บล.เอเชีย เวลท์ ร่อนหนังสือชี้แจง ยันไม่ได้ทำ Naked Short เชื่อคณะอนุกรรมการวินัย ที่ตัดสินไม่เป็นกลาง เป็นคู่แข่งธุรกิจ ร้องตลาดกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติเท่าเทียมกัน
บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ ( AWS ) ชี้แจงกรณีตลาดหลักทรัพย์ ลงโทษทางวินัยกับบริษัท เป็นเงิน 5.85 ล้านบาท กรณี ปฏิบัติหน้าที่ไม่รัดกุม กรณีลูกค้าต่างประเทศประเภทสถาบันขายหุ้นโดยที่ไม่มีใบหุ้นอยู่ในครอบครอง ( การทำ Naked Short ) นั้น
1.บริษัทยืนยัน ไม่ได้ดำเนินการทำ Naked Short แต่อย่างใด โดยบริษัทมีแนวทางปฏิบัติ ในการรับคำสั่งซ้อขาย ชำระราคาและส่งมอบหุ้นของลูกค้าดังกล่าวตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโดยทั่วไปของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ให้บริการแก่ลูกค้าสถาบันต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติสืบต่อมาในอุตสาหกรรมหลายสิบปี
กรณีนี้ ลูกค้ารายดังกล่าว เป็นลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวมีวิธีการในการส่งคาสั่งซื้อขาย ส่งมอบหุ้นและชาระราคาในวิธีการเดียวกันกับที่บริษัทฯ ปฏิบัติ แต่ ณ ปัจจุบัน มีเพียงบริษัท ฯ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ที่ได้รับการพิจารณาว่า มีความผิดในการปฏิบัติงานดังกล่าวและโดนเปรียบเทียบปรับ
2.ตามประกาศของคณะกรรมการกากับตลาดทุน ที่ ทธ.47/2552 ในเรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองได้ ซึ่งตามข้อ 3 (2) ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า “การขายหลักทรัพย์ตามคาสั่งของลูกค้า โดยลูกค้ายังมิได้ส่งมอบการครอบครองหลักทรัพย์นั้นให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ในขณะที่ลูกค้ามีคำสั่งขาย แต่บริษัทหลักทรัพย์มั่นใจว่า ลูกค้ามีหลักทรัพย์ของตนเอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหลักทรัพย์นั้น จะอยู่ในความครอบครองของลูกค้า หรือฝากไว้กับบริษัทหลักทรัพย์อื่นหรือฝากไว้กับผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์”
จากประกาศดังกล่าว จึงสามารถดำเนินการขายหลักทรัพย์ โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครองได้ บริษัทฯ ขอยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับบริษัทหลักทรัพย์อื่นๆ และลูกค้าในกรณีดังกล่าว ได้ให้ความมั่นใจกับบริษัทฯ ว่า ลูกค้ามีหุ้นในครอบครองก่อนสั่งขาย ตลอดจนสามารถส่งมอบหลักทรัพย์ ให้แก่บริษัทฯได้ตามระยะเวลาที่กำหนดเสมอมา
3. คณะอนุกรรมการวินัยและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่พิจารณากล่าวโทษและลงโทษบริษัทฯ นั้น บริษัทฯ เห็นว่า กรรมการบางท่านอาจเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ จนบริษัทฯไม่มั่นใจ ว่าจะสามารถพิจารณาการลงโทษทางการปกครองกับบริษัทได้อย่างเป็นกลาง โดยบริษัทฯไม่สามารถที่จะร้องขอความเป็นธรรมจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องนี้ได้ ซึ่งบริษัทฯ จึ งเห็นว่า การ ดำเนินการดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างเพียงพอในการพิจารณาต่อการกล่าวโทษ และพิจารณาโทษ
4. การคำนวณค่าปรับ 5.85 ล้านบาท ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ คำนวณปรับบริษัท โดยรวมค่าธรรมเนียม ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าไปกับค่าปรับนั้น เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาว่าบริษัทฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 17(1) ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับสมาชิก พ.ศ.2544 และข้อ 39(1) ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การซื้อขาย การชำระราคา และการส่งมอบหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 แสดงให้เห็นถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแนวทางในการรับค่าธรรมเนียมและมีรายได้ จากการกระทำที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาว่าผิดกฏหมาย อย่างไรก็ ตามบริษัท ฯ ก็ได้เคารพในคำตัดสินและ ชำระค่าปรับ แล้ว
5. บริษัทฯ ไม่มีการใช้โปรแกรมเทรด ที่สามารถส่งคำสั่งขายได้ก่อน โดยไม่มีหุ้นฝากไว้กับบริษัทฯ การส่งคำสั่งของลูกค้าทุกรายของบริษัทฯ ผ่านโปรแกรม ต้องมีหุ้นฝากกับบริษัทฯ ก่อนเท่านั้น จึงจะส่งคำสั่งขายได้ ทั้งที่มีบริษัทหลักทรัพย์หลายราย ที่ได้รับการอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ลูกค้า ส่งคำสั่งขายผ่านโปรแกรมเทรดได้ โดยไม่ต้องมีหุ้นฝากไว้ที่บริษัทฯ ของตนเองก่อน
“ขอยืนยัน ว่า บริษัทฯ ดำเนินการทุกอย่างต่อกรณีนี้ ตามมาตราฐานการปฏิบัติงานในการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ จากลูกค้าต่างประเทศประเภทสถาบันเดียวกันกับทุกบริษัทหลักทรัพย์ จึงเรียกร้องขอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ กาหนดแนวทางการปฏิบัติงานต่อลูกค้าต่างประเทศประเภทสถาบันที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานจริง เพื่อใช้เท่าเทียมกันในทุกบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนในการปฏิบัติงาน ในการให้บริการแก่ลูกค้าประเภทดังกล่าว จนส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เช่นที่กำลังเป็นอยู่” บล.เอเชีย เวลท์ ย้ำ