JPARK กูรูเคาะราคา 4.90-6.40 บาท … โอกาสเติบโตตามการขยายเมือง

HoonSmart.com >> โบรกเกอร์ เคาะราคาเป้าหมาย JPARK  4.90 บาท – 6.40 บาท  มองผู้นำให้บริการลานจอดรถไทย ราว 3 หมื่นช่องจอด ทำเลหลากหลาย โครงการใหม่ ๆ อัตรากำไรสูง ,ได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเมือง  กระแสเงินสดมั่นคง โอกาสเติบโตสูงต่อเนื่อง

บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (UOB) ประเมินราคาเป้าหมายปี 2024 ที่ 5.20 บาท โดยเป็นผู้นำการให้บริการจอดรถครบวงจร ภายใต้ประสบการณ์บริหารช่องจอด ราว 3 หมื่นช่องจอด ทำเลหลากหลาย คาดเป็นผู้ได้ประโยชน์การขยายตัวของเมือง ( Urbanisation rate)  ที่เพิ่มขึ้น และเสริมแกร่งด้วย IPO หนุนกำไรปี 2023-25 คาดเติบโตเฉลี่ย 27.8% ต่อปี CAGR จากการ ขยายช่องจอด และโครงการใหม่ ๆ ที่มีอัตรากำไรสูงขึ้น ประเมินราคาเป้าหมายปี 2024 ที่ 5.20 บาท

จุดเด่น … ธุรกิจหลักมีรายได้แน่นอน (recurring income) ภายใต้ช่องจอดรถ (PS)  และ บริหารจัดการพื้นที่จอดรถ (PMS)  รวมราว 3 หมื่นช่องจอด ทำเลหลากหลาย ทั้งโรงพยาบาล, ย่านธุรกิจ และตลาดนัด บวกกับ รายได้เสริมโครงการรัฐและเอกชน ที่มี gross margin สูง ช่วยเพิ่ม track record ความสามารถการแข่งขัน และฐานกำไรในอนาคต

คาด JPARK จะเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้ประโยชน์จาก  Urbanisation  ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งปัจจุบันไทย ยังมี Urbanisation rate ที่ราว 51% น้อยกว่ามาเลเซีย, ญี่ปุ่ น และสหรัฐฯ ที่สูงราว 78%/92%/83% ตามลำดับ และ JPARK ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ไม่ถูก Disrupt จากกระแสรถยนต์ไฟฟ้า (EV car) หรือ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous car) ที่เข้ามามากขึ้นด้วย

การเข้า IPO เสริมการแข่งขันและการเติบโตอนาคต  คือ 1) การลงทุนสร้างอาคารจอดรถและพาณิชย์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า รวมกว่า 530 ช่องจอด คาดดำเนินการเชิงพาณิชย์ เดือนส.ค 2567  และ 2) โครงการในอนาคต การพัฒนาแอป Prompt Park รองรับการซื้อ-ขาย และเช่าพื้นที่จอดของผู้ที่มีพื้นที่จอดรายย่อยทั่วประเทศ  คาดพร้อมใช้ 1Q25

คาดการณ์กำไรปี 2023-2505 เติบโตเฉลี่ยสูง 27.8% CAGR หนุนจากรายได้รวม ปี 2023-25 คาดเติบโต 13.6%/34.7%/12.4% ตามลำดับ

ช่องจอดคาดเพิ่มเป็น 1.44/1.65/1.74 หมื่นช่องจอด ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่ให้บริการต่อเนื่อง รวมถึง U-rate พื้นที่จอดรถที่ปรับตัวขึ้น ประกอบกับ Gross profit margin ที่คาดปรับเพิ่มขึ้น จากโครงการใหม่ ๆ ที่มีอัตรากำไรสูงขึ้น  หนุนปี 2023-25 เพิ่มเป็น 24.4%/24.5%/25.1% ตามลำดับ

บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ให้ ราคาพื้นฐานปี 2567 ที่ 5.40 บาท ซึ่ง JPARK ผู้นำธุรกิจจอดรถและมีโอกาสเติบโต ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานราชการทั้งโรงพยาบาล สนามบิน และรฟม.

การดำเนินงานปี 2566-2567 มีโอกาสเติบโตจากการขยายตัวของเขตเมือง ปี 2566 คาดเติบโตจากปี 2565 จากการรับรู้การติดตั้งระบบบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ 3 โครงการ ครึ่งปีหลัง 2566 … ส่วนปี 2567 รับรู้รายได้โครงการให้คำปรึกษาต่อเนื่อง โครงการที่เปิดใน Q3/66 เต็มปี และยังมีเปิดอีก 2 โครงการ COD ใน 1Q67 และ 3Q67 สร้างการเติบโต คาดกำไรปี 2566-2567  โต 27.9% และ 53.7% ตามลำดับ และมีโอกาสเติบโตในอนาคต จากเขตเมืองที่ขยายตัว

เนื่องจากในตลาดหลักทรัพย์ ยังไม่มีบริษัททำธุรกิจแบบเดียวกับ JPARK ฝ่ายวิจัย จึงเทียบเคียงกับบริษัท  Nippon Parking Development และ Park 24 ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในญี่ปุ่น ซื้อ-ขาย P/E เฉลี่ยที่ 17.4 เท่า ซึ่งธุรกิจน่าจะ mature แล้ว  ขณะที่ JPARK  มีโอกาสเติบโต จากการได้สัญญางานใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงเงินทุน IPO นำไปขยายธุรกิจได้มากขึ้น  จึงให้ premium จากคาดการณ์กำไรสุทธิที่เติบโตระดับสูง อิง P/E ที่ 20 เท่า ราคาพื้นฐานปี 2567 อยู่ที่ 5.40 บาท

บล.ฟินันเซีย ไซรัส มองว่า JPARK กระแสเงินสดมั่นคง โอกาสเติบโตสูงต่อเนื่อง ให้ราคาเหมาะสม 6.40 บาท  คาดกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 102 ล้านบาท เติบโต +60% y-y

JPARK เป็นผู้นำให้บริการที่จอดรถ ที่มีรายได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ มีสัญญาเช่าระยะยาว และเป็นกิจการรับเงินสด  โดยเฉพาะธุรกิจบริหารจัดการที่จอดรถ ที่มีรายได้เป็นประจำ คิดเป็น 20-25% ของรายได้ ขณะที่ธุรกิจบริการพื้นที่จอดรถ เป็นกึ่งรายได้ประจำ บวกกับรายได้ที่เป็นโครงการรับติดตั้งระบบที่จอดรถ และโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถ รพ.พระนั่งเกล้า มีสัญญาเช่า 30 ปี

บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี ประเมินมูลค่า JPARK ที่ 4.90 บาท คาดว่า FY22-25F รายได้บริษัทฯ จะเติบโตเฉลี่ย 18.3% CAGR ขณะที่กำไรสุทธิคาดว่าจะเติบโต เฉลี่ย 27.1% CAGR การเติบโตหนุนโดยการลงทุนในพื้นที่จอดรถเพิ่มเติม ธุรกิจบริหารจัดการพื้นที่จอดรถที่ได้อานิสงส์ จากการขยายเส้นทางของรถไฟฟ้าขนส่งมวล และการรับงานบริหารโครงการติดตั้งระบบที่มากขึ้น

บล.กรุงศรี พัฒนสิน  ประเมินมูลค่าพื้นฐาน JPARK ที่ 5 บาท  มอง JPARK มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นผู้นำธุรกิจบริหารที่จอดรถในไทย และมีประสบการณ์มายาวนาน นอกจากนี้ ยังเป็นธุรกิจที่มีรายได้ประจำสม่ำเสมอ และบริการในทำเลพื้นที่ ที่มีศักยภาพสูง ขณะที่ยังมีโอกาสในการเติบโตในอนาคต

คาดกำไรสุทธิปี 2023-25F เติบโตเฉลี่ย +24% CAGR มาอยู่ที่ 64 ล้านบาท (+16% y-y), 92 ล้านบาท (+44% y-y) และ 106 ล้านบาท (+15% y-y) ตามลำดับ หนุนหลักจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย +19% CAGR จากธุรกิจให้บริการที่จอดมีการขยายที่จอดเพิ่มขึ้น +17% CAGR และธุรกิจให้คำปรึกษาและรับ ติดตั้งระบบที่จอด เห็นการเติบโตที่ดีเฉลี่ย +14% CAGR สอดคล้องกับพื้นที่จอดแล้วจรในบริเวณย่าน รฟฟ. ที่ยังขาดแคลน

ความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรสุทธิ ได้แก่  ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงการเช่าพื้นที่จอดรถจากผู้ให้เช่าพื้นที่รายใหญ่,   ความเสี่ยงหากประเมินต้นทุนโครงการคลาดเคลื่อน , ความเสี่ยงของธุรกิจ PMS หากลูกค้าไม่ต่อสัญญาจ้าง และ ความเสี่ยงของธุรกิจให้คำปรึกษา-ติดตั้งระบบ บริหารจัดการพื้นที่จอดรถ (CIPS ) จากความไม่สม่ำเสมอของรายได้ CIPS หรือส่งมอบงานล่าช้า

บล.โกลเบล็ก ประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2567 ที่ 5.60 บาท ประเมินกำไร สุทธิต่อหุ้นปี 2567 ราว 0.24 บาทต่อหุ้น คาดหวังอัตราเงินปันผลที่ 1.8% ต่อปี

คาดผลประกอบการปี 66-67 เติบโตโดดเด่น  มีสาเหตุหลักจาก 1. ความหนาแน่นของประชากรเขตเมือง ส่งผลความต้องการที่จอดรถ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น , 2. แรงหนุนจากยอดขายรถยนต์ในประเทศ ที่ยังเติบโต , 3. การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลขน , 4. ปัจจุบัน มียอด Backlog ราว 99.4 ล้านบาท ทยอยรับรู้กว่า 90% ภายในปี 2566-2567 ,5 อยู่ระหว่างพัฒนา Application “Prompt Park” รองรับฟังก์ชั่นสำรองที่จอดรถ และชำระเงินแบบไร้เงินสด และ 6 นำเงิน IPO ไปลงทุนก่อสร้างอาคารจอดรถ และบริหารที่จอดรถ

ประมาณการรายได้ปี 2566-2567 ราว  540.1 ล้านบาท และ 692.4 ล้านบาท  เติบโต +19.6%YoY และ
+28.0%YoY  คาดกำไรสุทธิปี 2565-2566  ที่ระดับ 66.2 ล้านบาท  และ 94.5 ล้านบาท ตามลำดับ  เติบโต +20.3%YoY และ +42.6%YoY ตามลำดับ