SCBAM : ตลาดหุ้นมีโอกาสไปต่อ หลังประชุม 3 ธนาคารกลางหลัก

MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 19-23 มิ.ย.66


Highlight ประจำสัปดาห์

๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงแม้ผลการประชุม Fed จะส่งสัญญาณตึงตัวกว่าที่ตลาดคาด แต่จากเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องช่วยหนุนบรรยากาศ Risk on ต่อไป ส่วนฝั่งภูมิภาคเอเชียปรับตัวขึ้นนำโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ยังร้อนแรงต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดหุ้นจีนที่เห็นการฟื้นตัวโดดเด่นช่นกัน หลังชนาคารกลางจีน (PBOC) ทยอยลดดอกเบี้ยนโยบายและความตึงเครียดทางการเมืองกับสหรัฐฯ ดูผ่อนคลายมากขึ้นในระยะสั้น

๐ เงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ (CPI) เดือน พ.ค. ต่ำกว่าคาดและเดือนก่อน (4.0% vs 4.1% Vs 4.9%YOY และ 0.1% vs 0.2% vs 0.4%MoM) ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ออกมาตามคาดแต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้า (5.3% vs 5.3% vs 5.5% YOY และ 0.4% vs 0.4% Vs 0.4%MoM) โดยราคารถใหม่, รถมือสอง, ที่อยู่อาศัยและค่าเช่าที่ชะลอตัวลง ถือเป็นสัญญาณที่ดี

๐ ผลการประชุม Fed มีมติคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิม 5.00-5.25% ตามคาด โดย Dot plot บ่งชี้นโยบายการเงินที่ตึงตัวกว่าคาด (Hawkish) ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ ไปสู่ระดับ 5.50-5.75% ส่วนถ้อยแถลงของประธาน Fed ยังไม่ด่วนสรุปว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป แต่การลดดอกเบี้ยคาดว่าจะยังไม่เกิดขึ้นปีนี้ตามที่ตลาดคาดหวัง ส่วนการประชุม ECB ขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps ตามคาด โดยประธาน ECB ยังส่งสัญญาณ์ขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมครั้งถัดไป ขณะที่ BOJ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายและแสดงท่าที Dovish ต่อไป แม้คาดแนวโน้มเงินเอสูงขึ้นตามเศรษฐกิจฟื้นตัว

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
Fed มีมติคงดอกเบี้ยที่ 5.0-5.25% ตามตลาดคาด แต่ Dot plot บ่งชี้ว่าอาจมีการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้อีก 2 ครั้งไปสู่ระดับ 5.50-5.75% ทั้งนี้เงินเฟ้อที่ชะลอลงต่อเนื่องและตัวเลขการจ้างงานที่เริ่มลดความร้อนแรงลง ทำให้นักลงทุนคาคว่า Fed อาจไม่ขึ้นดอกเบี้ยตาม Dot plot ที่ให้ไว้ เราจึงมีมุมมองเชิงบวกโตยคาดว่าโมเมนติมตลาดยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง

ยุโรป : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ECB มีมติขึ้นดอกเบี้ย 25bps ตามตลาดคาด รวมทั้งยังคงส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมครั้งถัดไป เพื่อควบคุมเงินเฟ้อของยูโรโซนที่ล่าสุดเดือนพ.ค.อยู่ที่ 6.1 % YoV ซึ่งยังสูงกว่าระดับเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 2%YOY อยู่มาก ทั้งนี้ตลาดหุ้นยุโรปได้ปัจจัยหนุนจากคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนที่ยังเติบโตได้ดี แนะนำคงน้ำหนัก

ญี่ปุ่น : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยได้ปัจจัยหนุนจากผลการประชุม B0J ที่ยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายแบบพิเศษต่อเนื่อง รวมทั้ง รายงานด้ชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. อยู่ที่ 5.1% YOY ต่ากว่าตลาดคาด และซะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ช่วยลดแรงกดดันเงินฟ้อจากฝั่งผู้ผลิต และคาดว่าจะช่วยชะลอเงินเฟ้อในฝั่งผู้บริโภคในระยะถัดไป ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างแรงและเร็ว ก็อาจมีการพักฐานระยะสั้นได้

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
SET Index ชะลอการปรับตัวขึ้นเนื่องจากตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ ขณะที่มีความกังวลต่อปัจจัยทางการเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน ทำให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยช่วง 3 วันทำการหลังสุด แต่ด้วยบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นโลกที่ค่อนข้างเป็นบวก น่าจะช่วยประคับประคอง SET Index ให้อยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว

จีน : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวฟื้นขึ้น ถึงแม้รายงานตัวเลขเศษฐกิจสำคัญออกมาผิดหวังต่อเนื่อง แต่ธนาคารประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายระหว่างสัปดาห์ ประกอบกับพัฒนาการเชิงการเมืองระหว่างประเทศที่ผ่อนคลายขึ้น ช่วยหนุน sentiment บวกต่อการลงทุนอีกครั้ง ทั้งนี้เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวระยะกลาง-ยาว

อินเดีย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นทดสอบจุดสูงสุดเดิม หากสามารถทะผ่านไปได้อาจสร้างแรงหนุนให้ตลาดปรับตัวขึ้นต่อโดยแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตสูงและกระเสงินทุนต่างชาติไหลเข้ายังสนับสนุน ขณะที่ความเสี่ยงคือระดับมูลค่า (Valuation) ที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตัวเองและภูมิภาค แนะนำรอดูหากทะลุได้อาจ Follow Buy

เกาหลีใต้ : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปรับตัวลงเล็กน้อยขึ้นหลังขึ้นได้อย่างโดดเด่นในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุน sentiment บวกจากหุ้นกลุ่มเทคนโลยีและกลุ่ม Semiconductor สหรัฐฯ โดยภาพทางเทคนิคอยู่ในกรอบแนวโน้มขาขึ้นและมีมเมนตัมที่ดี เราจึงแนะนำเก๊งกำไรลุ้นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง

เวียดนาม : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ธนาคารกลางเวียดนามประกาศลดดอกเปี้ยนโยบายหลายรายการ โดย Retinance rate ลดลงจาก 5.0% เป็น 4.5%, Discount rate ลดลงจาก 3.5% เป็น 3.0% และ Interbank rate ลดลงจาก 5.5% เป็น 5.0% เผื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกายในประเทศที่ชะลอตัวลง ขณะที่กาพางเทคนิคกลับมาดูดีขึ้น ดังนั้นเราจึงแนะนำทยอยสะสมลงทุน

ตราสารหนี้
ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ถึงแม้รายงานอัตราเงินเฟัอไทยล่าสุดจะออกมาต่ำกว่าคาด แต่ กนง, มีโอกาสที่จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมครั้งถัดไป จากมุมมองเศรษฐกิจที่พื้นตัวดีขึ้นและความกังวลว่าเงินเฟ้ออาจจะลงต่องากนี้ยากขึ้น ทั้งนี้ EIC คาดการณ์ว่า BOT มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งสู่ระดับ 2.50% กดดันต่อราคาตราสารหนี้ไทยระยะสั้น

ต่างประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเล็กน้อยโดยอายุ 2 ปีและอายุ 10 ปีอยู่ที่ 4.70% และ 3.76% ตามลำดับ หลังผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ออกมาในโทนข้มงวดมากกว่าตลาดคาด ประกอบกับการเร่งออกพันธบัตรสหรัฐฯ ของกระทรวงการคลังหลังผ่าน Debt Ceiling อาจเพิ่มความผันผวนต่อราคาตราสารหนี้ทั่วโลกได้ต่อระยะสั้น

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ปรับตัวลงหลุดแนวโน้มขาขึ้นและเส้นค่าเฉลี่ย EMA 100วัน ระว่างสัปดาห์แต่สามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้อีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้ไม่ได้เสียโมเมนต้มมากนัก อย่างไรก็ตามสภาวะ Risk On ของนักลงทุนอาจกดดันต่อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำระยะสั้น แต่เรายังแนะนำเพื่อกระจายการลงทุนและสะสมในจังหวะย่อตัว

น้ำมัน : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ราคาน้ำมันดิบ W11 ปรับตัวลงหลุดระดับ $70/bbl ในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวกลับมาเหนือ $70/0bl อีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เรายังมีมุมมองต่อแนวโน้มราคา WT1 จะแกว่งตัวในกรอบกว้างและความเสี่ยงขาลงจำกัดหากไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง แนะนำซื้อเก็งกำไรเแกง $65-75/bbl และขายทำกำไรแกว $80-85/bbl

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคากลุ่ม REIT สิงคไปร์ เริ่มฟื้นตัวช่วงกล่างสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังผลการประชุม Fed มีความชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าทิศทางนโยบายการเงินผ่าน Dot Plot จะค่อนข้าง Hawkish ก็ตาม ส่วน REITS ไทย เคลื่อนไหวผสมผสานตามปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย