หยวนต้า ชี้เป้า “ตงฮั้ว” 4.90 บาท …AMC เรือธงสร้างกำไรนิวไฮ

HoonSmart.com>>บล.หยวนต้า เคาะเป้าหมายหุ้น “ตงฮั้ว” ปีนี้ 4.90 บาท บริหารหนี้เรือธง หนุนกำไรสร้างสถิติสูงสุดต่อเนื่อง

บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า ออกบทวิเคราะห์ 10 มี.ค. 2565  ประเมินมูลค่าเบื้องต้นของ หุ้น “ตงฮั้ว โฮลดิ้ง” หรือ TH ในปี 2565 อิงค่าเฉลี่ย PER ของกลุ่ม (JMT, CHAYO และ BAM) ในช่วง 2 ปีย้อนหลัง – 1 S.D. ที่ 29.1x ได้มูลค่าพื้นฐานปี 2565 ที่ 4.90 บาท ราคาปัจจุบันมี Upside ราว 57.1%

 AMC เป็นเรือธง สู่เป้าหมายกำไร All Time High ต่อเนื่อง

► ปี 2564 บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจบริหารจัดการหนี้เสีย (AMC) โดยมีพันธมิตรทำธุรกิจ AMC ร่วมจัดตั้งบริษัท Tong Hua Asset Management: THAM (TH ถือหุ้น 100%)  โดย 4Q64 เริ่มรับรู้รายได้และกำไรจากธุรกิจ AMC เป็นไตรมาสแรก ช่วยให้ TH มีกำไรสุทธิ 4Q/64 ราว 44 ล้านบาท โตเด่น 120.7% QoQ และ 405.2%YoY หนุนทั้งปี 2564 มีกำไรสุทธิ 96 ล้านบาท โต 268.5%YoY ซึ่งเป็น All Time High ของบริษัท

► จุดเด่นที่สำคัญ คือ  1) TH เป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้ และมีเงินทุนที่ถูกเก็บไว้ในกองทุนตลาดเงินและหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ  จึงมีศักยภาพการทำกำไรสูงกว่า

2) บริษัทเริ่มต้นธุรกิจ บริหารจัดการ NPL ที่ไม่มีหลักประกัน  ทำให้โอนสิทธิในลูกหนี้ได้เร็ว (ใช้เวลำเพียง 1 เดือน) ตกลงกับลูกหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้ง่าย

และ 3)  บริษัทมีทีมผู้บริหารและพนักงานที่มีประสบการณ์ในธุรกิจอยู่แล้ว  มีแผนประมูลหนี้ใหม่เพิ่มต่อเนื่อง

► เราคาดเห็นพัฒนาการเชิงบวกธุรกิจ AMC มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็น New-S curve ของบริษัท โดยมีประเด็นน่าสนใจ ดังนี้

1) บริษัทตั้งเป้าซื้อหนี้เสียก้อนใหม่อีก 5-6 พันล้านบาท วงเงินลงทุน 5-600 ล้านบาท

2) THAM มีระบบบริหารจัดการเป็นแบบ Asset light ที่เน้นการ Outsource งาน
ติดตามหนี้ให้กับบริษัทรับจ้างติดตามหนี้ โดยปี 2565 เพิ่มการใช้บริการบริษัทติดตามหนี้ จากเดิม 1 แห่ง เป็น 4 แห่ง

คาดกำไรปี 65 โต 67.5%YoY รับรู้รายได้ธุรกิจ AMC เต็มปีครั้งแรก

► ปี 2565 เราคาดจะเห็นการเติบโตที่ชัดเจนขึ้น หนุนจากการเติบโตของ THAM ที่จะรับรู้เข้ามาในงบของ TH เต็มปีเป็นปีแรก อีกทั้งปีนี้จะเป็นปีที่ธนาคารต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดประมูลขายหนี้เสียให้กับ AMC มากขึ้น  มองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ TH จะซื้อหนี้ได้ในระดับ 5-6 พันลบ. ในปีนี้ ทั้งจากการเข้าร่วมประมูลหนี้เสียของ Non-bank เดิม และเริ่มเข้าไปประมูลหนี้ของธนาคาร หลังได้ใบอนุญาตจาก ธปท.

► ภายใต้สมมุติฐานของเรา คาดทั้งปี THAM จะมียอด Claimed Value ของพอร์ต NPL เฉลี่ยที่ 6 พันลบ. (Amortized Cost 5 ปี) คาดจะมีผลจัดเก็บเงินสดที่ปีละ 7.5% ของ Claimed Value และ คาดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการตั้งสำรอง ECL ที่ 40% ของผลจัดเก็บเงินสด คิดเป็น กำไรสุทธิเบื้องต้นของปี 2565 ที่ 161 ลบ. โตต่อ 67.5%YoY (การคำนวณแสดงไว้ในรูปที่ 1) ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโต และราคาหุ้นยังมี Discount จากกลุ่ม

►  มุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตของธุรกิจ AMC ของ TH ที่ขยายตัวได้อีกมาก จากความพร้อมประมูลหนี้ก้อนใหม่ นอกจากนี้ จากนี้ยังมี Upside Risk จากการตั้ง  JVAMC ร่วมกับสถาบันการเงิน ที่คาดมีความชัดเจนปลายปีนี้

►  ประเมินมูลค่าเบื้องต้นของ TH ในปี 2565 อิงค่าเฉลี่ย PER ของกลุ่ม (JMT, CHAYOและ BAM) ในช่วง 2 ปีย้อนหลัง – 1 S.D. ที่ 29.1x ได้มูลค่าพื้นฐานปี 2565 ที่ 4.90 บาท ราคาปัจจุบันมี Upside ราว 57.1%

การวิเคราะห์เทคนิค : แนวรับ 3.08/3.02 บาท แนวต้าน 3.20/3.30 บาท Stop loss 2.96 บาท

ความเสี่ยงสำคัญต่อการดำเนินงาน : การแข่งขันประมูลหนี้เสียที่ไม่มีหลักประกัน อาจรุนแรงขึ้น ทำให้ต้นทุนซื้อหนี้สูงขึ้น  และบริษัทมีความเสี่ยงที่จะตั้งสำรองหนี้ในส่วนของ Expected Credit Loss เพิ่มขึ้น หากสถานะของลูกหนี้ในพอร์ตเสื่อมลง ทำให้กำไรมีโอกาสต่ำกว่าที่ประมาณการ