HoonSmart.com>>ธนาคารเกียรตินาคินภัทร มองผลกระทบแผ่นดินไหวต่อเศรษฐกิจไทย และตลาดทุน มีจำกัด แต่การสงครามการค้าเพิ่งเริ่มต้น ไทยเจอหนัก 36% กระทบหนัก การตอบโต้ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี แนะทางออกเจรจาสหรัฐปรับสมดุล ลดภาษีศุลกากร เพิ่มการนำเข้า ลดอุปสรรคการลงทุน สกัดสินค้าผ่านไทยไปสหรัฐ
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) ระบุในหัวข้อ “แผ่นดินไหว บวกกำแพงภาษี 36% ประเทศไทยจะสะเทือนแค่ไหน และไปต่ออย่างไรดี” ว่า แผ่นดินไหว สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจจำกัด มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นต่ำ เห็นได้จากบทเรียนจากแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2558 โดยฃแผ่นดินไหวจะมีผลกระทบทางลบในระยะสั้นในภาคการท่องเที่ยว ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รายได้และค่าใช้จ่าย Balance sheet ของครัวเรือน
ด้านภาคเศรษฐกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบทางลบ ประกอบด้วย อสังหาริมทรัพย์ (โดยเฉพาะผู้ประกอบการคอนโด) ธนาคาร ประกันภัย และท่องเที่ยว
ด้าน ภาคเศรษฐกิจที่มีอุปสงค์มากขึ้น ได้แก่ ภาคค้าปลีก home improvement พลังงาน ในกลุ่ม โรงกลั่น/ค้าปลีกน้ำมัน และวัสดุก่อสร้าง
ขณะที่ การขึ้นภาษีนำเข้า โดยไทยถูกเก็บ 36%->37% เป็น “The Liberation Day” หรือจุดเริ่มต้นของสงครามการค้า? ทั้งนี้สหรัฐฯมีการตอบโต้ในลักษณะ “Kind reciprocal” เพื่อจูงใจให้เกิดการผลิตสินค้าในสหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าตอบแทน ลดมาตรการกีดกันการค้า อย่าแทรกแซงค่าเงิน ให้มีการซื้อสินค้าสหรัฐฯ
ความเสี่ยงและผลกระทบ คาดว่าจะเกิดการตอบโต้จากประเทศที่ได้รับผลกระทบ ราคาสินค้าในสหรัฐฯ แพงขึ้น การค้าโลกมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น
ทำไม Trump ต้องขึ้นอัตราภาษีนำเข้า? เพราะเป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาล (100–400 พันล้านดอลลาร์) ส่งเสริมการลงทุนในภาคการผลิตภายในประเทศ ปรับสมดุลการค้า เป็นเครื่องมือในการทำสงครามการค้ากับจีน และใช้ต่อรองและแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
3 ทางเลือกของประเทศไทย
1.สู้ (retaliate)… อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี
2. หมอบ (negotiate) (ใช้กลุ่มอาเซียนเพิ่มอำนาจในการต่อรอง) ด้วยการลดภาษีศุลกากร ในกลุ่มเนื้อสัตว์ อาหาร เกษตรกรรม และเปิดตลาดที่อาจมีความอ่อนไหว ภาคเกษตรกรรม กลุ่มเนื้อหมู ไก่ อาหารสัตว์ ภาค บริการ กลุ่ม audiovisual services,broadcasting, telecom ภาคบริการทางการเงิน (รวมถึงการชำระเงิน ประกันภัย และ virtual banking license)
ลดอุปสรรคด้านการลงทุน ในด้านกฎหมายให้ธุรกิจคนต่างด้าวเข้ามาทำธุรกิจ ทำการซื้อสินค้าหรือนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกันมากขึ้น ประกอบด้วย พลังงาน (น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาตเหลว), ถั่วเหลือง, ข้าวโพด เครื่องบิน เครื่องจักร อาวุธ ซึ่งการนำเข้าจะทำให้เกิดการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรม
ปราบปรามการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ (Rerouting)
ทำตามที่สหรัฐฯร้องขอ ในด้านการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงาน การลงทุนในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และ ข้อเสนอทางการเมืองและภูมิรัฐศาสตร์
3. ทน (tolerate, stimulate)
ที่ผ่านมา ไทยมีการกีดกันสินค้าสหรัฐที่สูง ในกลุ่มเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และอาหาร รวมถึงยานยนต์
นโยบายการค้าและการลงทุนของไทยกับสหรัฐ
การนำเข้า อัตราภาษีเฉลี่ย: 9.8% (สินค้าเกษตร 27%, อื่น ๆ 7.1%) สินค้านำเข้าหลายรายการต้องมีใบอนุญาต มีการจำกัดการนำเข้า Biofuel เพื่อหนุนรายได้เกษตรกร ค่าธรรมเนียมนำเข้าเนื้อสัตว์อาจเพิ่มขึ้นได้ตามดุลยพินิจ
อุปสรรคด้านเทคนิค/SPS จำกัดการนำเข้าเนื้อ/ผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ใช้สารเร่งเนื้อแดง Ractopamine ไม่อนุมัติผลิตภัณฑ์แปรรูปใหม่จากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี2561 ยังคงมาตรการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์จากบางรัฐในสหรัฐฯ
ทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ยังอยู่ใน Watch List สหรัฐฯ ของปลอมยังพบมาก (ออนไลน์/MBK) ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และระบบจัดการยังไม่โปร่งใส
บริการและการลงทุน จำกัดใบอนุญาตธนาคารต่างชาติ ในด้านประกันภัยและธนาคาร: ต่างชาติถือหุ้นได้สูงสุด 49% ยังคงจำกัดการลงทุนต่างชาติในหลายสาขา เช่น โทรคมนาคม, ขนส่ง ฯลฯ (Foreign Business Act)
ดิจิทัล พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ให้อำนาจรัฐลบเนื้อหาออนไลน์ในเวลาจำกัด อาจส่งผลต่อผู้ให้บริการต่างชาติและสิทธิเสรีภาพ
แรงงาน GSP บางรายการถูกระงับจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2563 เหตุผล ไทยยังไม่รับรองสิทธิแรงงานตามมาตรฐานสากล
ผลกระทบค่อนข้างมากต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักร เพราะไทยได้ดุลการค้ากับสหรัฐอันดับที่ 11
จากผลกระทบแผ่นดินไหว และการขึ้นภาษีนำเข้าจากไทยของสหรัฐ 36% อาจจะเห็น กนง.ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ลงเหลือ 1.25% หรือต่ำกว่านี้ในปี 2569 โดยมีโอกาสสูงที่จะเห็นกนง.ปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้