หุ้นโตเกียว-เอเชียเช้านี้บวก ประเมินศก.ภูมิภาค-ดัชนี PCE สหรัฐฯ

HoonSmart.com>> “ตลาดหุ้นโตเกียว” เช้านี้ปรับตัวขึ้น จากเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หนุนหุ้นส่งออก “ตลาดหุ้นเอเชีย” ส่วนใหญ่บวก นักลงทุนประเมินข้อมูลเศรษฐกิจภูมิภาค และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) สหรัฐ ที่รายงานในวันศุกร์ ทรงตัวตามคาด คาดหวังเฟดลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้

ตลาดหุ้นโตเกียวปรับตัวขึ้น จากเงินเยนที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ซึ่งหนุนหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

ในกลุ่ม Prime Market หุ้นกลุ่มที่นำการปรับตัวขึ้น คือ กลุ่มประกัน กลุ่มขนส่งทางทะเล และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

เงินดอลลาร์อยู่ที่ 160.98 เยน ในบรรดาสกุลเงินต่างๆ เยนซื้อขายกันที่ราวๆ 160.98 ต่อดอลลาร์ หลังจากที่รัฐบาลได้ปรับข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ไม่ได้อยู่ในกำหนดการเมื่อวันจันทร์ โดยเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสแรกหดตัวมากกว่าที่รายงานในตอนแรก

GDP หดตัว 2.9% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งมากกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 1.8% การหดตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 1 มีสาเหตุหลักจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แย่ลง ท่ามกลางค่าจ้างที่ซบเซาและอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่ลดลง แม้ว่าแนวโน้มนี้คาดว่าจะดีขึ้นในไตรมาสที่สองจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งวัดเงินสหรัฐฯ เทียบกับคู่แข่ง 6 ราย ลดลงแตะระดับสุดท้ายที่ 105.65

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ (ทังกัน) ในไตรมาส 2 ปี 2567 เพิ่มขึ้นมาที่ +13 จาก11 ในไตรมาส 1 ซึ่งปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส และสูงกว่า 12 ที่ตลาดคาดการณ์เฉลี่ยจากการสำรวจของสำนักข่าวเกียวโด

au Jibun Bank รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ขั้นสุดท้ายของญี่ปุ่นเดือนมิถุนายนที่ระดับ 50.0 ลดลงเล็กน้อยจาก 50.4 ในเดือนพฤษภาคม

ณ เวลา 9.59 น. ในประเทศไทย

ดัชนี Nikkei 225 อยู่ที่ 39,687.4 จุด เพิ่มขึ้น 104.32 จุด , +0.26%

ตลาดหุ้นเอเชียเริ่มต้นครึ่งหลังของปีด้วยการปรับขั้นเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่นักลงทุนประเมินข้อมูลเศรษฐกิจภูมิภาค และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) สหรัฐ ที่รายงานในวันศุกร์

นอกจากญี่ปุ่นแล้วจีนรายงาน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 49.5 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากในเดือนก่อนหน้า และเป็นเดือนที่สองที่หดตัว

ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 50.5 ในเดือนมิถุนายนลดลงจากระดับ 51.1 ในเดือนพฤษภาคม

อย่างไรก็ตาม การสำรวจกิจกรรมการผลิตของภาคเอกชน โดย S&P Caixin PMI นั้นต่างจากตัวเลขอย่างเป็นทางการ ซึ่งแสดงให้เห็นสภาพทางธุรกิจที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบสามปี เพิ่มขึ้นเป็น 51.8 ในเดือนมิถุนายน เทียบกับ 51.7 ในเดือนพฤษภาคม

นักลงทุนยังประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่และเมื่อใด หลังจากข้อมูลเมื่อวันศุกร์ที่แสดงว่าอัตราเงินเฟ้อรายเดือนของสหรัฐฯ ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนพฤษภาคม

ในช่วง 12 เดือนถึงเดือนพฤษภาคม ดัชนีราคา PCE เพิ่มขึ้น 2.6% จาก 2.7% ในเดือนเมษายน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ แต่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของเฟด
เครื่องมือ CME FedWatch แสดงให้เห็นว่า ตลาดยังคงคาดหวังของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยสองครั้ง ในปีนี้ โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนมีความน่าจะเป็น 63%
ดัชนี SSE ตลาดหุ้นจีนอยู่ที่ 2,970.7จุด เพิ่มขึ้น 3.3 จุด, +0.11 %

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงอยู่ที่ 17,718.61 จุด เพิ่มขึ้น 2.14 จุด, +0.01%
ดัชนี Kospi ตลาดหุ้นเกาหลีอยู่ที่ 2,798.83 จุด เพิ่มขึ้น 1.01 จุด, +0.04%
ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันอยู่ที่ 23,166.575จุด เพิ่มขึ้น 134.5 จุด, +0.58%

ราคาน้ำมันดิบ WTI งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 0.36 ดอลลาร์ หรือ 0.44% ซื้อขายที่ 81.9 ส่วนราคาน้ำมันดิบ Brent ทะเลเหนือ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 0.34 ดอลลาร์ หรือ 0.4 % ซื้อขายที่ 85.834ดอลลาร์ต่อบาร์เรล