‘ดาโอ’เชียร์ SAWAD ถูก-กำไรโต เป้าปีหน้า 62 บาท

HoonSmart.com>>บล.ดาโอฯยังคงคำแนะนำ“ซื้อ” SAWAD ราคาต่ำกว่าคู่แข่ง คาดปี 67 กำไรโตเด่น 5,800 ล้านบาท จากปีนี้คาด 4,800 ล้านบาท สินเชื่อเติบโตถึง 19%  มาร์จิ้นสูง ตั้งสำรองลดลง ส่วนมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง  ธปท.เปิดเฮียริ่งเดือนก.ย.นี้ นอนแบงก์ไม่สน คาดมีลูกหนี้ไม่ถึง 5% สมัครใจยื่นขอเข้าร่วมโครงการ

บล.ดาโอ(ประเทศไทย) ยังคงคำแนะนำ“ซื้อ” SAWAD และปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 62 บาท (เดิม 56 บาท) จากการ rollover ไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2567 โดยยังคงอิง PBV ที่ 2.8 เท่า (-1.5 SD below 5-yr average PBV)  จากสินเชื่อที่เติบโตดี, loan yield มีโอกาสปรับตัวเพิ่ม จากการทยอยเพิ่ม loan yield ของสินเชื่อ FM รวมทั้งราคาปัจจุบันยังเทรดต่ำที่ 2566 PBV ที่ 2.4 เท่า  (-2 SD)

“เราชอบ SAWAD จาก 3 ปัจจัย เป็นหุ้นที่ laggard ในกลุ่มผู้ประกอบการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ จากราคาหุ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมายังลดลง -8% (ต่ำกว่า MTC +18%,TIDLOR +2%), 2) สินเชื่อปี 2567 เพิ่มขึ้น +19% YoY สูงกว่า MTC และ TIDLOR ที่ขยายตัว +15-16% YoY และ 3) ผลการดำเนินงานระยะยาว 2566-2568 EPS CAGR เติบโตดีที่ +22% (MTC และ TIDLOR อยู่ที่เพียง +16%) จากการควบรวมสินเชื่อ Fast Money (FM), รายได้ non-NII ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ผลบวกจากนโยบายภาครัฐที่จะเร่งแก้ปัญหาหนี้สิน”บล.ดาโอระบุ

ทั้งนี้ยังคงกำไรสุทธิปี 2566 ที่ 4.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง +7% YoY และจะกลับมาโตเด่นปี 2567 ที่ 5.8 พันล้านบาท (+20% YoY)จากสินเชื่อที่เพิ่ม และรายได้ non-NII ที่สูงขึ้นตามการขายประกัน ส่วนไตรมาสที่ 3 จะขยายตัว YoY/QoQ จากสินเชื่อที่ดีต่อเนื่อง, เริ่มรับรู้รายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อ FM และค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลง เนื่องจากไม่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายสำรองเป็นพิเศษเหมือนไตรมาสที่ 2 จำนวน 220 ล้านบาท ที่รองรับธุรกิจบริหารสินทรัพย์ สินเชื่อในเวียดนาม และ management overlay

ขณะเดียวกันราคาหุ้น outperform SET +5% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จากความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลที่จะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการจำหน่ายหุ้นกู้ชุดใหม่ที่อัตราดอกเบี้ย 4.25-5.00% สูงกว่าปัจจุบันที่เฉลี่ยที่ 3.7%

บล.เคจีไอ(ประเทศไทย) ประเมินมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง มุ่งลดหนี้ครัวเรือนซึ่งปัจจุบันพุ่งทะลุ 90% ของ GDP ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดกรอบเวลาในการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ทั้งกลุ่มธนาคารและนอนแบงก์ เป็นเวลาสองสัปดาห์ (4-20 ก.ย. 2566) เพื่อให้มาตรการมีผลบังคับใช้ในปี 2567

ทั้งนี้จะใช้กับสินเชื่อรายย่อย (อย่างเช่น บัตรเครดิต, P-loan, Nano finance, สินเชื่อจำนำทะเบียน, micro finance)  เมื่อลูกหนี้ถูกจัดเข้ากลุ่ม PD แล้ว สถาบันการเงินจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ โดยธปท. กำหนดให้คิดดอกเบี้ย 15% กับ PD ที่มีอายุมากกว่า 5 ปี นอกจากนี้ สินเชื่อเงินสดหมุนเวียน (revolving loan) จะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกควบคุม ส่งผลกระทบต่อนอนแบงก์หลายบริษัทมีการปล่อยสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน หรือ P-loan จึงน่าจะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกติดตาม ซึ่ง AEONTS มีสัดส่วน P-Loan สูงที่สุดที่ 47% ของสินเชื่อรวม รองลงมาคือ KTC ที่ 31% และ MTC ที่ 16%

อย่างไรก็ตาม นอนแบงก์ดูไม่กังวลกับมาตรการ เพราะเป็นมาตรการตามความสมัครใจ  จะขึ้นกับการทำข้อตกลงระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ในขณะที่บริษัทในกลุ่มนอนแบงก์ (ได้แก่ KTC และ AEONTS) คาดว่าจะมีลูกหนี้ไม่ถึง 5% เท่านั้นที่สมัครใจยื่นขอเข้าร่วมโครงการ

ด้าน