HoonSmart.com>>CPF เดินหน้าสู่เป้าหมาย“ครั วของโลก” เน้นกระบวนการผลิตอาหาร ใส่ ใจสมดุลธรรมชาติ เพิ่มสัดส่วนใช้พลังงานทดแทน การจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติก สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่ งยืนขององค์การสหประชาชาติ
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสั
“ในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ของทุกปี ซีพีเอฟ ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้ นนำระดับโลก เราให้ความสำคัญกับอาหารทุกคำที่ บริโภคต้องปลอดภัย มาจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิ ตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเราตระหนักดีว่าสมดุลของชี วิตมาจากสมดุลของธรรมชาติ ที่ทุ กคนต้องออกมาช่วยปกป้องและรั กษาให้เหมือนกับที่ทุกคนดูแล ตั วเองในทุกๆวัน ” นายวุฒิชัย กล่าว
ซีพีเอฟ ใช้ทรัพยากรน้ำตลอดกระบวนการผลิ ต บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจหมุ นเวียน อาทิ ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งบางสระเก้ า และฟาร์มร้อยเพชร นำระบบไบโอฟลอค(Bio-Floc) ซึ่ งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ สามารถบำบัดสารละลายไนโตรเจน ที่ เกิดจากของเสียที่ขับถ่ายจากกุ้ ง ลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำในระหว่ างการเลี้ยง ทำให้การใช้น้ำลด 70 % เทียบกับการเลี้ยงกุ้งโดยทั่วไป และนำเทคโนโลยี Ultra Filtration (UF) กรองน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว หมุนเวียนกลับมาใช้เลี้ยงกุ้ งมากกว่า 90 % เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการลดปริ มาณขยะพลาสติก โดยในปี 2563 นำพลาสติกบรรจุอาหารกลั บมาใช้ซ้ำ (reusable) หรือ นำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) แล้ว 100%
ปัจุบันสัดส่วนการใช้พลั งงานหมุนเวียนอยู่ที่ 26 % ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการพลังงานจากชีวมวล ซึ่งโรงงานอาหารสัตว์บกและสัตว์ น้ำนำวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เศษไม้ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิ นในหม้อไอน้ำ โดยตั้งเป้ายกเลิกการใช้ถ่านหิ นภายในปี 2565
โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โดยโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานอาหารแปรรูป โรงงานอาหารสำเร็จรูป และศูนย์กระจายสินค้า รวม 24 แห่ง ติดตั้งแผง Solar PV บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ ภายในกระบวนการผลิต โดยมีกำลังการผลิตทั้งหมด 15 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะดำเนินการผลิตไฟฟ้ าได้เต็มประสิทธิภาพภายในปี 2563 ลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกได้ 425,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี
ด้านสังคม โครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ” อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ในพื้นที่เขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 5,971 ไร่ (ปี 2559-2563) ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนจากการอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่าไม้ 39,690 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี