SCBAM : ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังขึ้นเด่น สวนทางตลาดหุ้นจีนและไทย

SCBAM : MARKET INSIGHT ประจำวันที่ 22-26 พ.ค.66

Highlight ประจำสัปดาห์

๐ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นโดดเด่นอีกครั้ง หนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้น Nvidia ซึ่งราคาทําจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปีหลังจากบริษัทประกาศเปิดตัวกราฟฟิคการ์ดเกมส์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสําหรับผู้ที่มีงบประมาณจํากัดและช่วยหนุน Sentiment บวกต่อกลุ่ม semiconductor ขณะที่ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาผสมผสานแต่ถือว่าโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ยังตึงตัวมากกว่าคาด ช่วยลดความกังวลเศรษฐกิจถดถอย

ส่วนตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวบวกลบผสมกัน หุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นโดดเด่นต่อเนื่องทําจุดสูงสุดใหม่ ขณะที่ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงจากความผิดหวังของนักลงทุนต่อแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อาจช้ากว่าคาดและตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงจากความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงมีอยู่

๐ ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. ออกมาตํ่ากว่าคาด (1.6% vs 4.2%YoY) ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. กลับออกมาดีกว่าคาด (0.5% vs -0.1%YoY) ส่วนตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ออกมาตํ่ากว่าคาด (242k vs 254k) แสดงว่าตลาดแรงงานยังตึงตัว ขณะที่ดัชนีเศรษฐกิจจีนโดยรวมออกมาผิดหวังนักลงทุน ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 18.4% YoY เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (+10.6% YoY) แต่น้อยกว่าคาดการณ์ของตลาด (+21%YoY) ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย +5.6% YoY ตํ่ากว‹าคาด (+10.9% YoY) แต่ดีกว่าเดือนก่อนหน้า (+3.9%YoY) แต่อัตราการว่างงาน เท่ากับ 5.2% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่5.3%

หุ้นกลุ่่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้น จากความคาดหวังการเจรจาเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯ ว่าจะได้ข้อยุติเร็วๆ นี้รวมทั้ง ดัชนีภาคแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ช่วยคลายกังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในช่วงนี้ ทั้งนี้กรรมการ Fed หลายท่านออกมาให้ความเห็นว่าอาจไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยลงในปีนี้เป็นความเสี่ยงที่ตลาดจะผิดหวัง และอาจมีแรงขายทํากําไรเข้ามา

ยุโรป
รายงานเงินเฟ้อ CPI เดือนเม.ย. ออกมาตามคาดที่ 7%YoY แต่สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 6.9%YoY บ่งชี้ระดับเงินเฟ้อที่ยังสูง ส่งผลให้ ECB จําเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง รวมทั้งตัวเลข economic surprise ที่เริ่มติดลบ สะท้อนการรายงานดัชนีเศรษฐกิจของยุโรปที่มีแนวโน้มตํ่ากว่าตลาดคาด อาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในระยะถัดไป

ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากรายงาน GDP 1Q66 รอบแรก ขยายตัว 1.6%YoY ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส รวมทั้งดุลการค้าที่ขาดดุลลดลง ตามมูลค่าส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น เป็นปัจจัยหนุนให้ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวขึ้นทําจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 33 ปี ทั้งนี้ ระมัดระวังดัชนีอาจมีความเสี่ยงปรับฐานระยะสั้น หลังจากดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างแรงและเร็ว

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย
GDP 1Q66 ขยายตัว 2.7%YoY สูงกว่าตลาดคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจของไทยที่ยังเติบโตได้ดี แต่่ในระยะสั้น SET Index ยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลด้านการเมืองในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล และนโยบายของพรรคแกนนําที่อาจกระทบหุ้นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ หาก SET Index หลุดแนวรับ 1,500 จุด แนวโน้มเชิงเทคนิคจะเป็นลบมากขึ้น

จีน
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงต่อหลังดัชนีเศรษฐกิจยังออกมาสร้างความผิดหวังต่อนักลงทุน ประกอบกับรายงานบริษัทจดทะเบียนอย่าง Alibaba ที่ออกมาส่งสัญญาณว่าการบริโภคภายในประเทศอาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนถูกเทขายลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เรายังคงเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า แนะนําทยอยสะสม

อินเดีย
ตลาดหุ้นอินเดีย เริ่มปรับตัวลงบ้างในสัปดาห์ก่อน หลังจากปรับตัวขึ้นได้ดีตั้งแต่เดือน เม.ย. เราคงมุมมองเป็นกลาง แม้ระดับมูลค่า (Valuation) ของตลาดหุ้นอินเดียค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตัวเองและภูมิภาค แต่ตลาดหุ้นอินเดียยังมีปัจจัยขับเคลื่อนจากแนวโน้มกําไรบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่ง

เกาหลีใต้
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้กลับมาปรับตัวขึ้นโดดเด่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตาม sentiment บวกจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่ม Semiconductor สหรัฐฯ ทั้งนี้เรายังระมัดระวังต่อหุ้นกลุ่ม Semi ระยะสั้นที่ปรับตัวขึ้นมาได้ค่อนข้างแรง แต่ต้องเฝ้าติดตามว่า Earnings และ Inventory จะถึงจุดตํ่าสุดในไตรมาสสองหรือไม่ แนะนํารอปรับตัวย่อลงจึงทยอยสะสมลงทุน

เวียดนาม
ภาครัฐทยอยออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลัง ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า แต่การรายงานงบของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่ยังดูชะลอตัวและตํ่ากว่าคาด จํากัดการฟื้นตัวในระยะสั้น เราแนะนําทยอยสะสมเมื่อตลาดหุ้นย่อตัว

ตราสารหนี้

ในประเทศ
สําหรับการประชุม กนง. (31 พ.ค.) มีโอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps สู่ระดับ 2% เพื่อให้สอดคล้องกับระดับดอกเบี้ยเฉลี่ยระยะยาวและให้สอดรับกับการเติบโตของเศรษฐกิจเราคงมุมมองเดิมว่า การถือตราสารหนี้ในประเทศจะช่วยกระจายความเสี่ยงและเสริมสภาพคล่องของพอร์ต

ต่างประเทศ
Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวเร่งขึ้นทั้งอายุ 2 ปีและอายุ 10 ปี อยู่ที่ 4.28% และ 3.69% ตามลําดับ หลังจากคณะกรรมการ Fed ต่างออกมาแสดงความเห็นในเชิง Hawkish โดยไม่คิดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยลงในปีนี้ ทั้งนี้เรามองเป็นโอกาสทยอยสะสม เพื่อลงทุนระยะยาวจากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่อยู่ระดับสูงและราคาตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงขาลงจํากัด

สินทรัพย์ทางเลือก

ทองคํา
ราคาทองคําปรับตัวลงแรงหลุด US$2,000/Oz จาก Dollar Index ที่แข็งค่าขึ้นและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมายังแข็งแกร่‹งช่‹วยลดความกังวลเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้คณะกรรมการ Fed หลายท่านส‹งสัญญาณว‹า Fed น่‹าจะไม่‹ลดดอกเบี้ยภายในปี‚นี้ ทําให้Œแรงหนุนต่‹อราคาทองคํา อ่‹อนลง เพราะทองคํามักปรับตัวขึ้นเด่‹นหลัง Fed เริ่มลดดอกเบี้ย

นํ้ามัน
ราคานํ้ามัน WTI ยังแกว่งตัวผันผวนบริเวณ US$70/bbl จากดัชนี Dollar Index แข็งค่าขึ้นกดดันการฟื้นตัว ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนบ่งชี้แนวโน้มอาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด สร้างความกังวลอุปสงค์ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เรามองระดับราคาแถว $65-70/bbl เป็นโอกาสเข้าซื้อเก็งกําไรเพื่อคาดหวังการฟื้นตัวกลับ

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน
เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ REITs สิงคโปร์ มากขึ้นหลัง Fed เริ่มส่งสัญญาณอาจขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย ซึ่งมักจะเป็นปัจจัยหนุนต่อราคากลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ผลประกอบการที่ออกมาโดยรวมยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ขณะที่ฝั่ง REITs ไทยอาจต้องพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมจากการฟื้นตัวอาจไม่เท่ากันและนักลงทุนยังไม่ได้Œหันกลับมาลงทุนมากนัก