“GDP”ไตรมาส 3 โต 1.5% คาดปี’67 ขยายตัว 3.7%

HoonSmart.com>>สภาพัฒน์ฯเปิดตัวเลขจีดีพีไตรมาส3 ขยายตัว 1.5% ชะลอลงจาก 1.8% ในไตรมาส 2 ผลจากการส่งออกลดลง คาดสิ้นปีโต 2.5% ปี 67 คาดขยายตัว 2.7% – 3.7% เงินเฟ้อ 1.7% – 2.7%

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) เปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ขยายตัว 1.5% ชะลอลงจาก 1.8% ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นผลจากการส่งออกรวมชะลอลง จากการส่งออกสินค้าที่ลดลง รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9%

คาดว่าปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 2.5% ต่อเนื่องจาก 2.6% ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1.0% ของ GDP

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.7% – 3.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว

สำหรับไตรมาส 3 บริการรับขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นการใช้จ่ายรัฐบาลยังคงลดลง ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง ขณะที่การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวต่อเนื่อง และการลงทุนของภาคเอกชนที่เร่งขึ้น ส่งผลให้ 9 เดือนปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9%

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัว 8.1% ต่อเนื่องจากขยายตัว 7.8% ในไตรมาสที่ 2/2566 โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 1.0 เร่งตัวจากไตรมาสที่ 2/2566 ที่ขยายตัว 0.7% หมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัว 4.2% หมวดบริการขยายตัว 15.5% และหมวดสินค้าคงทนชะลอตัว

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ลดลง 4.9% จากการลดลง 4.3% ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นผลจากการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสาหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลง 38.6% และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัว 0.5%

อย่างไรก็ตาม ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว 0.2% จาการขยายตัว 0.5% ในไตรมาสที่ 2/2556การลงทุนรวม ขยายตัว 1.5% จากการขยายตัว 0.4% ในไตรมาสที่ 2/2566 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.1% เร่งขึ้นจากขยายตัว 1.0% ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการขยายตัวทั้งด้านการก่อสร้าง และด้านเครื่องจักรเครื่องมือ

ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง 2.6% ต่อเนื่องจากที่ลดลง 1.1% ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการลดลงทั้งด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจำปี ลดลง 186.5 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าวสาร น้าตาล เครื่องประดับอัญมณี พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เภสัชภัณฑ์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

สำหรับสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และเนื้อสัตว์ปีกสด แช่เย็นและแช่แข็ง

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจาปี เกินดุล 129.4 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 191.8 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 62.5 พันล้านบาท

ด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัว 3.2% และ 2.8% ตามลาดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 3.8% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.7% – 2.7% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ1.5 ของ GDP