KTAM Focus : April Bull

โดย…ณัฏฐะ มหัทธนา, CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนและลูกค้าสัมพันธ์ บลจ.กรุงไทย

Inverted Yield Curve รอบประวัติศาสตร์ พันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปี ยีลด์สูงกว่าอายุ 10 ปี ตั้งแต่ 5 ก.ค. 2022 ต่อเนื่องยาวนานจนทุบสถิติเดิมเรียบร้อยแล้ว (624 วัน ในรอบที่เริ่มตั้งแต่ ส.ค. 1978) และยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ (normal yield curve) เมื่อใด ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า inverted yield curve คือสัญญาณชี้นำภาวะถดถอย (recession)

เงินเฟ้อ Core PCE > 2% ตั้งแต่ พ.ค. 2021 สูงเกินเป้าหมายของเฟดมานานเกือบ 3 ปี อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาสำคัญดังกล่าวปรับตัวลงอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลัง 2023 แล้วค่อนข้างทรงตัวในปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐก็ดูชิลๆกับดอกเบี้ย > 5%

เฟดคงค่ามัธยฐาน คาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2024 ใน dot plot ของการประชุม FOMC 19-20 มี.ค. บ่งชี้ “ลด 3 ครั้ง” เท่ากับชาร์ตรอบก่อน (ธ.ค.) แม้ปรับประมาณการ GDP และ เงินเฟ้อ สูงขึ้นทั้งคู่

ดอกเบี้ยรอลง สัญญาณล่าสุดจากประธานเฟด Jerome Powell และผู้ว่าการคนสำคัญ Christopher Waller ออกมาในทำนองเดียวกัน “ไม่รีบ” โดยพูดถึงแค่สองทางตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยคือ “คง” หรือ “ลด” (ไม่มีขึ้น)

เราชวนคิดใคร่ครวญ “ตรรกะ” เบื้องหลังเงื่อนไขการตัดสินใจของเฟด

1) Inverted yield curve และ Core PCE > 2% ต่อเนื่องยาวนาน เป็นเรื่อง “ผิดปกติ” ควรแก้ไข
2) ถ้าอยากให้เงินเฟ้อลงก็ควร “ขึ้นดอกเบี้ย” แต่ถ้าอยากได้ normal curve เฟดต้อง “ลดดอกเบี้ย”
3) เฟดส่งสัญญาณชัดเจนว่าเตรียม “ลดดอกเบี้ย” ในไม่ช้า โดยไม่ (อยาก) พูดถึงโอกาสขึ้นดอกเบี้ย

>>> ตีความได้ว่า เฟดแคร์เศรษฐกิจมากกว่าเงินเฟ้อ เป็นปัจจัยบวก (สุดๆ) ต่อตลาด
April Bull นักลงทุนเข้าสู่ไตรมาส 2 ด้วยหัวใจที่ฮึกเหิม!

*** อัพเดตความเห็นล่าสุดของเราได้ทุกเช้าที่รายการ Fund Today by KTAM ***

ไอเดียกองทุนรวมมีให้ทุกวัน ผู้สนใจเชิญรับชม Fund Today by KTAM ทุกเช้าวันทำการเริ่มเวลา 8:55 น. สามารถพิมพ์คำถามทางไลฟ์ Facebook: KTAM Smart Trade, Youtube: KTAM TV ONLINE หรือรับฟังและร่วมพูดคุยใน Clubhouse: KTAM Smart Trade สดพร้อมกันสามช่องทาง นอกจากนี้ดูคลิปย้อนหลังได้ทั้ง Youtube และ Facebook รวมถึงคลิปสั้นทาง TikTok และ Instagram

#คุยทุกวันฟันทุกเช้า #ฟันทูเดย์855

คำเตือน:
1. ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน คู่มือการลงทุน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
2. ทุกความคิดเห็นเป็นมุมมองส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับ house view ของ บลจ. ธนาคาร หรือองค์กรใดๆทั้งสิ้น
3. พอร์ต Belief Allocation, Today Strategy และ Fund To-Do สอดคล้องกับมุมมองส่วนตัวตามสไตล์ "สุดโต่ง-ไร้ขีดจำกัด" จึงมีความเสี่ยงสูงและแตกต่างจาก asset allocation ทั่วๆไปเป็นอย่างมาก
4. ผู้ที่ต้องการทำ asset allocation ในรูปแบบปกติ ควรพิจารณากองทุน Krungthai World Class Series หรือกองทุน มั่ง | มี | ศรี | สุข