LHFG กำไรปี 66 ทะลุ 2 พันลบ. โต 33% รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

HoonSmart.com>> “แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป” (LHFG) โชว์กำไรงวดปี 66 อยู่ที่ 2,096.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.8% จากงวดปีก่อน รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ-รายได้จากการดําเนินงานอื่นเพิ่มขึ้นและการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ด้านสินเชื่อโต 6.5% หนี้เสียเพิ่มขึ้นแตะ 2.36% จากสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 2.09%

บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHFG) เปิดเผยผลการดำเนินงานของกลุ่มงวดปี 2566 มีกำไรสุทธิ 2,096.29 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.099 บาท เพิ่มขึ้น 32.8% จากงวดปี 2566 มีกำไรสุทธิ 1,578.75 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.075 บาท

สำหรับผลการดําเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 มีกําไรสุทธิจํานวน 351.7 ล้านบาท ลดลง 35.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ที่มีกําไรสุทธิจํานวน 542.7 ล้านบาท เป็นผลจากการลดลงของรายได้เงินปันผลและการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานอื่น และกําไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4ของปี 2565 ที่มีกําไรสุทธิจํานวน 344.8ล้านบาท เป็ นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานอื่น

บริษัทฯ ชี้แจงกำไรสุทธิงวดปี 2566 เพิ่มขึ้นจากกําไรสุทธิของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่มีกําไรสุทธิ 1,693.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็ นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้จากการดําเนินงานอื่น และการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

ทั้งนี้ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ยังคงตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามหลักความระมัดระวัง เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือลูกค้า โดยอัตราส่วนสํารองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Coverage Ratio) อยู่ที่ 218.81% และอัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) เพิ่มขึ้นจาก 2.09% ณ สิ้นปี 2565 เป็น 2.36% ณ สิ้นปี 2566

ส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจํานวน 6,943.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.1% เมื่อเทียบกับปี 2565 และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิจํานวน 1,787.1ล้านบาท ลดลง 7.3% เมื่อเทียบกับปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ และรายได้เงินปันผลและค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานอื่นจํานวน 4,047.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.8% เมื่อเทียบกับปี 2565 เป็นการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายและโฆษณา และค่าภาษีอากร

ส่วนเงินให้สินเชื่อจํานวน 267,347.4ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,252.0 ล้านบาท หรือ 6.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อรายย่อยที่เพิ่มขึ้น 11,007.3ล้านบาท หรือ 26.0% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ในการเร่งขยายสินเชื่อรายย่อย ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยต่อสินเชื่อทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 17% ในปี 2565 เป็น 18.9% ในปี 2566

นอกจากนั้นในส่วนของการขยายฐานลูกค้าเงินฝาก ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัล B-You Max พร้อมอัตราดอกเบี้ยสูงพิเศษที่ 6% ต่อปี (สําหรับยอดเงินฝากไม่เกิน 10,000 บาท) และร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจรถไฟฟ้า BTS และบัตรแรบบิท (Rabbit Card) ส่งผลให้จํานวนลูกค้าเงินฝากรายย่อยเติบโตอย่างก้าวกระโดดกว่า 29%