กองทุนครึ่งปีโต 4.80% แตะ 5.28 ล้านลบ. หุ้นทั่วโลกแจกกำไร หนุนมูลค่าทรัพย์สินพุ่ง

HoonSmart.com>> กองทุนรวม 6 เดือนแรกปี 64 มูลค่าแตะ 5.28 ล้านบาท เติบโต 2.41 แสนล้านบาท กว่า 4.80% จากสิ้นปีก่อน แรงหนุนหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัน NAV ด้านกองทุน FIF โต 26% กว่า 2.82 แสนล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินแตะ 1.22 ล้านล้านบาท ด้านกองทุนตราสารหนี้มูลค่าลดลง ส่วนกองทุนประหยัดภาษี RMF-LTF-SSF ยังโต

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) อุตสาหกรรมกองทุนรวมในช่วงครึ่งปีแรกปี 2564 สิ้นสุด 30 มิ.ย.ที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 5,279,723 ล้านบาท เติบโต 241,937 ล้านบาท หรือ 4.80% จากสิ้นปี 2563 มีมูลค่ทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 5,037,786 ล้านบาท โดยหลักๆ เป็นการเติบโตจากกองทุนหุ้น 282,019 ล้านบาท หรือ 19.45% จากสิ้นปีที่ผ่านมาและส่งผลให้ NAV กองทุนที่ลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 1,450,036 ล้านบาท เป็น 1,732,054 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลจากตลาดหุ้นต่างประเทศหลายๆ แห่ง รวมถึงไทยในช่วง 6 เดือนแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นหนุนมูลค่าหุ้นในพอร์ตเติบโต

ขณะที่กองทุนตราสารหนี้ ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิมากสุดในอุตสาหกรรม มูลค่าลดลง 29,580 ล้านบาท หรือ -1.27% จากสิ้นปีที่๋ผ่านมาอยู่ที่ 2,323,881 ล้านบาทเหลือ 2,294,301 ล้านบาท ในครึ่งปี 2564

กองทุนผสมลดลง 16,522 ล้านบาท หรือ -4.29% จาก 384,708 ล้านบาท เหลือ 368,185 ล้านบาท กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานลดลง 7,054 ล้านบาท หรือ -1.75% ลงมาอยูที่ 395,227 ล้านบาท ขณะที่ทรัสต์เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (รีท) เพิ่มขึ้น 6.91% หรือ 13,273 ล้านบาท อยู่ที่ 205,404 ล้านบาท เป็นต้น

สำหรับกองทุนรวมที่ลงทุนต่างประเทศ (FIF) เป็นกลุ่มกองทุนมีการเติบโตสูงสุด 26.38% จากสิ้นปีที่ผ่านมา หรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 254,828 ล้านบาท ส่งผลให้ NAV จาก 965,922 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,220,750 ล้านบาท

ขณะที่กองทุนรวมประหยัดภาษี อย่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มูลค่าทรัพย์สินเติบโต 31,317 ล้านบาท หรือ 9.56% จากสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 327,600 ล้านบาท เพิ่มเป็น 358,916 ล้านบาท กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เติบโต 15,481 ล้านบาท หรือ 4.46% จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 347,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 362,771 ล้านบาท ขณะที่กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เติบโต 5,772 ล้านบาท หรือ 29.62% จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 19,486 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 25,258 ล้านบาท

ด้านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารสูงสุดยังคงเป็นบลจ.กสิกรไทย อยู่ที่ 1,155,736 ล้านบาท เติบโต 44,111 ล้านบาท หรือ 3.97% จากสิ้นปีก่อน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 21.89% อันดับสองบลจ.ไทยพาณิชย์ ส่วนแบ่งตลาด 17.92% มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 946,290 ล้านบาท เติบโต 4,460 ล้านบาท หรือ 0.47% จากสิ้นปีก่อน

อันดับสาม บลจ.บัวหลวง มูลค่า 761,299 ล้านบาท เติบโต 8,595 ล้านบาท หรือ 1.14% จากสิ้นปีก่อน ส่วนแบ่งตลาด 14.42% อันดับสี่ บลจ.กรุงไทย มูลค่า 681,987 ล้านบาท เติบโต 57,976 ล้านบาท หรือ 9.29% ส่วนแบ่งตลาด 12.92% และอันดับห้า บลจ.กรุงศรี ส่วนแบ่งตลาด 7.57% มูลค่าทรัพย์สิทธิสุทธิ 399,468 ล้านบาท เติบโต 13,204 ล้านบาท หรือ 3.42%

ขณะที่บลจ.วรรณเป็นบลจ.ที่มีการเติบโตค่อนข้างโดดเด่นในช่วงครึ่งปีแรก มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 43.31% หรือ 26,411 ล้านบาท จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 60,983 ล้านบาท เพิ่มเป็น 87,394 ล้านบาท บลจ.ฟิลลิป เติบโต 41.60% หรือ 1,121 ล้านบาท จากสิ้นปีก่อน 2,696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3,817 ล้านบาท บลจ.ทิสโก้ เติบโต 34.60% หรือ 18,395 ล้านบาท จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 53,161 ล้านบาท เป็น 71,555 ล้านบาท

 
 
อ่านข่าว

ครึ่งปีเงินไหลเข้ากองทุน 9.3 หมื่นลบ. แห่ลงทุนกองหุ้นจีนสูงสุด 7 หมื่นลบ.