2)ทำประกัน ชีวิตและสุขภาพ เพื่อ โอนความเสี่ยง
*ทุนประกันชีวิตอย่างน้อย 5-10 เท่าของรายได้ต่อปี ควรเลือก UnitLinked ที่ทุนสูงสุด ทำเฉพาะส่วนหลัก ไม่ทำส่วนลงทุน และเวนคืนเมื่อ อายุไม่เกิน 59 สำหรับชาย และ 65 สำหรับหญิง เพื่อหลีกเลี่ยง COI ตั้งแต่ 1%
*ประกันสุขภาพควรเป็นแบบ เหมาจ่าย
*ประกันโรคร้ายแรง ควรมีทุนประกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน
*ประกันอุบัติเหตุ พีเอ ควรมีค่ารักษาพยาบาลขั้นต่ำ 500,000 ต่อครั้ง

5.กฎการกำจัดศัตรูของคนมีรายได้
ลดภาษีด้วยการซื้อ SSF RMF ประกันให้เต็มสิทธิ์

6.กฎข้อแรกของการเกษียณสุข
หากที่ทำงานมี PVD ให้เลือก เต็มสิทธิ์ แต่ไม่เกินส่วนของนายจ้าง และเลือกลงทุนเสี่ยงสูงสุด หากอายุไม่เกิน 30 และลดสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงลงเมื่ออายุมากขึ้นตามกฎ 100-อายุ

7.กฎของการลงทุน
หากยังมีเงินเหลือ ควรนำไปลงทุนใน กองทุนรวม SET50 ตามแนวทางของ John Bogle สำหรับท่านที่อายุยังไม่เกิน 45 แต่ถ้าอายุเกิน 45 ควรซื้อประกันบำนาญแทน

หมายเหตุ :ถ้ามี เป้าหมายระยะสั้น/กลาง ให้เก็บเงินจากส่วน Wants

อ่านบทความอื่นๆ
ความจริงความคิด : บันได 10 ขั้นสู่ความสุขในวัยเกษียณ (ตอนที่ 1)
ความจริงความคิด : วัยเกษียณ ความเสี่ยงที่หนีพ้นถ้าตายก่อน
ความจริงความคิด : แก่อย่างมีความสุขต้อง 4 แก่ (ตอนที่ 1)
ความจริงความคิด : 10 คำถามที่พบบ่อย เมื่อจะต้องเช็คสิทธิ และใช้สิทธิบัตรทอง
ความจริงความคิด : ยิ่งเกิด covid ยิ่งกังวลเรื่องเงิน
ความจริงความคิด : การบริหารความเสี่ยงในการลงทุน
ความจริงความคิด : แม่ค้าตลาดนัด ระวังสรรพากรนัดเจอ