HoonSmart.com>>บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) เปิดกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส 1/68 คาด “ตลาดหุ้นไทย” ระยะสั้นแกว่งตัวผันผวน ติดตามนโยบายทรัมป์ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มเติม มุมมอง 6-12 เดือน แนะนำลงทุน ราคาหุ้นน่าสนใจ ด้าน “ตลาดหุ้นสหรัฐฯ” ราคาขึ้นมามาก รอจังหวะซื้อช่วงตลาดย่อตัว ชููหุ้นขนาดเล็กน่าสนใจ ธีม AI ยังแรง กระจายลงทุน “ตราสารหนี้สหรัฐ-เอเชีย-กองอสังหาฯทั่วโลกและในไทย-ทองคำ” พร้อมคัดกองทุนเด่นแนะจัดพอร์ตกระจายลงทุนรับมือความผันผวน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี (MFC) เปิดเผยกลยุทธ์การลงทุนประจำไตรมาส 1/2568 มองแนวโน้ม “ตลาดหุ้นไทย” เคลื่อนไหว Sideways ภาพรวมระยะสั้นคาดว่าดัชนีแกว่งตัวผันผวน เนื่องจากปัจจัยบวกในประเทศมีจํากัด อีกทั้งนักลงทุนติดตามการเข้ารับตําแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของโดนัลด์ ทรัมป์ ในวันที่ 20 ม.ค.68 นี้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิมเติมของรัฐบาลไทย ประกอบกับตลาดหุ้นอาจได้แรงหนุนจาก Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติทีจะไหลเข้าตลาดหุ้นไทย เนื่องจาก Valuation ที่น่าสนใจ
ส่วนปัจจัยบวก ได้แก่ ตัวเลขภาวะการค้าระหว่างประเทศ(การส่งออก) ประจําเดือนพ.ย. ของไทยที่ยังขยายตัวได้ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดี และปัจจัยราคาของดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้น โดยปัจจุบันค่า Forward P/E ของดัชนี SET Index ณ วันที 3 ม.ค.68 อยู่ที่ระดับ 14.13 เท่า
“MFC มีมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น (0-3 เดือน) เป็น Neutral (คงน้ำหนักการลงทุน) และระยะยาว (6-12 เดือน) มีมุมมองเชิงบวก ให้น้ำหนักเป็น Overweight กองทุนหุ้นไทย แนะนำ MBT-G , M-FOCUS, M-MIDAMALL, M-S50 และ HI-DIV”
สำหรับ “ตลาดหุ้นสหรัฐ การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีการกระจายตัวมากขึ้น นอกเหนือจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เช่น กลุ่ม Financials, Consumer Discretionary และ Industrials ขณะที่หุ้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI ยังมีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวอยู่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันดัชนี S&P 500 มี Valuation ค่อนข้างตึงตัว โดยมีค่า Forward P/E Ratio อยู่ที่ 21.9 เท่า ซึ่งอาจทําให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความผันผวนมากขึ้น หากเกิดการขึ้นภาษีตอบโต้กัน ระหว่างสหรัฐฯ กับคู่กรณี เช่น ประเทศจีน และสหภาพยุโรป (Trade War) จึงแนะนําให้หาจังหวะทยอยลงทุนเมื่อตลาดย่อตัว (Buy the Dip) ที่โซนแนวรับดัชนี
S&P 500 บริเวณ 5,900-5,600 จุด MFC จึงให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ระยะสั้น 0-3 เดือน เป็น Neutral (คงน้ำหนักการลงทุน) และระยะยาว 6-12 เดือน เป็น Overweight
กองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำ MUSPIN-H, MUSPIN-UH, M-USEQH ,M-USEQUH และ MGF
ส่วน “ตลาดหุ้นยุโรป” คาดว่าตลาดหุ้นจะอยู่ในแนว sideways แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรป ในปี 2568 แม้จะถูกคาดการณ์ว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้ แต่ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการค้ากับสหรัฐฯ ในเรื่องการเก็บภาษีศุลกากรของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์และนโยบายการคลังที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ของยุโรป น่าจะต่ำกว่า 1% ในปี 2568 MFC จึงปรับลดนําหนักการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปจาก neutral มาที่ underweight จากความเสี่ยงเรื่องความผันผวนในระยะสั้นจากความกังวลการเก็บภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่อาจกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ด้าน “ตลาดหุ้นจีน” สําหรับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2568 มองว่าจีนจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากรัฐบาลทยอยประกาศใช้มาตรการต่างๆ แล้ว และมีโอกาสที่จะประกาศมาตรการกระตุ้นภาคการบริโภคเพิ่มเติม นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังสามารถลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้อีก Bloomberg consensus คาดเศรษฐกิจจีนจะเติบโตที่ 4.5% ในปี 2025 ท่ามกลางความเสี่ยงจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ – จีน และภาคอสังหาริมทรัพย์ทียังคงซบเซา
MFC คงมุมมอง Neutral ต่อหุ้นจีนทั้งในระยะสั้นและยาว จากระดับ Valuation ที่น่าสนใจ และสะท้อนปัจจัยลบไปพอสมควรแล้ว Downside ของหุ้นจีนค่อนข้างจํากัด นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นของรัฐบาล กองแนะนำ MCHEVO
สําหรับแนวโน้ม “ตลาดหุ้นอินเดีย” จาก Bloomberg consensus กําไรต่อหุ้นในดัชนี Nifty 50 คาดว่าจะเติบโต 13.3% ในปี 2568 ในขณะที่ระดับ Valuation ยังคงตึงตัวในระดับปานกลาง โดย Forward P/E อยู่ที 19.75 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี +1 S.D. MFC มีมุมมองการลงทุนระยะสั้นและยาวเป็น Neutral (คงน้ำหนักการลงทุน)จากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ และประเด็นสงครามการค้า ซึ่งอาจสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นอินเดียและ Emerging Market โดยรวมซึ่งมีบัญชีการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ กองทุนแนะนำ MINDIA
ด้าน “ตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ” ตลาดคาดเฟดจะคงดอกเบียในการประชุมเดือน ม.ค. และติดตามการประกาศนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทรัมป์ หลังเข้ารับตําแหน่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดแนวโน้มปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นได้จากการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น รวมถึง การขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ ทําให้ระยะสั้นมีโอกาสที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 จะปรับขึ้นหรืออยู่ในกรอบระดับสูงได้ จึงให้นําหนักการลงทุนระยะสั้น Neutral และรักษา Duration สั้น
สําหรับการลงทุนระยะยาว คงน้ำหนักการลงทุนระยะยาว Overweight ดังนั้น MFCมองว่า ตราสารหนี้สหรัฐฯ ยังให้ Carry Yield สูงน่าสนใจ 5.0%-7.5% และเป็นระดับที่สูงกว่าในอดีต เน้นลงทุนตราสารหนี้สหรัฐฯคุณภาพสูง โดยกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ แนะนำ MUBOND-A, MUBOND-D, MUBONDUH-A, MUBONDUH-D
“ตลาดตราสารหนี้จีน” ปรับน้ำหนักการลงทุนระยะสั้นและระยะยาว Overweight จากเดิม Neutral (คงน้ำหนักการลงทุน) ปัจจัยหนุนนโยบายการเงินผ่อนคลายจีนต่อเนื่อง และมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยจีนต่อ คาดรัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะ ลดความผันผวนของตลาด สําหรับอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้จีน Yield (%) ของ USD-offshore bond มีความน่าสนใจอยู่ที่ 5-9% และมี Duration สั้น แนะนำกองทุน MCBOND
ด้าน “กองทุนตราสารหนี้ไทย” คาดพันธบัตรระยะสั้นต่ำกว่า 1 ปี มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและยาว ปัจจุบันสะท้อนมุมมองการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1-2 ครั้งมาอยู่ที่ระดับประมาณที่ระดับ 2.00%-1.75% ไปพอสมควรแล้ว หากตลาดเริ่มมีการปรับมุมมองอัตราดอกเบี้ย ว่าอาจจะลงไปอยู่ที่ระดับ 1.50% ได้ จึงจะมี Upside ในการลงทุนพันธบัตรระยะกลางและยาว คาดอัตราผลตอบแทนในปี 2568 มีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวแบบ Sideways ถึง Sideways down จึงคงให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ไทย ที่ Neutral กองทุนแนะนำ SMARTMF
ส่วน “ทองคํา” มองการดํารงตําแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ทําให้เกิดความไม่แน่นอนจากนโยบายที่คาดเดาไม่ได้ รวมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจากนโยบายสงครามการค้า (Trade War) นอกจากนี้ ราคาทองคํายังได้ปัจจัยหนุนจากการเข้าซื้อของธนาคารกลางทั่วโลก เพื่อเป็นทุนสํารองระหว่างประเทศ และหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจผลักดันให้นักลงทุนหันมาซื้อทองคําในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น MFC ให้น้ำหนักการลงทุนทองคําระยะสั้น 0-3 เดือน เป็น Neutral (คงน้ำหนักการลงทุน)และระยะยาว 6-12 เดือน เป็น Overweight กองทุนแนะนำ IGOLD-G
ด้าน “น้ำมันดิบ” MFC มองราคา ณ ปํจจุบันมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นได้ ระยะสั้นจะได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงของประธานาธิบดีสี จินผิง ผู้นําจีนที่ได้ให้คํามั่นว่าจะใช้นโยบายเชิงรุกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2568 จึงส่งผลให้นักลงทุนเชื่อมั่นมากขึ้นว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและอุปสงค์เชื้อเพลิงในประเทศจีน รวมถึงสํานักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต็อกนํามันดิบของสหรัฐฯ ลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 415.6 ล้านบาร์เรล ดังนั้นจึงให้นําหนักการลงทุนทั้งระยะสั้น 0-3 เดือน และระยะยาว 6-12 เดือน เป็น Neutral (คงน้ำหนักการลงทุน)กองทุนแนะนำ I-OIL
สำหรับมุมมองต่อ “กองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก” ปรับน้ำหนักการลงทุนระยะสั้น Neutral จากเดิม Overweight เนื่องจากระยะสั้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี มีโอกาสปรับขึ้นได้หรือแกว่งตัวในกรอบสูง ส่งผลให้ตลาดผันผวนได้ ทังนี้ เป็นจังหวะทยอยสะสมสําหรับการระยะยาว คงน้ำหนักการลงทุน Overweight คาดธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดดอกเบี้ยต่อได้และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโต รวมทั้งปัจจัยราคา ของ Global REITs ปรับลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ทําให้ตลาดมี upside กองทุนแนะนำ MGPROP-AC, MGPROP-AR
ส่วน “กองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทยและสิงคโปร์” ปรับน้ำหนักการลงทุนระยะสั้น Neutral จากเดิม Overweigh ระยะสั้นคาดตลาดผันผวนตาม Global REITs และผลกระทบเศรษฐกิจเอเชียจากนโยบายการขึ้นภาษีนําเข้าสหรัฐฯ ซึ่งต้องติดตามการประกาศนโยบายของประธานาธิดีทรัมป์ เป็นจังหวะสะสมสําหรับการลงทุนระยะยาว Overweight จากปัจจัยราคาที่อยู่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สําหรับ Singapore REITS ดัชนี FTSE ST All-Share Real Estate Investment Trusts Index ให้Yield เฉลี่ย 5.6% และ ดัชนี SETPREITs Index ให้ Yield เฉลี่ยสูงถึง 8.4% กองทุนแนะนำ MPDIVMF, MPII
สำหรับการจัดน้ำหนักลงทุนในไตรมาส 1/2568 (มุมมอง 6-12 เดือน) แนะนำลงทุน (Overweigh) ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว ,หุ้นสหรัฐฯขนาดเล็ก (Small Cap) , ธีม AI ,ตลาดหุ้นญี่ปุ่น, ตลาดหุ้นไทย,และตลาดหุ้นเวียดนาม ส่วนตราสารหนี้ Overweigh ตราสารหนี้สหรัฐฯและ Investment Grade Bond, Global High Yield และตราสารหนี้จีน ส่วนสินทรัพย์ทางเลือก Overweigh กองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก , กองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทยและสิงคโปร์ , ทองและ Private Equity และ Private Credit