“สมนึก” ปฏิวัติ นสพ.ตงฮั้ว เข้าสู่สื่อยุคอนาคต รีแบรนด์ “ตงฮั้ว มีเดีย แล็บ”

HoonSmart.com>>”สมนึก กยาวัฒนกิจ” บิ๊กตงฮั้ว  ยกเครื่องหนังสือพิมพ์ตงฮั้ว เป็น “ตงฮั้ว มีเดีย แล็บ” เข้าสู่ “สื่อยุคอนาคต ” ดึง crypto economic  ป้องกัน​ fake news เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้ง​สำคัญ​

นายสมนึก กยาวัฒนกิจ ประธานกรรมการบริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง (TH) เปิดเผยว่า  บริษัทหนังสือพิมพ์ตงฮั้ว  ซึ่งเป็นบริษัทย่อย  เข้าสู่การปรับตัวครั้งสำคัญ เป็นการปฏิวัตินสพ.ตงฮั้ว เข้าสู่ยุค อนาคต เป็นสื่อแนวคิดใหม่ ของคนรุ่นใหม่  ดึงเทคโนโลยีเข้าเสริม ผ่านแนวคิดคนรุ่นใหม่ ตรวจสอบได้ ดึง crypto economic  ป้องกัน​ fake news เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้ง​สำคัญ​ครั้งนี้ด้วย 

วันที่ 14 ก.ค. 2564 คณะกรรมการบริษัท ฯ อนุมัติเปลี่ยนชื่อบริษัท หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว เป็น บริษัท ตงฮั้ว มีเดีย แล็บ จำกัด ซึ่งการเปลี่ยนชื่อใหม่ครั้งนี้ เป็นการรีแบรนด์ เตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น

นายสมนึก กล่าวว่า  บริษัท หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว จากัด ก่อตั้งขึ้นในปี 1960 ตั้งแต่ยุคที่ อินเตอร์เน็ต (Internet) ยังไม่ถูกคิดค้นหรือเป็นที่รู้จัก และตั้งแต่นั้นมาบริษัทฯ เราได้สั่งสมประสบการณ์มากกว่า 60 ปีในอุตสาหกรรมสื่อ จนนาบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใต้ ชื่อ“บริษัท ตงฮั้ว คอมมูนิเคชั่นส์ จากัด (มหาชน)” และเปลี่ยนเป็นชื่อ บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) นับจนถึงปัจจุบันเกือบ 30 ปี

บริษัท ฯ เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทหนังสือพิมพ์จีน และเติบโตจนกลายเป็นหนังสือพิมพ์จีนชั้นนาของประเทศไทย ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด สืบเนื่องจากการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ เราเป็นหนังสือพิมพ์หลากสีแห่งแรกในประเทศไทยและเป็นบริษัทหนังสือพิมพ์จีนแห่งแรกที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เล็งเห็นการพัฒนาของเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนมากมาย รวมไปถึงความล้มเหลวของธุรกิจที่ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนร่วมและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

วิสัยทัศน์ของ “สมนึก” 

คำว่า Media (สื่อ) หมายถึงอะไร แต่ละบุคคลตีความหมายของสื่อไปในรูปแบบต่าง ๆ บางคนใช้สื่อเพื่ออธิบาย หนังสือพิมพ์ วิทยุ และ โทรทัศน์ สื่อในรูปแบบเหล่านี้เรียกรวม ๆ ได้ว่า การสื่อสารมวลชน (Mass media) บางคนตีความสื่อในรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลเช่น เทป (tapes) ซีดี (CDs) เป็นต้น

แต่ความจริงแล้ว “Media (สื่อ)” เป็นพหูพจน์ของคาว่า “Medium (ตัวกลาง)” ในภาษาละตินหมายถึง ตัวกลางซึ่งหมายถึงตัวเชื่อมต่อระหว่างของสองสิ่ง สาหรับเราสื่อหมายถึงช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในการจัดเก็บและส่งต่อข้อมูลระหว่างผู้คน แต่ในอนาคตอีกไม่ช้าเมื่อแมชชีน (machine) มีความฉลาดในการเรียนรู้มากขึ้น สื่อจะกลายเป็นตัวกลางที่ช่วยในการสื่อสารและโต้ตอบกับแมชชีน

คำว่า Lab (ห้องทดลอง) ได้ถูกนำมารวมในชื่อ เพื่อเน้นย้าถึงแนวทางที่เน้นการวิจัยและพัฒนา เราจะไม่เป็นเพียงบริษัทหนังสือพิมพ์อีกต่อไป แต่เราจะเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิจัยและพัฒนา ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของสื่อในยุคปัจจุบัน ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย

บริษัทฯ เรามุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะทาให้วิสัยทัศน์ของการสร้างสื่อยุคอนาคตของเราให้เกิดขึ้นจริงได้ โดยมุ่งเน้นและให้ความสาคัญกับการวิจัยและพัฒนาสื่อที่มีลักษณะดังต่อไปนี้:

1. Semantic (การมีความหมาย): ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่แล้วคือแมชชีน ดังนั้นสื่อจึงไม่ควรที่จะถูกออกแบบมาเพื่อผู้คนเท่านั้น ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตควรที่จะถูกออกแบบและมีโครงสร้างในลักษณะที่แมชชีนสามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน

2. Decentralized (การกระจายอานาจ): การถูกควบคุมของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ควรที่จะถูกกระจายออก — Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely.

3. Interactive (การโต้ตอบ): สื่อในยุคอนาคตควรใช้ความสามารถของการสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication) ของอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์การสื่อสารให้ครอบคลุม ในหลากหลายประสาทสัมผัสเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ในการเสพสื่อรูปแบบใหม่ ๆ

4. Collaborative (การทำร่วมกัน): อินเตอร์เน็ตช่วยให้เราสามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกับผู้คนได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันการเป็นผู้สร้างเพียงผู้เดียวอาจไม่เพียงพอในการสร้างสื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด การร่วมกันสร้างสามารถพัฒนาและสร้างสรรค์สื่อได้เร็วและมีคุณภาพมากกว่า

5. Customizable (ปรับแต่งได้) : ผู้คนมีความต้องการที่แตกต่างกันอยู่เสมอ สื่อก็ควรที่จะสามารถปรับแต่งตามความต้องการของผู้คนได้เช่นกัน เพื่อตอบสนองความหลากหลายที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

6. Verifiable (ตรวจสอบได้) : สื่อควรที่จะตรวจสอบได้เพื่อช่วยลดการเข้าถึงข้อมูลที่อาจผิดพลาดและช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้เสพสื่อรูปแบบต่าง ๆ
ก้าวต่อไปนับจากนี้บริษัท ฯ พร้อมจะลงทุนและสนับสนุน การดาเนินการ การวิจัยและการพัฒนา เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขและสร้างสรรค์อุตสาหกรรมสื่อที่ดีกว่าให้กับผู้บริโภค เพื่อตอบโจทย์ดังต่อไปนี้

 Decentralized Discovery : การสร้างคอนเทนต์และเสพสื่อโดยไม่ต้องพึ่งพาบริการหรือแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ (Centralized services)

 Decentralized Filtering: การออกแบบวิธีการคัดกรองข้อมูลแบบกระจายอานาจเพื่อต่อสู้กับข่าวปลอมและข้อมูลเท็จผ่าน Cryptoeconomics และ Web of Trust เพื่อสร้างสื่อที่น่าไว้วางใจและเชื่อถือได้

 Verifiable Semantic Linked Data: การออกแบบโครงสร้างการเก็บข้อมูลสื่อที่สามารถตรวจสอบได้และอยู่ในรูปแบบภาษาที่แมชชีนสามารถอ่านได้ผ่าน semantic และ cryptographic technology

 Interactive experience: การออกแบบประสบการณ์เชิงโต้ตอบสาหรับผู้ใช้งานและแมชชีน เพื่อสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และเสพคอนเทนต์

 Innovative monetization models: การสร้างรายได้ในสื่อปัจจุบัน เช่น การแสดงโฆษณาที่สร้างความราคาญ และการนาข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ถือเป็นการล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคล ผู้บริโภคสื่อสมควรได้รับสิ่งที่ดีและยุติธรรมมากกว่านี้!

 Confirmation Bias: การลดการเสพสื่อแบบอคติผ่านตัวชี้วัดที่นาเสนอให้ผู้บริโภคมองสิ่งต่าง ๆ ได้รอบด้านมากยิ่งขึ้น

การรีแบรนด์ครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการส่งสัญญาณเล็กๆของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ มาร่วมกันเตรียมตัวให้พร้อมแล้วร่วมตะโกนาว่า ‘Eureka’ ไปด้วยกัน!