โดย..ณัฏฐะ มหัทธนา, CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
U.S. Drillers Say Peak Shale Has Arrived บทความบนเว็บไซต์ The Wall Street Journal (17 พ.ค.) นำเสนอข้อมูลและมุมมองที่บ่งชี้ว่า ปริมาณผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐน่าจะลดลงในปี 2026
ราคาน้ำมันดิบตกต่ำมานาน จนผู้ผลิตรายใหญ่ๆหั่นงบลงทุนและลดจำนวนแท่นขุดเจาะ
S&P Global Commodity Insights คาดการณ์ว่า สหรัฐจะผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในปี 2025 ได้อานิสงส์ส่วนหนึ่งจากการขยายตัวของการขุดเจาะนอกชายฝั่ง ก่อนที่ production จะเริ่มลดลง 1% ในปีหน้าเหลือ 13.33 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะเป็นการหดตัว YoY ครั้งแรกในรอบทศวรรษ (ไม่นับช่วงวิกฤตโควิด)
ทรัมป์เคยสัญญาว่าจะเพิ่มปริมาณผลิตน้ำมันในสหรัฐ โดยผ่อนคลายกฎระเบียบและสนับสนุนการสร้างท่อส่งใหม่ แต่ปริมาณผลิตฯเติบโตช้าลงมาได้สักพักใหญ่แล้ว (ตั้งแต่ก่อนทรัมป์เข้าทำเนียบขาว) และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงในช่วงปลายทศวรรษ
กำแพงภาษีป่วนเศรษฐกิจโลก และ OPEC+ ปรับเพิ่มโควตาผลิต เป็นปัจจัยเร่งกระบวนการ Peak Shale (ปริมาณผลิตน้ำมันดิบ shale oil ถึงจุดสูงสุดแล้วเริ่มปรับตัวลง) สังเกตเห็นได้ชัดที่ Permian Basin แหล่งผลิตใหญ่สุดของสหรัฐ
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงมากกว่า -10% ตั้งแต่ทรัมป์ประกาศตัวเลขภาษี หากปรับด้วยเงินเฟ้อแล้วราคาปัจจุบันเทียบเท่ากับประมาณ $45 ต่อบาร์เรล ในปี 2015 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของปีดังกล่าวซึ่งกดดันอุตสาหกรรมน้ำมันอย่างรุนแรง
ราคาน้ำมันดิบควรอยู่แถว $85 ถึงจะกระตุ้นการลงทุนขุดเจาะใหม่อย่างจริงจัง ตามความเห็นของ Paul McKinney ซีอีโอ Ring Energy ผู้ผลิตรายหนึ่งใน Permian Basin
งบดุลของบริษัทอาจแข็งแกร่งกว่าขาลงรอบก่อน (ตามคำกล่าวอ้างของบรรดาผู้ผลิต) แต่ผู้ถือหุ้นมักเรียกร้องให้จ่ายปันผลและซื้อหุ้นคืน “แย่งเงิน” ที่จะไปลงทุนขยายแหล่งผลิต shale oil ซึ่งโดยธรรมชาติ ปริมาณน้ำมันที่ขุดได้จากหลุมเดิมๆ มักร่อยหรอลงอย่างรวดเร็ว
15 ปีที่ผ่านมา US shale producers ผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นราว 8 ล้านบาร์เรลต่อวัน มีส่วนสำคัญที่ช่วยลดภาระนำเข้าและทำให้ราคาเชื้อเพลิงถูกลง แต่ผลผลิตดังกล่าวเติบโตช้าลงโดยช่วง 12 เดือนล่าสุด production growth ที่ Permian ขยายตัวเพียง 2 แสนบาร์เรล/วัน เทียบกับค่าเฉลี่ยการเติบโตปีละ 630,000 บาร์เรล/วัน นับตั้งแต่เริ่มบูมในปี 2017 ส่วนอีก 2 แหล่งใหญ่ลำดับถัดมา ได้แก่ Bakken และ Eagle Ford ปริมาณผลิตยังไม่เคยฟื้นถึงระดับก่อนโควิดเลย และค่อนข้างทรงตัวมาหลายปีแล้ว
บางบริษัทอ้างว่าผลิตได้ตามเป้าแม้ลงทุนน้อยลง เนื่องจากเทคโนโลยีและประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุน เช่น ConocoPhillips และ Occidental Petroleum
ธุรกรรมซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) ตลอดจนออกไปพัฒนาโครงการขุดหาพลังงานในต่างประเทศ น่าจะเป็นทางออกในการขยายธุรกิจของบรรดาผู้ผลิตสหรัฐ
ความเห็นของเรา
หากสหรัฐผลิตเพิ่มยาก OPEC+ จะกลับมาควบคุมตลาด ช่วยสร้างเสถียรภาพราคาน้ำมัน
KT-ENERGY น่าซื้อลงทุนระยะยาว KT-OIL น่าเก็งกำไรระยะสั้น-กลาง ราคาน้ำมันดิบ ณ ปัจจุบันใกล้ $60 ต่อบาร์เรล “ต่ำเกินไป” บนสมมุติฐาน เศรษฐกิจหลักๆของโลกไม่น่าถดถอยอย่างรุนแรง
เชิญชมคลิป: ทรัมป์เดินเกม ลากราคาพลังงาน แตะ 85 เหรียญ – Money Chat Thailand
https://youtu.be/ZCX2zrcgAUQ
*** อัพเดตความเห็นล่าสุดของเราได้ทุกเช้าที่รายการ Fund Today by KTAM ***
ไอเดียกองทุนรวมมีให้ทุกวัน ผู้สนใจเชิญรับชม Fund Today by KTAM ทุกเช้าวันทำการเริ่มเวลา 8:55 น. สามารถพิมพ์คำถามทางไลฟ์ Facebook: KTAM Smart Trade, Youtube: KTAM TV ONLINE หรือรับฟังและร่วมพูดคุยใน Clubhouse: KTAM Smart Trade สดพร้อมกันสามช่องทาง นอกจากนี้ดูคลิปย้อนหลังได้ทั้ง Youtube และ Facebook รวมถึงคลิปสั้นทาง TikTok และ Instagram
#คุยทุกวันฟันทุกเช้า #ฟันทูเดย์855
คำเตือน:
1. ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน คู่มือการลงทุน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
2. ทุกความคิดเห็นเป็นมุมมองส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับ house view ของ บลจ. ธนาคาร หรือองค์กรใดๆทั้งสิ้น
3. พอร์ต Belief Allocation, Today Strategy และ Fund To-Do สอดคล้องกับมุมมองส่วนตัวตามสไตล์ "สุดโต่ง-ไร้ขีดจำกัด" จึงมีความเสี่ยงสูงและแตกต่างจาก asset allocation ทั่วๆไปเป็นอย่างมาก
4. ผู้ที่ต้องการทำ asset allocation ในรูปแบบปกติ ควรพิจารณากองทุน Krungthai World Class Series หรือกองทุน มั่ง | มี | ศรี | สุข