SCBAM : ตัวเลขเศรษฐกิจเป็นใจหนุนให้ตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัว

MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 3-7 ก.ค. 66

๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นโดดเด่น หลังดัชนีเศรษฐกิจทยอยออกมาบ่งชี้การขยายตัว ช่วยลดความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ออกมาซะลอตัวและต่ำกว่าคาดเพิ่มความคาดหวังของนักลงทุนว่าแนโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ น่าจะใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้วหนุนตลาดหุ้นฟื้นตัว โดยกลุ่มพลังงานและอสังหาฯ สามารถปรับตัวขึ้นโดดเด่นได้ไม่แพ้กลุ่ม Technology แสดงถึงการปรับตัวในวงกว้างมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเช่นกันตาม sentiment บวกจากสหรัฐฯ แม้ว่าดัชนีเศรษฐกิจของยุโรป หลายตัวะออกมาต่ำกว่าคาดต่อเนื่องและแนวโน้มดอกเบี้ยที่ยังไม่ใกล้ถึงจุดสูงสุดเมื่อเทียบกับฝั่งสหรัฐฯ เนื่องจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง

๐ ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวบวกเป็นส่วนใหญ่ นำโดยตลาดหุ้นอินเดียที่ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นกลับมาปรับตัวขึ้นอีกครั้งหลังรายงานตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาด ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ หลังทิศทางการเมืองดูชัดเจนขึ้นอีกครั้ง

๐ ติดตามดัชนีเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ: ISM ภาคผลิตและบริการ, การจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราการว่างงานและค่าจ้างแรงงาน; ญี่ปุ่น: PMI ภาคการผลิต; ไทย: อัตรางินเฟ้อ CPI ทั้งนี้ หากคัชนีเศรษฐกิจข้างต้น ไม่ได้ออกมาย่ำแย่กว่าตลาดคาดมาก เรามองว่า โมเมนต้มบอกน่าจะยังหนุนให้ตลาดหุ้นโลกโดยรวมปรับตัวขึ้นต่อได้ในสัปดาห์นี้

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา : มุมมองค่อนข้างบวก แนะนําทยอยสะสม
รายงานตัวเลขศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด โดยตัวเลข GDP รอบ 1Q66 (ประมาณการครั้งสุดท้าย) อยู่ที่ +2.0% สูงกว่าตลาดคาดและสูงกว่าประมาณการครั้งก่อน รวมทั้งรายงานเงินเฟ้อ PCE และ Core PCE เดือนพ.ค. ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเข็งแกร่ง เราจึงยังมีมุมมองเชิงบวก แนะนำทยอยสะสม

ยุโรป : มุมมองเป็นลบ แนะนําทยอยลดนํ้าหนัก

ประมาณการเบื้องต้นเงินเฟ้อ (Core CPI) เดือนมิ.ย. +5.4% YoY ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า กดดันให้ ECB จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ย และเพี่มวงเงินการทำ QT ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบลดลง และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว อาจเสี่ยงเกิด Recession เป็นปัจจัยกดคันตลาดหุ้น แนะนำ ทยอยลดน้ำหนัก

ญี่ปุ่น : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก

ตัวเลขเศรษฐกิจทั้งกาคการผลิตและภาคการบริโภคออกมาดีกว่าคาด โดยดัชนียอดค้าปลีก, คัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขการสร้างบ้านใหม่ ในเดือนพ.ค. ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้เศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวได้ดี เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินตึงตัวขึ้น และการแทรกแซงค่าเงิน หากเงินเยนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ยอดนำเข้า-ส่งออก เดือน พ.ค.แม้ว่าจะหดตัว แต่ก็ยังดีกว่าคาด นอกจากนี้เริ่มเห็นต่างชาติกลับเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง หลังจากประเด็นการเมืองเริ่มคลีคลาย ปัจจัยติดตามสัปดาหนี้ คือ การเลือกประชานสกาฯ ซึ่งจะมีผลต่อการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี่และการจัดตั้งรัฐบาลในลำดับถัดไป เราคาดว่า SET Index น่าจะมีความฝันผวนไปอีกสักระยะ

จีน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นจิ่นค่อนข้างผันผวนในช่วงสัปดาห์ก่อน เศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าคาดยังเป็นปัจจัยกดดันตลาด โดย PMI กาคการผลิตยังต่ำกว่าระดับ 50. จุด ขณะที่กาคบริการถึงแม้อยู่ระดับเกิน 50 จุด แต่ก็ต่ำากว่าตลาดคาดและซะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้การลุ้นให้ตลาดหุ้นพื้นตัวชัดเจนอางต้องรอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากกาครัฐ

อินเดีย : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นทะลุแนวต้านทำจุดสูงสุดไหมในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีแรงโมเมนตัมเชิงบวกระยะสั้น แนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนเริ่มถูกทยอยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องช่วยลดระดับบูลค่า (Valuation) ดูตึงตัวน้อยลง หนุนกระแสงินทุนต่างชาติอาจหันมาลงทุนอินเดียแทนจีนต่อเนื่องไนระยะสั้น เราจึงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนมากขึ้น

เกาหลีใต้ : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ค่อนข้างผันผวนเคลื่อนไหวไร้ทิศทางที่ชัดเจนในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เรายังมีมุมมองเชิงบอกโดยคาคว่าระดับ Inventory ของกลุ่ม Semiconductor ใกล้กับจุดต่ำสุด ช่วยหนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะกัดไป โดยหากไม่หลุดเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน อาจมีลุ้นฟื้นตัวกลับ แนะนำ Trading คาดหวังการเกิด Technical Rebound

เวียดนาม : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ตัวเลขศรษฐกิจเวียดนามโดยรวมยังออกมาขยายตัวต่อเนื่อง ถึงแม้การส่งออกจะหดตัวและยอดค้าปลีกดูขยายตัวน้อยลงแต่จากเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงมากกว่าคาด ช่วยเปิดช่องให้ภาครัฐยังสามารถดำเป็นนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะที่ระดับบูลค่ายังต่ำากว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ดังนั้นคำแนะนำทยอยสะสมลงทุน

ตราสารหนี้
ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก

ตัวเลขงินเอไทย ตลาดคาดว่า CPI จะปรับตัวลงเหลือ 0.15%YoY จากเดือนก่อนที่ 0.53%YoY ส่วน CPI ตลาดคาด 1.4% YoY เทียบเดือนก่อนที่ 1.55% YOY ถึงแม้ล่าสุด EIC คาดการณ์ว่า BOT มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งสู่ระดับ 2.50% แต่หากเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องอาจทำให้มีการขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าคาดได้เช่นกัน

ต่างประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ระดับ Bond Yield สหรัฐฯ ปริบตัวขึ้นทั้งระยะสั้น 2 ปีและระยะยาว 10 ปีมาอยู่ที่ระดับ 4.90% แล: 3.84% ตามลำดับ ท่าทีของประชาน Fed ยังค่อนข้าง Hawkish แต่จากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) ที่ออกมาวันศุกร์มีแนวโน้มซะลอตัวลงต่อเนื่อง เราจึงคาดว่าแนวโน้มดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้วและระดับดอกเบี้ยปัจจุบันน่าสนใจลงทุนระยะกลาง-ยาว

สินทรัพย์ทางเลือก

ทองคำ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ทองคำอาจถูกแรงกดดันจากสภาวะ RiskOn ของนักลงทุนที่อาจขายสินรัพย์ปลอดภัยไปลงทุนในมากขึ้นในระยะสั้น แต่ราคาทองคำมีโอกาสฟื้นตัวทางเทคนิค เพราะลงมาใกล้แนวรับเส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วัน นักลงทุนอาจพิจารณาทยอยสะสมช่วงราคาทองอตัว เพื่อการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนในระยะกลาง-ยาว

น้ำมัน : มุมมองค่อนข้างเป็นนบวก แนะนําทยอยสะสม
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงหลุดระดับ $70/bbl ก่อนกลับขึ้นมายืนเหนือได้ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จากดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ทยอยออกมายังคงเข็งแกร่ง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้เรายังคาดว่า WTI จะแกว่งตัวในกรอบกว้างและมีความเสี่ยงขาลงจำกัด สามารถ Trading ตามกรอบ โดยมีแนวรับบริเวณ $65-67/bbl

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคากลุ่ม REIT: สิงคโปร์และไทยทรงตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยฉุดระยะสั้นหลังผลการประชุม Fed ออกมา Hawkish กว่าตลาดคาด แต่จากแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดช่วยลดแรงกดดันในกลุ่ม REITร สิงคโปร์ ส่วน REITs ไทย ยังขาดปัจจัยบวกใหม่ที่ชัดเจน ทำให้การฟื้นตัวค่อนข้างจำกัด