โดย-ฝ่ายวิจัยธุรกิจ
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้ าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)
HoonSmart.com>>ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ ค่อนข้างแน่ชัดว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวโน้มดำรงตำแหน่งประธานาธิ บดีสหรัฐฯ คนถัดไป โดยแนวนโยบายของทรัมป์ที่สำคัญ ได้แก่
(1) การค้า : เก็บภาษีสินค้านำเข้าทั้ งหมดจากจีนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้ อย 60% และประเทศอื่นเพิ่มเป็น 10%
(2) การลงทุน : ดึงดูดการลงทุนกลับสู่สหรัฐฯ โดยใช้มาตรการจูงใจทางภาษี
(3) นโยบายสีเขียว : อาจถอนตัวจากข้อตกลง Paris Agreement และอาจชะลอร่างกฎหมาย Clean Competition Act ซึ่งเป็นการเก็บภาษีคาร์บอนกั บสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง
(4) การเมืองโลก : สนับสนุนอิสราเอลชัดเจน ซึ่งโดยรวมนโยบายของทรัมป์จะส่ งผลให้เกิดความไม่แน่นอนต่อทิ ศทางการค้าการลงทุนโลกในหลายด้ าน ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรติ ดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่ อเตรียมพร้อมรับมืออย่างทันท่ วงที ทั้งนี้ ในเบื้องต้น สามารถประเมินผลกระทบที่คาดว่ าจะเกิดขึ้นจากแนวนโยบายของทรั มป์ ดังนี้
• การค้า : ไทยได้ไม่คุ้มเสียจาก Trade War รอบใหม่ เนื่องจากโอกาสส่งออกสิ นค้าไทยไปแทนที่สินค้าจี นในตลาดสหรัฐฯ มีไม่มาก เพราะกลุ่มสินค้าที่ถู กเก็บภาษีใหม่ (ไม่เคยถูกเก็บจาก Trade War รอบแรก) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Consumer Goods เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เสื้อผ้า รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งไทยไม่ได้เป็นฐานการผลิตที่ สำคัญอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีขี ดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่ าประเทศอื่น อาทิ เวียดนาม และเม็กซิโก นอกจากนี้ นโยบายของทรัมป์ยังอาจทำให้ สถานการณ์สินค้าจีนทะลักเข้ าไทยรุนแรงขึ้น จากการระบายสิ นค้าส่วนเกินของจีน โดยเฉพาะในกลุ่ม Consumer Goods ไปยังประเทศอื่น
• การลงทุน : กระแสการย้ายไปลงทุนในประเทศที่ วางตัวเป็นกลาง (Conflict-free Countries) ยังดำเนินต่อไป แต่อยู่ภายใต้ภาวะกดดันเพิ่มขึ้ น เนื่องจากภายใต้การบริ หารงานของทรัมป์มักดำเนิ นมาตรการกีดกันทางการค้ากั บประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ประเทศที่จีนย้ ายฐานลงทุนไปผลิตสินค้าเพื่อเลี่ ยงสงครามการค้าเผชิญความเสี่ ยงที่จะถูกใช้มาตรการทางการค้ าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
• นโยบายสีเขียว : กลไกการลดคาร์บอนโลกอาจสะดุด และส่งผลต่อการผลักดันเศรษฐกิ จคาร์บอนต่ำของไทยทางอ้อม เนื่ องจากการที่สหรัฐฯ อาจชะลอกฎหมาย Clean Competition Act ลดแรงกดดันต่อธุรกิจส่ งออกไทยในการปรับตัวเพื่อลดคาร์ บอน ซึ่งอาจมองเป็นมุมบวกของภาคธุ รกิจได้ในระยะสั้น เนื่องจากไม่ต้องเร่งลงทุนเพื่ อปรับตัว แต่ก็จะส่งผลเสียต่อการผลักดั นเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ของไทยในระยะถัดไป
• ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง : สถานการณ์อาจยกระดับความรุ นแรงได้ง่ายขึ้น เนื่องจากอิ สราเอลจะกล้าดำเนิ นมาตรการทางทหารเชิงรุกมากขึ้ นหลังรู้ว่าจะมีสหรัฐฯ คอยหนุนหลังอย่างเต็มที่ ซึ่งอาจขยายวงความวุ่นวายในตะวั นออกกลาง และจะส่งผลให้ราคาพลังงานและต้ นทุนการขนส่งสินค้าปรับขึ้นรุ นแรง
• เศรษฐกิจสหรัฐฯ : หวือหวาในระยะสั้น แต่จะเผชิญความเสี่ยงหลายด้ านในระยะข้างหน้า โดยการมาของทรัมป์จะทำให้ภาคธุ รกิจส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ จากนโยบายลดภาษีนิติบุคคลจาก 21% เหลือ 15% และทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับขึ้นเพื่อขานรั บนโยบาย แต่สหรัฐฯ อาจต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่ จะตามมาหลังการขึ้นภาษีนำเข้า และทำให้ Fed อาจพิจารณาชะลอการลดอัตราดอกเบี้ ยในปี 2568 นอกจากนี้ นโยบายลดภาษีจะขยายการขาดดุ ลงบประมาณให้เพิ่มขึ้นถึง 7.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลา 10 ปี ซึ่งบั่นทอนเสถียรภาพทางการคลั งและซ้ำเติมปัญหาหนี้สาธารณะที่ สูงถึง 122% ต่อ GDP (ปี 2566)
• สถานการณ์ค่าเงินบาท : ผันผวนในทิศทางอ่อนค่า โดยในระยะสั้น เงินทุนมีแนวโน้มไหลกลับเข้ าสหรัฐฯ เพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นหลังรั บรู้ผลการเลือกตั้ง ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐมี แนวโน้มแข็งค่าขึ้นและเป็นปัจจั ยกดดันให้เงินบาทผันผวนในทิ ศทางอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม ในระยะถัดไป การชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปี 2568 และปัจจัยทางเศรษฐกิจของไทย เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรั ฐบาล อาจทำให้ค่าเงินบาทกลับมาผั นผวนในทิศทางแข็งค่าได้
เพื่อเตรียมรับมือกับทิ ศทางการค้า การลงทุน และการเมืองโลก ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องรั กษาสมดุลระหว่ างสองประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน โดยเน้นการรักษาความเป็นกลางเพื่ อให้ไทยสามารถรักษาความสัมพันธ์ ทางการค้าและการลงทุนกับทั้ งสองประเทศได้อย่างเหมาะสม ขณะที่ภาคธุรกิจอาจต้องเตรี ยมพร้อมรับมือ โดยเน้นกลยุทธ์สำคัญ ดังนี้
• รุกเข้าตลาดหรือเข้าไปเป็นส่ วนหนึ่งของซัพพลายเชนในประเทศที่ เป็น Conflict-free Country ซึ่งได้ประโยชน์ จากความขัดแย้ง เช่น อินเดีย และเวียดนาม ทั้งในแง่ของการค้าระหว่ างประเทศ และการขยายการลงทุนไปยั งประเทศดังกล่าว
• ลดความเสี่ยงจากความผันผวนด้ านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Foreign Exchange Forward Contract เพื่อป้องกันความผั นผวนของค่าเงิน แม้ว่าเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่ าอาจทำให้ผู้ส่งออกบางส่วนเล็ งเห็นถึงประโยชน์จากส่วนต่างค่ าเงินดังกล่าว แต่การส่งออกที่เน้นการเก็ งกำไรค่าเงินถือว่าเสี่ยงเกิ นไปในภาวะที่โลกต้องเผชิญความผั นผวนสูงในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังควรพิจารณาการทำ ประกันการส่งออก (Export Credit Insurance) และประกันความเสี่ยงการลงทุน (Investment Insurance) เพื่อลดเหตุความไม่ แน่นอนในประเทศคู่ค้าซึ่งอาจมี มากขึ้นจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ มีแนวโน้มรุนแรงภายใต้การดำเนิ นงานของทรัมป์
• รักษาแนวทางการดำเนินงานที่ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่ องจากการที่สหรัฐฯ อาจถอนตัวออกจากกลไกการลดโลกร้ อน ยิ่งทำให้ประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทย ต้องพยายามมากขึ้นในการต่อสู้กั บการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ การผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อมหรือการดำเนินงานที่ ลดคาร์บอนจะช่วยให้ธุรกิ จสามารถรักษาตำแหน่งในห่วงโซ่อุ ปทานโลกยุคใหม่ได้มั่นคงยิ่งขึ้ น
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรั ฐฯ ที่จะประกาศอย่างเป็ นทางการในเร็ว ๆ นี้ พร้อมด้วยพิธีสาบานตนเข้ารั บตำแหน่งที่จะมีขึ้นในเดื อนม.ค. 2568 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะส่ งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ในระหว่างนี้การติดตามประเด็ นการเมืองสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดจะเป็นกุญแจสำคัญที่ ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้ าใจและเตรียมพร้อมรับมือกั บผลกระทบจากนโยบายต่าง ๆ ที่จะทยอยมีความชัดเจนมากขึ้ นในระยะข้างหน้า