SCBAM : Fed/ ECB ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด BOJ เริ่มปรับนโยบาย

SCBAM
MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 31 ก.ค.-4 ส.ค. 66
Highlight ประจำสัปดาห์

๐ 3 ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวขึ้นได้ สะท้อนให้เห็นถึงการกระจายตัวมากขึ้น ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการรายงานงบของกลุ่ม Big Techs ทำได้ดีกว่าคาด รวมถึง ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญอย่าง Core PCE ที่ชะลอตัวลง และ Consumer spending ที่ปรับตัวขึ้น เพิ่มโอกาสเกิด Soft Landing ด้านตลาดหุ้นเอเชียสวนใหญ่ปรับตัวขึ้นนำโดยตลาดหุ้นจีน ภายหลังการส่งสัญญาณการผ่อนคลายในกลุ่มอสังหาฯ และการส่งเสริมการบริโภคจากรัฐบาล อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังต้องคอยติดตามความชัดเจนและประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนอย่วงใกล้ชิด

๐ IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP โลกปีนี้ เป็น +3.0% VOY จากความเสี่ยงการเกิด Recession ที่ลดลง ด้านการประชุมธนาคารกลาง Fed และ ECB ต่างมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps ในขณะที่ BOJ มีมติยืดหยุ่นนโยบาย Y C C มากขึ้น โดยจะปล่อยให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น อายุ 10 ปี เคลื่อนไหวในกรอบ 士 50bps จาก เป้า 0% และจะรับซื้อ ที่ 1% นั่นคือ ความยืดหยุ่นของกรอบจะเพิ่มขึ้นอีก 50bps ส่งผลให้ค่าเงินเยนผันผวนอย่างมากในช่วงท้ายสัปดาห์ที่ผ่านมา

๐ ติดตามผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่เช่น Apple และ Amazon รวมถึงบริษัทอื่นๆ เช่น AirBnB, Expedia, Paypal, Caterpillar, Starbucks, Pfizer, Qualcomm, และ Shopify รวมถึงดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ดัชนีตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ดัชนี PMI ของจีน และ GDP ของยุโรป
หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
สหรัฐอเมริกา : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก

เรายังคงมุมมองเชิงบวกระยะยาวต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ใกล้ถึงจุดสูงสุด เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงงบการเงินบริษัทที่แข็งแกร่ง ในระยะสั้นอาจมีความเสี่ยงที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลง เนื่องจากดัชนีหลักล้วนปรับตัวขึ้นมากในปีนี้ จนทำให้ upside ปัจจุบันเริ่มเหลือไม่มากนัก เรายังคงมุมองเป็นกลางแนะนำรอจังหวะทยอยสะสมเมื่อตลาดย่อตัว ต่อไป

ยุโรป : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นท่ามกลางความผิดหวังของการประกาศงบการงินของบริษัทจดทะเบียน ปัจจุบันมีเพียง 49% ที่ทำได้ดีกว่าคาด ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 55% รวมถึงแนวโน้มคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนเริ่มทยอย ส่งผลให้เรายังมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นยุโรป แม้ระดับมูลค่า (Valuation) จะยังอยู่ในโซนถูกก็ตาม

ญี่ปุ่น : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ต้องเผชิญกับความผันผวนในช่วงท้ายหลังจาก ที่ประชุม BOJ มีมติปรับนโยบาย Yield Curve Control (VCC) โดยนักลงทุนมองว่านี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับทิศทางนโยบายทางการเงินได้ เรายังคงมุมมองเป็นกลางแนะนำเฝ้าติดตามนโยบายทางการเงินอย่างใกล้ชิด และทยอยสะสมจังหวะราคาย่อตัว

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
SET Index ปรับตัวขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ จากความคาดหวังปัจจัยการเมืองมีความชัดเจนขึ้น โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ประกอบกับ การเข็งค่ของเงินบาท ช่วยชะลอแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งคาดว่า SET Indexโอกาลที่จะฟื้นตัวต่อในสัปตาห์นี้ ทั้งนี้ติดตามการโหวเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 ส.ค.

จีน : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นได้ดี หลังรายงานการประชุม Poitburo เบื้องตัน ส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเน้นผ่อนคลายนโยบายในกาคอสั่งหาฯ, แก้ปัญหาหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งคาดว่ากายหลังการประชุมจะมีการออกมาตรการกระตุ้นศรษฐกิจที่เห็นผลมากขึ้น หมุนการฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีน แนะนำทยอยสะสมลงทุน

อินเดีย : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดี ประกอบกับ ธนาคารกลางอินเดียเริ่มคงอัตราดอกเบี้ยนยนาย หนุนให้แนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนยังคงปรับเพิ่มขึ้นช่วยลดระดับมูลค่า (Valuation) ดูตึงตัวน้อยลง ขณะที่กระแสเงินทุนต่างชาติยังไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นอินเดีย แนะนำทยอยสะสมลงทุนเมื่อตลาดย่อตัว

เกาหลีใต้ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทรงตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา กดดันจากการรายงานผลประกอบการของกลุ่มเทคนโลยีที่ออกมาต่ำกว่าคาด ส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนในระยะสั้น ทั้งนี้คาดว่าผลประกอบการของกลุ่ม Semiconductor จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งจะช่วยหนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นในระยะถัดไป

เวียดนาม : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
รายงานเงินเฟิอ CPI เดือนก.ค. อยู่ที่ 2.06% YOY เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย รวมทั้งการส่งออกหดตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน อาจส่งผลให้การเติบโตของ GDP มีความเสี่ยงไม่ถึงเป้าหมายที่ทางการตั้งไว้ที่ 6.5% ทั้งนี้เรามีมุมมองเชิงมวกต่อการลงทุนระยะกลาง-ยาง จากระดัน Valuation ที่ยังคงดูน่าสนใจ แต่ในระยะสั้นอาจมีแรงขายทำกำไร

ตราสารหนี้

ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
Fed มีมตขึ้นดอกเบี้ยอีก 25 bps ในการประชุมครั้งล่าสุด ส่งผลให้ส่วนต่างของอตราดอกเบี้ยของไทย-สหรัฐ กว้างขึ้น มีโอกาสที่กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมวันที่ 2 ส.ค.นี้ โดยตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 25 bps กดดันต่อราคาตราสารหนี้ไทยในระยะสั้น

ต่างประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
การประชุม Fed มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25bp: และยังไม่มีการส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้เป็นครั้งสุดท้ย ส่งผลให้ Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอายุ 2 ปี และ 10 ปี อยู่ที่ 4.87% และ 3.95% ตาบสำดับ ทั้งนี้ เรามองว่าแนวโน้มดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว และระดับดอกเบี้ยปัจจุบันน่าสนใจลงทุนในระยะกลาง-ยาว

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาทองคำย่อตัวลงเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังจากดัชนี Dollar Index แข็งค่านั้น สะท้อนการปรับขึ้นของคอกเบี้ยนโยบายในประชุม Fed ผลักดันให้ Real Yield มีแนวมปรับเพิ่มขึ้น กคดันราคาทองคำปรับตัวลง ทั้งนี้ ในระยะมุมมองชิงบวกต่อทองคำ แนะนำทยอยสะสมเมื่อราคาอตัวลงมาเพื่อเป็นสินทรัพย์ในการกระจายความเสี่ยงพอร์ต

น้ำมัน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นแตะระดับ 80 ดอลลาร์/บาร์เรล จากการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC และมีโอกาสที่ซาอุฯ จะต่ออายุมาตรการลดกำลังการพลิตในเดือน ก.ย. ขณะที่อุปสงค์การ์ใช้น้ำมันคาคว่าจะเพิ่มขึ้น หลังจีนมีแนวโน้มกระตุ้นเศรษฐกิจพิ่มเติม เราคงมุมมองว่า WT1 จะแกว่งตัวในกรอบกว้างและมีความเสี่ยงขาลงจำกัด

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
เรามีมุมมองเป็นกลางต่อกลุ่ม REIT: สิงคไปร์และไทย จากอัตรางินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าคาดช่วยหนุนมุมมองแนวโน้มดอกเบี้ยงขึ้นของ Fed ใกล้จบรอบ สนับสนุนการฟื้นตัวของกลุ่ม REITs โดยเฉพาะในฝั่งสิงคโปร่ที่อ่อนไหวสูงต่อแนวไน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ ส่วน REITs ไทย ความเสี่ยงขาลงเริ่มจำกัด เพราะราคาลงมาค่อนข้างมากแล้ว