ต่างชาติเทกระจาดบิ๊กแคป 4 พันลบ. ผิดหวังกำไรแบงก์ เจอพิษสำรอง ITD

HoonSmart.com>>นักลงทุนต่างชาติ ถล่มตลาดหุ้นไทย ขายหนักมือต่อ 4 พันล้านบาท รวม1-22 ม.ค.66 ไหลออกกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท เน้นบิ๊กแคป พุ่งเป้าแบงก์ KTB-KBANK-KKP เพิ่มสำรองบานกดกำไรไตรมาส 4 นักวิเคราะห์ลับมีดปรับลดประมาณกำไรปี 67-68  เผยโปรแกรมเทรด CRC ร่วม 561ล้านบาท สัดส่วน 42.36% TTB 551 ล้านบาท 36.61% ตลาดหุ้นเอเชียมีทั้งขึ้นและลดลง ตลาดหุ้นจีนดิ่งหนัก -2.68% ฮ่องกงร่วง -2.27% 

ตลาดหุ้นไทย 22 ม.ค. 2566 ยังคงปรับตัวลงหนัก ดัชนีปิดที่ระดับ 1,369.92 จุด ลดลง 12.59 จุด หรือ -0.91% มูลค่าซื้อขาย 51,505.59 ล้านบาท ฝีมือนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 4,000.90 ล้านบาท แลกมัดนักลงทุนไทยซื้อ 4,607.96 ล้านบาท รวมปี 2566  ต่างชาติขายมากกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท

ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคคละกัน ตลาดหุ้นจีน ดัชนีเซี่ยงไฮ้ดิ่งลงหนักสุด  -2.68% ตามด้วยตลาดฮ่องกง ร่วง -2.27% ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นบวกแรง 1.62%

ตลาดหลักทรัพย์รายงานการซื้อขายผ่านโปรแกรมเทรด มีการขายเพียง  246.38  ล้านบาท ในส่วนหุ้นที่มีการซื้อขายสูงผิดปกติ ได้แก่ CRC มูลค่า 561 ล้านบาท สัดส่วน 42.36% ตามด้วย TTB มูลค่า  550.76 ล้านบาท สัดส่วน 36.61%

น.ส.ชุติกาญจน์ สันติเมธวิรุฬ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นวันนี้ปรับตัวลงได้รับแรงกดดันหลักมาจากหุ้นในกลุ่มธนาคารหลังผิดหวังกำไรไตรมาส 4/2566 ที่ออกมา และหุ้นในกลุ่มค้าปลีกก็ซึมตัวลงหลังเลื่อน Digital Wallet ออกไป อย่างไรก็ดีตลาดได้หันไปมองหุ้น Defensive อย่างหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล และหุ้นที่มีปัจจัยเฉพาะ และมีการเก็งตัวเลขการส่งออกเดือนธ.ค.ฟื้นตัวต่อเนื่องที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ จึงเล่นเก็งกำไรหุ้นที่เกี่ยวข้อง อย่างหุ้นในกลุ่มอาหารสัตว์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในช่วงที่ตลาดยังไม่มีประเด็นบวกใหม่เข้ามา และยังต้องติดตามการทยอยประกาศผลประกอบการของกลุ่ม Real Sector ทั้งของสหรัฐ และไทย ซึ่งสหรัฐคาดกลุ่มเทคโนโลยีจะมีงบฯออกมาสดใส อาจมีแรงเก็งกำไรเข้ามา ส่ง Sentiment บวกให้กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ ตลาดได้รับแรงกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ หุ้นบิ๊กแคป ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ เนื่องจากยังกังวลเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง ส่วนตลาดในยุโรปเทรดบ่ายนี้ปรับตัวขึ้นได้เฉลี่ย 0.5% จากการเก็งงบฯ พร้อมให้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย

แนวโน้มการลงทุนในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค.) ตลาดคงจะค่อย ๆ ปรับตัวลงต่อ เนื่องจากไม่มีอะไรตื่นเต้นในเชิงบวก พร้อมให้แนวรับ 1,360 จุด แนวต้าน 1,380 จุด

สำหรับหุ้นธนาคารที่ตกเป้าหมายถูกขายหนักวันนี้ ได้แก่  ธนาคารกรุงไทย (KTB) ร่วงลงแรง 10.50% ปิดที่ 16.20 บาท ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) ปิดที่ 120.50  บาท  ลดลง 5 บาทหรือ  -3.98%  ธนาคารเกียตินาคินภัทร(KKP) ติดลบ 2.60%  ปิดที่ 46.75 บาท หลังจากผิดหวังกำไรไตรมาส 4/2566  เนื่องจากมีการตั้งสำรองหนี้สูง คาดว่ารองรับความเสี่ยงจากลูกหนี้รายใหญ่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD)

บล.กรุงศรี พัฒนสิน มีมุมมองลบ (Negative) ต่อธนาคารกรุงไทย ที่มีกำไรเพียง 6.11 พันล้านบาท ต่ำกว่าคาดมาก เพราะมีการตั้งสำรองสำหรับลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งที่คุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอลง จึงปรับกำไรสุทธิ 2567-2568 ลงปีละ -8% จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) และค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) สูงกว่าคาด ทำให้ราคาเป้าหมายปี 2567 ปรับลงเหลือ 20 บาท อย่างไรก็ตามมองว่าผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนจากลูกค้ารายใหญ่รายนี้จำกัด จาก KTB ตั้งสำรองในกรณีที่แย่สุดแล้ว ดังนั้นปรับคำแนะนำลงเป็น”ซื้อเก็งกำไร”

ด้านธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) เปิดกำไร ปี 2566  อยู่ที่ 5,443.40 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 6.43 บาท ลดลง 28.4% จากงวดปี 2565 มีกำไรสุทธิ 7,602.10 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 8.98 บาท เพราะมีการสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 6,082 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.8% จากปี 2565  ตั้งสำรองส่วนเพิ่มในไตรมาส 4 เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสำหรับลูกค้าสินเชื่อขนาดใหญ่รายหนึ่ง ที่ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา โดยธนาคารอาจต้องมีการพิจารณาจัดชั้นเชิงคุณภาพสินเชื่อรายนี้ในอนาคตซึ่งมีขนาดประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยธนาคารได้มีการพิจารณาตั้งสำรองส่วนเพิ่มจำวนประมาณ600 ล้านบาท เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และส่งผลให้ธนาคารมีการสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นครบถ้วนแล้วสำหรับลูกค้าสินเชื่อรายนี้ก่อนการพิจารณาจัดชั้น

นอกจากนี้ยังมีผลขาดทุนจากการขายรถยึดในส่วนของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึงและปัจจัยทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเช่าซื้อ ประกอบกับการที่ธนาคารมีการขยายตัวของสินเชื่อในระดับที่สูงในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งยังมีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสินเชื่อรวมของธนาคาร ส่งผลให้ธนาคารได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างมาก ในขณะที่ธุรกิจทางด้านตลาดทุนได้ร้บผลกระทบเช่นกันจากภาวะตลาดทุนไม่เอื้ออำนวย

ทั้งนี้ ธนาคารยังคงความสามารถในการสร้างรายได้ในระดับที่ดีโดยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 28,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% เทียบกับปี 2565 โดยหลักจากการเพิ่มขึ้นของรายไดด้อกเบี้ยสุทธิที่ปรับเพิ่มขึ้น 16.8% ตามปริมาณสินเชื่อที่ขยายตัวและการปรับขึ้นของอตัราดอกเบี้ย โดยสินเชื่อรวมขยายตัว 5.3% สำหรับปี 2566

นอกจากนี้ธนาคารยังสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินที่มีการปรับขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลใหธ้นาคารยังคงมีส่วนต่างอตัราดอกเบี้ยสุทธิในระดับที่ดีกว่าคาดการณ์ ในขณะที่ทางด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับลดลงที่ 23.5% จากภาวะทางด้านตลาดทุนที่ยังคงซบเซาและส่งผลกระทบต่อการลงทุน ส่งผลใหรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับลดลงโดยหลักจากการลดลงของรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลกัทรัพย์ รวมถึงกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่ายุตุธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนที่ปรับลดลงตามภาวะตลาด ในขณะที่รายได้ค่านายหน้าประกันปรับลดลงเช่นกันตามการชะลอตัวของสินเชื่อปล่อยใหม่

สำหรับค่าใช้จ่ายในด้านการดำเนินงานหากไม่รวมรายการที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินรอการขาย ธนาคารยังคงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ในระดับที่ดีส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้สุทธิสำหรับปี 2566 อยู่ที่ 40.4% ซึ่งอยู่ในระดับที่แสดงถึงการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ