TTB กำไร 2,358 ลบ. Q3/64 โต 45.7% เน้นคุณภาพสินเชื่อ

HoonSmart.com>> “ธนาคารทหารไทยธนชาต” เปิดกำไรไตรมาส 3/64 จำนวน 2,358 ล้านบาท เติบโต 45.7% จากงวดปีก่อน บริหารต้นทุนได้ดี หนุน 9 เดือนกำไรสุทธิ 7,675 ล้านบาท ลดลง 13.5% จากงวดปีก่อน ด้านสินเชื่อลด 2.4% จากสิ้นปีก่อน เน้นพอร์ตสินเชื่อคุณภาพช่วงเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน

ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2564 กำไรสุทธิ 2,358.65 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.0245 บาท เติบโต 45.7% จากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 1,618.90 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.0168 บาท และลดลง 6.9% จากไตรมาส 2/2564

งวด 9 เดือน ปี 2564 กำไรสุทธิ 7,674.71 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.0796 บาท ลดลง 13.5% จากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 8,877.30 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.0921 บาท

ธนาคารยังคงดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์ในการดำเนินธุรกิจที่เปราะบาง โดยให้ความสำคัญในภารกิจการรวมกิจการให้เสร็จสมบูรณ์ตามแผน ธนาคารเติบโตสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวังแลดำเนินการปรับโครงสร้างเงินฝากอย่างเหมาะสมเพื่อคงกลยุทธ์การเติบโตอย่างมีคุณภาพและสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตในอนาคตจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความท้าทาย การเติบโตของรายได้หลักได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อซะลอตัวและสินเชื่อลดลง

ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้นจากความมีวินัยด้านค่าใช้จ่ายและการเร่งรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุนธนาคารยังคงความรอบคอบในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วยการตั้งสำรองฯ ในระดับสูงสำหรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น การรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์จะช่วยให้ธนาคารเริ่มการส่งมอบในการรับรู้ประโยชน์ด้านรายได้ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้แก่ลูกค้า โดยไตรมาส 3/2564 มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง 0.7% จากไตรมาสก่อนหน้าและ 23.3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 3,259 ล้านบาท เป็นผลจากการบริหารต้นทุนทางการเงินที่ดีและปริมาณเงินฝากลดลง

ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 3/2564 จำนวน 12,577 ล้านบาท ลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 4.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้ดอกเบี้ยลดลง 1.4% จากไตรมาสก่อนหน้าและ 9.4% จากงวดเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 15,836 ล้านบาท การลดลงส่วนใหญ่เป็น ผลมาจากสินเชื่อชะลอตัวและอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อลดลง เนื่องจากธนาคารยังคงดำเนินการปรับโครงสร้างสินเชื่อให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่องและเน้นพอร์ตที่มีคุณภาพ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (NIM) อยู่ที่ 2.95% ในไตรมาส 3/2564 ลดลงเล็กน้อย 0.03% จาก 2.98% ในไตรมาส 2/2564 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.03% จาก 2.92% ในไตรมาส 3/2563 การลดลงจากไตรมาสก่อนหน้ามีปัจจัยหลักมาจากอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อลดลงและส่วนหนึ่งมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) สำหรับพอร์ตสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

ขณะที่ NIM ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี ก่อนมีสาเหตุหลักมาจากกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้างต้นทุนทางการเงินอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี หากไม่รวมผลกระทบการปันส่วนราคาซื้อหลังจากการรวมกิจการของธนาคารธนชาต (PPA) NIM อยู่ที่ 3.04% ในไตรมาส 3/2564 สำหรับรอบ 9 เดือนปี 2564 NIM ทรงตัวจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 2.98% ส่วนใหญ่มาจากการปรับโครงสร้างงบดุลให้มีความเหมาะสมและการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดผลกระทบจากอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อลดลงท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยขาลง

สำหรับไตรมาส 3/2564 ธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจำนวน 3,086 ล้านบาทในไตรมาส 3/2564 ซึ่งลดลงเล็กน้อย 1.0% จากไตรมาสก่อนหน้าแต่เพิ่มขึ้น 3.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิมีจำนวน 2,257 ล้านบาท เพิ่มขึน 2.7% จากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 14.2% จากงวดเดียวกันของปีก่อน

การเติบโตจากไตรมาสก่อนหน้าส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้ารายย่อยเริ่มปรับตัวดีขึ้น แม้ว่ามีมาตรการล็อคดาวน์ของภาครัฐจากวิกฤตโควิด-19 รายได้ค่าธรรมเนียมกองทุนรวมมีสัญญาณการฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากปริมาณยอดขายที่เพิ่มขึ ้นของผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่มีรายได้ ค่าธรรมเนียมสูงตามแนวโน้ มตลาดที่ฟื ้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์ค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อปรับตัวลดลง เนื่องจากยอดขอสินเชื่อเช่าซื้อรายใหม่ลดลงจากการชะลอการส่งมอบรถยนต์ในช่วงล็อคดาวน์ ทั้งนี้ ้ ธนาคารคาดว่าพรบ. ติดตามหนี้ที่ประกาศในเดือน ก.ย.2564 จะเป็นแรงกดดัน ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อไป ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้าธุรกิจมีการฟื้นตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า หนุนโดยค่าธรรมเนียมการให้สินเชื่อ

ด้านสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนก.ย.2564 ลดลง 2.4% จากสิ้นปี 2563 อยู่ที่จำนวน 1,359 พันล้านบาท สินเชื่อบรรษัทลูกค้าธุรกิจลดลง 6.4% จากการชำระคืน ขณะที่สินเชื่อเพื่อธุรกิจต่างประเทศขยายตัวปานกลางในช่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากสภาพธุรกิจที่ไม่เอื้ออำนวยและกลยุทธ์การเติบโตอย่างระมัดระวัง ยอดสินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดเล็กรายใหม่ยังคงต่ำกว่าการชำระคืน ส่งผลให้สินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดเล็กไม่รวมผลกระทบจากการจัดกลุ่มลูกค้าใหม่ยังคงหดตัว ส่วนสินเชื่อลูกค้ารายย่อยลดลง 1.8% จากต้นปี จากสินเชื่อเช่าซื้อลดลง 3.5% จากต้นปี เนื่องจากการชำระหนี้คืนสูงกว่ายอดสินเชื่อใหม่ ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ดี สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัวปานกลางที่ 1.5% จากต้นปี ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น จากที่ธนาคารดำเนินการปรับโครงสร้างงบดุลอย่างเหมาะสมและคงกลยุทธ์เติบโตสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ พอร์ตสินเชื่อสินเชื่อของธนาคารได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับไปยังกลุ่มสินเชื่อลูกค้ารายย่อย ปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อลูกค้ารายย่อยคิดเป็น 56% ของสินเชื่อรวม

ในไตรมาส 3/2564 ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจานวน 5,527 ล้านบาท โดยธนาคารยังคงตั้งสำรองในระดับสูง ในขณะที่รักษาระดับเงินกองทุนที่เพียงพอสำหรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคตและบรรเทาผลกระทบจากมาตรการช่วยเหลือสิ้นสุดลง ขณะที่สินเชื่อขั้นที่ 3 อยู่ที่จำนวน 44,411 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ 2.98% ธนาคารยังคงปรับพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่องและตัดหนี้สูญของสินเชื่อด้อยคุณภาพเพื่อลดความเสี่ยงเชิงลบที่อาจจะเกิดขึ้นหลังหักสำรองฯ และภาษี