หยวนต้า เคาะเป้า TH 3.30 บาท ธุรกิจ AMC หนุนกำไรปีนี้ 40-50 ล้านบ.

HoonSmart.com>>หยวนต้า (ประเทศไทย) เคาะเป้า TH ปี 2565 ที่ 3.30 บาท หลังจากรุกธุรกิจ AMC คาดปี 2564 มีกำไรสุทธิ 40-50 ล้านบาท

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ออกบทวิเคราะห์ บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง (TH) วันที่ 31 ส.ค.นี้ ระบุว่า ข้อผิดพลาดในอดีตของ TH ทำให้ปัจจุบันแกร่ง พร้อมสู้ในศึก AMC ที่ผ่านมาเริ่มมีกำไร แต่ยังไม่สามารถขยายธุรกิจได้มากนัก

TH  เป็นหนึ่งในบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นไทยมานาน เริ่มก่อตั้งปี 2503  ผลิตและจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์จีนรายวัน  เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 2537  ผลประกอบการเริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ ตามกระแส Digitalization  ที่เปลี่ยนรูปแบบการเสพย์สื่อจากหนังสือพิมพ์ ไปยังสื่อยุคใหม่บน Digital Platform ส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานปรับตัวลงตามยอดขายหนังสือพิมพ์และเม็ดเงินโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์

บริษัทมีความพยายามเพิ่มทุน เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี 2557 ที่มีแผนร่วมลงทุนกับบริษัท สปริงนิวส์เทเลวิชั่น  แต่ยกเลิกแผนดังกล่าวไป และปรับมา
ลงทุนทำ ธุรกิจ Low-Cost Convenient Store ที่ต่อมา  ผลดำเนินงานแย่กว่าคาด จนยกเลิกธุรกิจดังกล่าว และปรับรูปแบบเป็นการปล่อยพื้นที่ให้กับบริษัท เซ็นทรัลฟ้ดู รีเทล ภายใต้รูปแบรนด์ Tops Daily จำนวน 2 สาขา เป็นแหล่งสร้าง Recurring Income ให้กับบริษัทปีละ 3 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทได้เข้าสู่ธุรกิจสินเชื่อ ทั้งการรับซื้อใบเสนอราคา (สินเชื่อ Factoring) และสินเชื่อขายฝากอาคารและที่ดิน ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ TH พลิกกลับมามีกำไรสุทธิ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา

ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีทิศทางชะลอตัวลง สินเชื่อมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นภาระของกระแสเงินสด หากลูกหนี้ผิดนัดชำระและการเป็นหนี้เสีย (แม้ LTV ต่ำเพียง 50-60% แต่ต้องรอให้เกิดการขายหลักประกัน ถึงจะได้รับเงินทุนคืน) ส่งผลให้ผู้บริหารตัดสินใจลดปริมาณการให้สินเชื่อใหม่ลง

รุกธุรกิจ AMC พร้อมทีมงานมือดีและเงินทุนจำนวนมาก ที่รอสร้างมูลค่าเพิ่ม

ช่วงที่ผ่านมา แม้ TH เป็นบริษัทที่ผลดำเนินงานไม่โดดเด่น แต่กลับมีฐานะการเงินที่แข็งแรงอย่างมาก เป็นผลจากการเพิ่มทุนในอดีต ทำให้ ณ สิ้น 2Q64 ไม่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยเลย แต่มีเงินสด และสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสด สูงราว 900 ล้านบาท (คิดเป็น 34% ของ Market Cap. วันที่ 30/8/64)  เงินทุนดังกล่าวถูกนำ ไปลงทุนหุ้นกู้และกองทุนตลาดเงินที่ให้ผลตอบแทนต่ำ  เพื่อรอโอกาสในการ
ลงทุนครั้งใหม่

ล่าสุด TH กำลังเข้าสู่การลงทุนในธุรกิจบริหารหนี้ ภายใต้ชื่อบริษัท THAMC หลังได้พันธมิตรธุรกิจที่เป็นผู้บริหารและทีมงาน มีประสบการณ์ในธุรกิจที่ต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจ โดยเข้าทำสัญญาซื้อสิทธิเรียกร้องในหนี้ด้อยคุณภาพ ชนิดไม่มีหลักประกัน
จานวน 3,045 ล้านบาท จาก Non-Bank แห่งหนึ่ง และจะมีการชำระราคากันในวันที่ 31 ส.ค. 2564  มองเป็นก้าวแรกที่มีนัยสำคัญ เนื่องจาก

1) ธุรกิจ AMC กาลังเป็นที่นิยม จากปริมาณหนี้เสียของสถาบันการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบกับมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS9 ที่มีผลให้สถาบันการเงินมีรอบในการขายหนี้เสียเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณ Supply หนี้เสียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

2) ทีมผู้บริหารและทีมงานที่มีประสบการณ์บริหารหนี้ เริ่มธุรกิจได้ทันที หลังจากโอนสิทธิหนี้เสียจากเจ้าหนี้เดิม  คาดเริ่มเห็นรายได้และกำไร ตั้งแต่ 4Q64 เป็นต้นไป และจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญตั้งแต่ปี 2565 จากแผนประมูลหนี้อีก 5-6 พันล้านบาท  เน้นประมูลหนี้เสียของลูกหนี้รายย่อยที่ Ticket Size ไม่ใหญ่มาก และมีอายุการผิดนัดชาระหนี้ไม่นาน (ราว 1-2 ปี) แม้จะมีต้นทุนประมูลหนี้แพงขึ้น แต่ก็มีโอกาสได้รับเงินคืนที่สูงขึ้นเช่นกัน

3) การเบนเข็มมาลงทุนในธุรกิจบริหารหนี้  เป็นการ Unlock มูลค่าของเงินทุน จำนวนมากที่ถูกเก็บไว้ในตราสารหนี้และกองทุนตลาดเงิน ที่มีผลตอบแทนต่ำ  และยังมีโอกาสที่จะ Leverage โดยใช้ตราสารหนี้เพิ่มเติม ซึ่งเบื้องต้นมีวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว 2,000 ล้านบาท เพิ่มโอกาสในการเร่งประมูลซื้อหนี้เสียก้อนใหม่ ๆ เข้ามา ได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน

คาดกำไรปี 2565 เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังเริ่มธุรกิจ AMC เต็มปี

2Q64 TH มีกำไรสุทธิ 22 ล้านบาท โตเด่น 445.9% YoY และ 12.0.9% QoQ แต่หลัก ๆ มาจากการบันทึกกำไรขายที่ดิน ที่ยึดหลักประกันของสินเชื่อขายฝาก ขณะที่กำไรจากธุรกิจอื่นค่อนข้างอ่อนแอ เนื่องจาก อยู่ระหว่างปรับลดขนาดธุรกิจสินเชื่อ คาดกำไรจะปรับลงใน 3Q64 ก่อนที่จะเริ่มขยับขึ้นอีกครงั้ ตั้งแต่ 4Q64 เป็นต้นไป หลังเริ่มรับรู้รายได้และกำไรสุทธิจากธุรกิจบริหารหนี้เสียเป็นไตรมาสแรก คาดปี 2564 มีกำไรสุทธิ 40-50 ล้านบาท

ขณะที่ปี 2565 คาดเริ่มเห็นผลของการลงทุนในธุรกิจบริหารหนี้เสียอย่างเต็มที่ คาดกำไร
จากการบริหารหนี้ก้อนแรก ราวปีละ 92 ล้านบาท ภายใต้สมมุติฐานดังนี้คือ 1) ตัดต้นทุนหนี้เป็นเวลา 10 ปี

2) มียอดจัดเก็บเงินสดปีละ 260 ล้านบาท (ต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัทที่ตั้งไว้ 270-300 ล้านบาท) และ

3) มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมค่าใช้จ่ายตั้งสำรอง ECL ราว 50% ของยอดจัดเก็บเงินสดสุทธิ รวมถึงมี Upside Risk หากบริษัทสามารถประมูลหนี้เสียเพิ่มขึ้น ตามแผนซื้อหนี้ก้อนใหม่ มูลหนี้ราว 5-6 พันล้านบาท คาดบริษัทจะมีกำไรสุทธิในปี 2565 จำนวน 95 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามปริมาณหนี้เสียที่ซื้อเติมเข้ามาในบริษัท

เข้าสู่รอบการเติบโตครั้งใหม่ ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Discount จากกลุ่ม AMC

เรามอง TH เป็นหุ้นที่กำลังเข้าสู่รอบการเติบโตครงั้ใหม่ หลังปรับโครงสร้างธุรกิจจากอุตสาหกรรมตะวันตกดิน สู่อุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างธุรกิจ AMC แม้ปัจจุบันเรายังไม่ได้ Cover หุ้น TH แต่ในเชิง Tactical เรามองว่า ปัจจุบัน TH ยังมี Discount จากผู้ประกอบการรายอื่นในธุรกิจ AMC

ประเมินมูลค่าเบื้องต้นของ TH ในปี 2565 อิงค่าเฉลี่ย PER ของกลมุ่ (JMT, CHAYO และ BAM) ในช่วง 1 ปีย้อนหลัง – 1 S.D. ที่ 34x ได้มูลค่าพื้นฐานปี 2565 ที่ 3.30 บาท และยังมี Upside Risk หากบริษัทมีการจัดเก็บหนี้ได้สูงกว่าคาด หรือมีการรับรู้รายได้และกำ ไรจากหนี้ก้อนใหม่ที่จะประมูลเพิ่มเข้ามาในปีนี้ได้มากกว่าคาด

การวิเคราะห์เทคนิค: แนวรับ 2.60/2.44 บาท แนวต้าน 2.94/3.16 บาท Stop loss 2.32 บาท

ความเสี่ยงที่สาคัญต่อการดาเนินงาน: การแข่งขันในการประมูลหนี้เสียที่ไม่มีหลักประกันที่อาจจะรุนแรงขึ้น ทำให้ต้นทุนการซื้อหนี้สูงขึ้นตาม และบริษัทมีความเสี่ยงที่จะตั้งสำรองหนี้ในส่วนของ Expected Credit Loss เพิ่มขึ้น หากสถานะของลูกหนี้ในพอร์ตเสื่อมลง ทาให้กำไรมีโอกาสต่ำกว่าที่เราประมาณการ