“โกลด์แมน แซคส์”คาดปี’67 หุ้นเอเชียกำไรโต 17% “อเบอร์ดีน”แนะเก็บหุ้นเล็กในจีน-ถือยาวเฮลท์แคร์

HoonSmart.com>>Goldman Sachs คาดกำไรบริษัทจดทะเบียนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นปี’67 กลับมาเติบโตครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่ประมาณ 17% และ 14% ในปี 2568 หนุนตลาดหุ้นสดใสกว่าปีก่อน ด้านอเบอร์ดีน เปิด 3 ธีมลงทุนตลาดจีน เพิ่มน้ำหนักหุ้น AIA ถือยาวหุ้นกลุ่ม consumption, Healthcare ลดน้ำหนักหุ้นเทคสูญเสียความได้เปรียบ มั่นใจจีนผ่านจุดต่ำสุดแนะรายย่อยเลือกหุ้นจีนขนาดเล็กเพื่อหาผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Alpha)ให้กับพอร์ตการลงทุน

Goldman Sachs หรือ โกลด์แมน แซคส์ คาดว่า ในปี 2567 ตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่สดใสมากขึ้นหากเทียบกับปี 2566 โดยปัจจัยสนับสนุนหลัก ๆ มาจากการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน(earning growth) ในภูมิภาคนี้ที่คาดว่าจะพลิกกลับมาเติบโตอย่างมีนัยสำคัญเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ด้วยคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (consensus) มองว่ากำไรปี 2567 จะโตขึ้นประมาณ 17% และ 14% ในปี 2568

ขณะที่กลุ่มธุรกิจที่คาดว่ากำไรจะกลับมาเติบโตโดดเด่นก็คือ “กลุ่มเทคโนโลยี” ในกลุ่มฮาร์ดแวร์ และเซมิคอนดักเตอร์ที่คาสั่งซื้อเริ่มทยอยกลับเข้ามาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว และคาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2567 โดย consensus* คาดการณ์กลุ่มเทคโนโลยีปีนี้จะเติบโต 63% เทียบกับปี 2566ที่ติดลบประมาณ -48% ซึ่งในปีที่ผ่านมากลุ่มเทคโนโลยีเป็นกลุ่มธุรกิจที่ฉุดรั้งผลการดาเนินงานของภูมิภาคนี้ อีกทั้งเริ่มเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นจากความต้องการสินค้าในกลุ่มคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิกอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหากเทียบกับสหรัฐ หรือยุโรปทำให้มีโอกาสที่จะเริ่มเห็นนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นในปี 2567 โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะ “soft landing” และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยได้เร็วตามที่ตลาดคาดการณ์ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้ธนาคารกลางในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยได้มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในเอเชียแปซิฟิก

น.ส.พฤกษา เอี่ยมธงทอง Senior Investment Director for Asian Equities,abrdn มองว่า earning growth ในตลาดเอเชียแปซิฟิกที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้ผลการดาเนินงานปี 2567 ฟื้นตัวดีขึ้น

ขณะที่เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อตลาดหุ้นจีน เพราะในสายตาของนักลงทุนสถาบันต่างชาติโดยเฉพาะสหรัฐและยุโรปมักจะมองเอเชียแปซิฟิกก็คือจีน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เอเชียแปซิฟิกยังมีอีกหลายประเทศที่เติบโตได้ดี ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย อินโดนีเซีย รวมถึงเอเชียเหนืออย่างเกาหลีใต้ และไต้หวันที่ได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

ด้าน House View อเบอร์ดีน มองว่า เศรษฐกิจโลก และสหรัฐมีโอกาสเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่อยู่ในระดับที่ถดถอยแบบไม่รุนแรง (mild recession) ดังนั้นจะเห็นว่าอเบอร์ดีน มีการปรับพอร์ตการลงทุน ในเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น โดยเริ่มกลับมาเพิ่มน้ำหนัก (Overweight) การลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีตั้งแต่หลังไตรมาส 1 ปี 2566 มากขึ้นประมาณ 1% เนื่องจากมองว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงมามากแล้ว

ขณะเดียวกันปัญหาสต็อกคงคลังส่วนเกินเริ่มลดลง คำสั่งซื้อใหม่เริ่มกลับมา อีกทั้งข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณที่ฟื้นตัวขึ้น จึงทยอยเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะเซมิคอนดักเตอร์ และฮาร์ดแวร์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันสัดส่วนเพิ่มขึ้นประมาณ 5%

ในทางกลับกัน ได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารลง เนื่องจากมีมุมมองว่าอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะปรับลดลง ซึ่งย่อมส่งผลต่อส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM)ให้ปรับตัวลดลงตามไปด้วย

จับตา “จีน” กับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ-พยุงอสังหาฯหัวใจสำคัญเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน

ในปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นจีนเผชิญกับแรงกดดันหลังจีนเปิดประเทศแต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลับต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มากซึ่งที่ผ่านมา จะเห็นว่ารัฐบาลพยายามออกมาตรการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจจีนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดเริ่มมีมุมมองที่ดีขึ้นแต่ยังคงระมัดระวังในการลงทุนอยู่

ขณะที่ปี 2567 อเบอร์ดีน มองว่าในระยะสั้นการฟื้นตัวยังคงต้องใช้เวลาในการเรียกความเชื่อมั่นกลับมาซึ่งเห็นความพยายามของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมองว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนจะไม่ได้อัดฉีดเงินเข้าไปทีละมาก ๆ

ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาที่ตามมาในอนาคต แต่จะเน้นกระตุ้นไปในจุดที่มองว่าจะส่งผลดีต่อเศรฐกิจและเป็นจุดที่เป็นปัญหาจริง ๆ เช่นมาตรการช่วยเหลือที่พุ่งตรงไปที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกันจีนจะยังคงเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องโดยจีนอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ เนื่องจากเงินเฟ้อไม่ใช่ปัญหาของจีน แต่ภาวะเงินฝืด (deflation) ต่างหากที่จีนต้องให้ความสาคัญ ซึ่งหากสหรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2567 ก็จะทำให้จีนยังคงมีช่องว่างในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีก

ที่ผ่านมา อเบอร์ดีน มีการปรับพอร์ตในตลาดจีนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับมุมมองในอนาคต โดยมีการปรับน้ำหนักการลงทุน และขายหุ้นบางส่วนออกไป โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ

1) บริษัทที่พื้นฐานดี แต่ได้รับผลกระทบจาก sentiment ของตลาดและถูกกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งในกรณีนี้ ได้ทำการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน ตัวอย่างบริษัทคือ บริษัท AIA ราคาหุ้นปรับตัวลดลงแรง สวนทางกับผลประกอบการที่ยังคงแข็งแกร่ง

2) บริษัทที่ได้รับผลกระทบระยะสั้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะในกลุ่ม consumption หรือ Healthcare แต่ระยะยาวยังมองเห็นโอกาสที่ดี และถือเป็นธีมหลักที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของจีนในอนาคต ซึ่งในกรณีนี้จะถือหุ้นต่อไป ตัวอย่างบริษัทคือ China tourism duty free ซึ่งยังคงเชื่อมั่นว่าบริษัทขายสินค้าปลอดภาษีขนาดใหญ่ของจีนจะยังคงได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนที่ต้องการจะซื้อสินค้าปลอดภาษีในประเทศ

3) บริษัทที่โครงสร้างการเติบโตของธุรกิจได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ทำให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนไปซึ่งในกรณีนี้ได้ขายหุ้นออกจากพอร์ต ตัวอย่างเช่น บริษัท Longi Green หลังจากที่เทคโนโลยของบริษัทไม่ได้อยู่ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมอีกต่อไป จึงตัดสินใจขายหุ้นออก

“มองว่าจีนได้ผ่านจุดที่แย่ที่สุดมาแล้ว หลังตัวเลขในปี 2566 ออกมาผิดไปจากที่ตลาดคาดหวังมาก อย่างไรก็ตามความคาดหวังทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจและกำไร บริษัทจดทะเบียนในจีนได้ถูกปรับลดลงมาเรียบร้อยแล้วซึ่งที่ผ่านมามีการปรับพอร์ตอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเลือกหุ้นรายตัว (Stock Selection) คัดหุ้นคุณภาพที่มีโอกาสเติบโตได้ดีในอนาคต มองว่าหุ้นจีนในพอร์ตที่ถืออยู่ตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของจีนในปี 2567 “น.ส.พฤกษา ระบุ

น.ส.พฤกษา มีมุมมองในระยะยาวว่า ยังคงเชื่อมั่นในภาคการบริโภคที่จะได้รับอานิสงค์จากการยกระดับของการบริโภค (Consumption Upgrade) เนื่องจากกลุ่มคนชนชั้นกลางของจีนขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทำให้คนจีนมีกำลังซื้อที่ดีขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่า พอร์ตการลงทุนของอเบอร์ดีน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น และพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้นจีนยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในธีม Aspiration

ตลาดหุ้นอินเดียยังมีโอกาสไปต่อ คาดกำไรบริษัท-การลงทุนภาครัฐและเอกชนยังเติบโตต่อเนื่อง

ตลาดหุ้นอินเดียในปีที่ผ่านมาถือเป็นประเทศที่สร้างผลตอบแทนที่ดีในภูมิภาคเอเชีย คำถามที่มักได้รับจากผู้ลงทุนคือปีนี้ตลาดหุ้นอินเดียจะยังคงปรับตัวขึ้นต่อหรือไม่ และหุ้นอินเดียถือว่าแพงไปแล้วหรือยัง

ในมุมมองของอเบอร์ดีน หุ้นอินเดียยังมีโอกาสที่จะปรับขึ้นต่อได้ เนื่องจากคาดการณ์ earning growth ของหุ้นอินเดียจะยังคงสนับสนุนการปรับตัวขึ้น ซึ่งปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ๆ ยังมาจากภาคอุตสาหกรรมที่จะเติบโตต่อเนื่องจากปีที่แล้ว รวมถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุน (Capital Expenditure: CapEx) จากภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในปี 2567 เน่าจะเห็น CapEx ของภาคเอกชนที่เติบโตขึ้นจากปีที่แล้ว

อีกทั้งการปฏิรูปนโยบายของอินเดีย การลงทุน สร้างถนน และระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมไปถึงนโยบาย “Make in India” ที่เดินหน้ามาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งยังคงมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอินเดียให้สามารถรองรับการเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ของโลกในหลากหลายอุตสาหกรรมได้ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้ เติบโตมากขึ้น

ขณะที่เทรนด์กลยุทธ์ China Plus One หรือการที่บริษัทที่เคยใช้จีนเป็นฐานการผลิตเริ่มมองหาแหล่งที่ตั้งใหม่ หลังจีนเจอปัญหาเรื่อง trade tensions กับสหรัฐ ทำให้อินเดียก็ถือเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายที่บริษัทต่างชาติให้ความสนใจ และจะส่งผลดีต่อการเติบโตของของอินเดียในระยะยาว

อเบอร์ดีน คาดการณ์ปี 2567 มีโอกาสที่อินเดียจะใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มที่เงินเฟ้ออินเดียจะปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หลังราคาน้ำมันและวัตถุดิบ (Raw material) ปรับตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการบริโภคให้ฟื้นตัวดีขึ้น

“ปีที่แล้วอินเดียเจอปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ทำให้ภาครัฐยังไม่สามารถที่จะใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้มากนัก จึงทาให้ภาคการบริโภคของอินเดียในปี 2566 ไม่ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามปีนี้เรามองว่าการบริโภคจะกลับมาได้ หากเงินเฟ้อปรับตัวลดลงตามที่คาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในเมืองชนบทให้ฟื้นตัวดีขึ้น และมีโอกาสที่เราจะเห็นธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หากเฟดปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยลงตามคาด”น.ส.พฤกษา ระบุ

น.ส.พฤกษา คาดการณ์ปี 2567 มีโอกาสที่อินเดียจะใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจาก
มีแนวโน้มที่เงินเฟ้ออินเดียจะปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หลังราคาน้ำมันและวัตถุดิบ (Raw material) ปรับตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการบริโภคให้ฟื้นตัวดีขึ้น

ปีที่แล้วอินเดียเจอปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นทำให้ภาครัฐยังไม่สามารถที่จะใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้มากนัก จึงทำให้ภาคการบริโภคของอินเดียในปี 2566 ไม่ดีเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม ปีนี้มองว่าการบริโภคจะกลับมาได้ หากเงินเฟ้อปรับตัวลดลงตามที่คาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ
เศรษฐกิจในเมืองชนบทให้ฟื้นตัวดีขึ้น และมีโอกาสที่จะเห็นธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามคาด

สำหรับประเด็นการเลือกตั้งของอินเดียในปีนี้ มองว่ามีโอกาสที่นายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี จะได้รับเลือกตั้งกลับมาอีกสมัย หลังตัวชี้วัดที่สาคัญก็คือการเลือกตั้งระดับภูมิภาค (State election) พบว่า Bharatiya Janata Party หรือ BJP ทำได้ดีกว่าที่คาดไว้ โดยสามารถเอาชนะในบางรัฐที่เคยทาผลงานได้ไม่ดีในการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า โดยชัยชนะครั้งนี้ถือเป็นแรงกระตุ้นสาคัญสาหรับโมดีก่อนถึงการเลือกตั้งทั่วประเทศ (National election) ในเดือนพฤษภาคมนี้

ดังนั้น จึงมองว่าความเสี่ยงทางการเมือง (political risk) ของอินเดียอยู่ในระดับต่ำ และหากรัฐบาลของโมดีได้กลับมาอีกสมัย การขับเคลื่อนนโยบายก็จะมีความต่อเนื่องซึ่งส่งผลดีต่อการเติบโตของอินเดีย

กลยุทธ์การลงทุนเป็นอย่างไร

ผู้ลงทุน สามารถลงทุนผ่านกองทุนเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น เพื่อกระจายการลงทุนไปกับโอกาสเติบโตของทั้งภูมิภาคนี้ที่มากกว่าแค่การลงทุนในจีน แต่ยังมีการเติบโตจากทั้งอินเดีย อินโดนิเซีย และเอเชียเหนือที่ยังช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในปี 2567 ขณะที่ Valuation หุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นก็อยู่ในระดับที่น่าดึงดูดใจ

สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นจีน หากผู้ลงทุนเริ่มมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น จากตัวเลขเศรษฐกิจที่กลับมาขยายตัวได้ดีและเห็นเสถียรภาพของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ดีขึ้น ผู้ลงทุนสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจีน เนื่องจากตลาดหุ้นจีนนับเป็นตลาดที่ถูกที่สุดเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโต แนะนำเลือกลงทุนในหุ้นจีนขนาดเล็กเพื่อหาผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Alpha)ให้กับพอร์ตการลงทุน