Cryptomind มองตลาดคริปโทครึ่งปีหลัง “Bitcoin Halving-กองทุน ETF” หนุน

HoonSmart.com>> “Cryptomind” ร่วมพันธมิตรเปิดทิศทางลงทุนครึ่งปีหลัง 66 มองตลาดคริปโทฯ ดีขึ้น ปัจจัยหนุนจากสถาบันการเงินแห่ยื่นขอ SPOT Bitcoin ETF – Bitcoin Halving จับตาเงินเฟ้อยังกดดันตลาด

ในปี 2566 ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีทั่วโลกยังคงอยู่ในภาวะที่มีความผันผวนค่อนข้างมาก และด้วยภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นทั่วโลก ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมตลาดยังเห็นภาพความไม่แน่นอน แต่ในด้านเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงมีพัฒนาการของสินทรัพย์ดิจิทัลออกมาอย่างต่อเนื่อง

บริษัท คริปโตมายด์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด ผู้ประกอบธุรกิจให้คำปรึกษาด้านบล็อกเชนและการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ประกอบไปด้วย บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และ บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด บริการที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทยอย่างเป็นทางการ ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.

การจัดงาน “Cryptomind Mid-year Investment Forum” เปิดทิศทางการลงทุนครึ่งปีหลัง 2566 รับ Bitcoin Halving และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล กุญแจไขวิธีหาโอกาสในการลงทุน วิเคราะห์ร่วมกับสถานการณ์ปัจจุบันของตลาดการเงินโลก รวมถึงวิธีกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ และวิธีสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ โดยมุ่งหวังให้นักลงทุนผู้เข้าร่วมได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนจัดพอร์ต และการกระจายความเสี่ยงได้อย่างมั่นใจ

นายสัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดคริปโทฯ ได้รับความนิยมและความสนใจจากนักลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีลักษณะที่น่าสนใจและมีโอกาสในการลงทุนที่มากกว่าสกุลเงินอื่น ๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตของตลาดคริปโทฯ อย่างรวดเร็ว โดยผู้คนในประเทศไทยมีการรับรู้ถึงความเป็นมาของเทคโนโลยีบล็อกเชนและการใช้งานคริปโทฯ มากขึ้นและขยายตัวในวงกว้าง ส่งผลให้แนวโน้มของสินทรัพย์เกิดใหม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีแหล่งให้ศึกษาหาความรู้ และมีองค์กรที่สนับสนุนคริปโทฯ และเทคโนโลยีบล็อกเชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลจึงควรให้ความสำคัญกับการศึกษาและการทำความเข้าใจในเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ตลาดและการติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

ด้านนายพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการลงทุน บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด กล่าวเสริมว่า ทิศทางการลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง 2566 นั้นมีท่าทีที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะท่าทีของอเมริกาที่แม้ว่าทาง SEC จะมีการฟ้อง Coinbase และ Binance US แต่ในแวดวงผู้ประกอบการกลับมีทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งลงท้ายด้วยการที่สถาบันการเงินจำนวนมากโดยเฉพาะ BlackRock ที่ทำการยื่นขอ SPOT Bitcoin ETF นั้นมี AUM มากกว่ามูลค่าตลาด Cryptocurrency ถึง 9 เท่า การแบ่งสัดส่วนเงินที่บริหารเพียงน้อยนิดเข้าสู่ตลาดคริปโทฯ ก็เพียงพอให้ตลาด Crypto นั้นมีเม็ดเงินไหลเวียนเพิ่มขึ้นมหาศาล ยังไม่นับรวมสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ทำการยื่นขอใบอนุมัติ SPOT Bitcoin ETF เช่นกัน และถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงการยื่นขอใบอนุญาต ก็ทำให้เกิดทิศทางบวกต่อตลาดมากแล้ว

ในขณะเดียวกัน ฮ่องกงได้ประกาศการกำกับดูแลในการเป็น “Crypto Hub” ตามด้วยยุโรปที่มีการประกาศว่าจะมีการกำกับดูแลในปี 2024 นั้น เป็นการกดดันอเมริกาอยู่มากพอควร อย่างไรก็ตามในแง่ของปัจจัยเชิงลบนั้นสถานการณ์เงินเฟ้อยังต้องติดตามต่อไป เพราะตราบใดที่เงินเฟ้อไม่ลดก็จะยังมีแรงกดดันต่อตลาดอยู่ต่อเนื่อง

นายมานะ คานิโยว หัวหน้าฝ่ายบริหารงานขาย และพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุน บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด กล่าวถึงการลงทุนในคริปโทฯ ช่วงดอกเบี้ยอยู่ในจุดพีคว่า เงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยซึ่งมองว่า “เราอยู่ในจุดซื้อที่เหมาะสม” หากพิจารณาจาก Business cycle

เสริมมุมมองเกี่ยวกับ BTC Halving ในปี 2567 ว่า Bitcoin Halving จะเกิดขึ้นและรางวัลสำหรับการขุด Bitcoin จะลดลงครึ่งหนึ่งในเชิงสถิติ ซึ่งเหตุการณ์ Bitcoin Halving ที่ผ่านมานำไปสู่ตลาดขาขึ้นของ Bitcoin ทั้งนี้ Products ใหม่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความผันผวนของตลาด นอกจากนี้ การลงทุนควบคู่กันไประหว่างการลงทุนในหุ้น และคริปโทฯ มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งควบคู่กับความเสี่ยงที่สูงเช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้ได้กำไรอย่างยั่งยืน จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้และคำแนะนำในการกระจายความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยและโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ฟอร์ท อีเอ็มเอส (FEMS) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (29 มิ.ย. 2566) ได้ทำการยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) พร้อมแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฃก.ล.ต.) และยื่นคำขอให้รับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรียบร้อยแล้ว

บริษัท ฟอร์ท อีเอ็มเอส จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 320 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท สัดส่วนหุ้นที่เสนอขาย IPO คิดเป็น 28.57% ของจำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการ IPO ในครั้งนี้ โดยจะจัดสรรหุ้นส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“FORTH”) ในฐานะบริษัทแม่ (Pre-emptive Offering) และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

ด้านนายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า การระดมทุนของ บริษัท ฟอร์ท อีเอ็มเอส มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้ไปลงทุนเสริมเทคโนโลยีการผลิต และขยายกำลังการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต อาทิ การลงทุนเครื่องจักรใหม่ การขยายพื้นที่โรงงานและคลังสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาส และสามารถตอบโจทย์การผลิตสินค้านวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง สนับสนุนความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น และช่วยให้บริษัทมีการพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้มีความยั่งยืนและเติบโตในระยะยาว

สำหรับบริษัท ฟอร์ท อีเอ็มเอส เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชัน (FORTH) ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้านวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Manufacturing Services หรือ EMS) ให้กับลูกค้าภาคอุตสาหกรรมที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Box-Build) และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board Assembly : PCBA) ทั้งในรูปแบบของการรับเหมาผลิต (Turn Key) และรูปแบบรับจ้างประกอบ (Consign Part) โดยตัวอย่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่บริษัททำการผลิต อาทิ ตู้ “เต่าบิน”โรโบติกบาริสต้า ตู้อัตโนมัติ (Vending Machine) ที่ชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV-Charger) ตลอดจนอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมการแปลงกระแสไฟฟ้า (inverter) ของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและยานยนต์ อุปกรณ์ควบคุมรถเข็นคนไข้ (Power Wheelchair) ของกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น