“เอเซีย พลัส” คาดกระแสดิจิทัลวอลเล็ตตัดสิทธิ์ “คนรวย” กดดันหุ้น Domestic

HoonSmart.com>> “บล.เอเซีย พลัส” ประเมินกระแส Digital Wallet คณะอนุกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตเตรียม 3 แนวทางตัดสิทธิ์คนรวยออกจากระบบ ชงกรรมการชุดใหญ่สัปดาห์หน้า มอง Sentiment เชิงลบต่อความคาดหวังเศรษฐกิจเติบโตปี 67 มีโอกาสลดลง และ Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้น กดดันหุ้นกลุ่ม Domestic “ธนาคารพาณิชย์-ค้าปลีก-ท่องเที่ยวขขนส่ง-อาหาร” ด้าน “ทรีนีตี้” คงมองกลุ่มค้าปลีก ราคาหุ้นยัง Laggard และจะเป็น winner จากมาตรการนี้

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประเมินกระแส Digital Wallet ตัดสิทธิ์ “คนรวย” กดดันหุ้น Domestic

วานนี้คณะอนุกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตเตรียม 3 แนวทางตัดสิทธิ์คนรวยออกจากระบบ เพื่อเสนอกรรมการชุดใหญ่สัปดาห์หน้า

– ตัดกลุ่มที่ได้รับเงินเดือนเกินกว่า 25,000 บาท หรือมีเงินฝากรวมกันมากกว่า 1 แสนบาทออก
– ตัดกลุ่มที่ได้รับเงินเดือนเกินกว่า 50,000 บาท หรือมีเงินฝากรวมกันมากกว่า 5 แสนบาท
– ให้เข้าร่วมเฉพาะผู้ยากไร้ตามกลุ่มบัตรคนจน จำนวน 15-16 ล้านคน

นอกจากนี้ยัฐบาลเผยให้ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ทำแอปพลิเคชัน และยกเลิกเงื่อนไข 4 กิโลเมตร ประกาศใช้ระดับอำเภอ คาดเริ่มแจกเงินได้หลังเดือนเมษายน 2567

ปัจจัยดังกล่าวอาจเป็น Sentiment เชิงลบทั้งจากความคาดหวังการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2567 มีโอกาสลดลง จากปัจจุบัน ธปท. คาด GDP ปี 2567 เติบโตได้ 4.4% และเป็น Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้นที่อาจคาดหวังการเติบโตลดลงได้ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Domestic อาทิ กลุ่ม ธ.พ., ค้าปลีก, ท่องเที่ยว, ขนส่ง, อาหาร เป็นต้น

แต่ในอีกมุมอาจช่วยลดความกังวลเรื่องการกู้เงินเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.8% รวมถึงหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ระดับกว่า 90% ,รวมถึงความกังวลการปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้งของสถาบันการเงิน หนุนให้ค่าเงินบาทในระยะถัดไปมีโอกาสชะรอการอ่อนค่าได้

ทั้งนี้ นักลงทุนติดตามความคืบหน้าประเด็นดิจิทัลวอลเล็ตอย่างใกล้ชิด เพราะกระแสดังกล่าวมีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น และปัจจุบันยังไม่ได้ผลสรุปที่ชัดเจน

ด้านบล.ทรีนีตี้ มีมุมองต่อกรณีดังกล่าว 2 มิติ ดังนี้ มิติแรกความเป็นเป็นได้ของโครงการ (Probability) = เพิ่มขึ้น ทั้งจากการตัดงบประมาณที่จะใช้ช่วยเหลือในกลุ่มผู้มีรายได้สูง จนทำให้งบประมาณสุดท้ายน่าจะอยู่ที่วงเงินราว 4 แสนล้านบาท จากเดิม 5-6 แสนล้านบาท รวมไปถึงแนวทางการใช้เงินงบประมาณที่อาจจะออกมาในรูปแบบของงบผูกพ้น กระจายออกไปหลายปี ปีละเท่าๆกับ ซึ่งก็จะทำให้ภาระทางการคลังลดหลั่นตามมาด้วยโอกาสที่จะถูกโจมตีจากนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาการก่อหนี้และการขาดดุลงบประมาณงน่าจะดูกลดทอนลงตามลำดับ

มิติผลกระทบ (Impact) = ลดลง ในส่วนมีติของผลกระทบนั้นประเมินว่าจะมีระดับที่ลดลงจากเติมไม่ว่าจะพิจารณาในฝั่งของผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการเองก็ตาม โดยในฝั่งของผู้บริโภค การตัดความช่วยเหลือผู้มีร้ายได้สูงออกไป อาจทำให้การจับจ่ายใช้สอยของคนกลุ่มนี้ขาดหายไปด้วย ส่วนในฝั่งของผู้ประกอบการนั้น การกระจายเงินงบประมาณออกเป็นงบผูกพ้น อาจทำให้การรับรู้รายได้มีความล่าช้าและกระทบกับ Cash cycle ได้

บล.ทรีนีตี้ประเมินผลกระทบไม่ได้มีความแตกต่างจากคาดการณ์เดิมของเรามากนัก และยังคงมองกลุ่มค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันราคาหุ้นยังคง Laggard ตลาดอย่างมากในปีนี้ จะเป็น Winner ที่สำคัญจากมาตรการนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม Consumer staple อาทิ CPAXT , CPALL , BJC