PTTGC กำไร Q3 แตะ 1.28 หมื่นล. โต 29%

“พีทีที โกลบอล เคมิคอล” ไตรมาส 3/61 กำไรสุทธิ 1.28 หมื่นล้านบาท เติบโต 29% จากช่วงปีก่อน กวาดรายได้จากยอดขาย 1.36 แสนล้านบาท เพิ่ม 6% ส่วน 9 เดือน กำไร 3.6 หมื่นล้านบาท โต 21% คาดปี 62 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล อัตราการใช้กำลังการผลิต 85% เตรียมหยุดซ่อมบำรุงตามแผน

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2561 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.2561 กำไรสุทธิ 12,793 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 2.84 บาท เพิ่มขึ้น 29% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 9,955 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 2.23 บาท ส่วนงวด 9 เดือน ปี 2561 กำไรสุทธิ 36,008 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 7.99 บาท เพิ่มขึ้น 21% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 29,740 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 6.66 บาท

งวดไตรมาส 3/61 บริษัทฯ มีผลการดำเนินการดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีรายได้จากการขาย 136,712 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% มี Adjusted EBITDA 16,830 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวม 12,793 ล้านบาท (2.84 บาท/หุ้น) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% และ 18% ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3/2560 บริษัทฯมีรายได้จากการขายปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ขณะที่ Adjusted EBITDA และกำไรสุทธิรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12% และ 29% ตามลำดับ

ในไตรมาส 3/2561 ธุรกิจโอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องมีผลประกอบการปรับลดลงเล็กน้อยจากไตรมาส 3/2560 โดยในส่วนของธุรกิจโพลิเมอร์มีปริมาณการขายที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทฯมีกำลังการผลิตใหม่จากโรงงาน LLDPE กำลังการผลิตจำนวน 400,000 ตันต่อปีที่ได้เริ่มการผลิตในเชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม 2561 ทำให้มีการรับรู้ค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลประกอบการของธุรกิจโพลิเมอร์ปรับตัวลดลง

ขณะที่ธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซค์มีการปรับตัวลดลงจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับผลประกอบการไตรมาส 2/2561 พบว่าผลประกอบการในไตรมาสนี้ของธุรกิจโอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยเป็นผลจากระดับราคาผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับปริมาณการขายโอเลฟินส์ที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากการหยุดซ่อมบารุงตามแผนของโรงงานโอเลฟินส์ 1

สำหรับธุรกิจอะโรเมติกส์มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วและจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของส่วนต่างผลิตภัณฑ์พาราไซลีนเป็นหลักและปริมาณการขายที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อเนื่องจากการที่มีการหยุดซ่อมบารุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในปีที่แล้ว สำหรับธุรกิจผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปรับตัวลดลงจากไตรมาส 3/2560 เป็นผลจากส่วนต่างของผลิตภัณฑ์ที่ลดลงเป็นหลัก แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าจากส่วนต่างของผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของน้ำมันเตา

ทั้งนี้ ในส่วนของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของธุรกิจอะคริโลไนไตรล์ (AN) ธุรกิจพีวีซี และผลประกอบการที่ดีขึ้นในส่วนของธุรกิจไบโอพลาสติกที่บริษัทดำเนินการผ่านบริษัท Natureworks ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับแนวโน้มราคาน้้ำมันในปี 2562 คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบค่าเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล โดยคาดว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากผลกระทบจากการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิหร่าน และปัญหาการผลิตน้้ำมันดิบที่ลดลงของประเทศเวเนซุเอล่า อย่างไรก็ดี อาจมีปัจจัยลบที่กดดันให้ราคาเฉลี่ยไม่เป็นไปตามคาดการณ์จากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นของประเทศสหรัฐอเมริกาและการคาดการณ์ผลกระทบจากมาตรการทางภาษีการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน รวมถึงความเป็นไปได้ในการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกที่จะกระทบต่อระดับราคาน้ำมัน

สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ตลาดปิโตรเลียม บริษัทฯ ในปีหน้าส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลกับน้ามันดิบดูไบจะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 17.5 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล โดยคาดว่าจะได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการของ International Marine Organization (IMO) ในเรื่องของการควบคุมระดับปริมาณกำมะถันในน้้ำมันเตาที่ใช้ในอุตสาหกรรมเดินเรือ ที่คาดว่าจะมีความต้องการในการใช้น้้ำมันดีเซลเพื่อเข้าไปผสมเพื่อให้ได้มาตรฐานดังกล่าว ประกอบกับระดับสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับต่่ำ

ขณะที่ส่วนต่างราคาน้ำมันเตากับน้้ำมันดิบดูไบคาดว่าจะปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ -8.0 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล จากผลกระทบของ IMO เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ในส่วนของปริมาณการผลิตและการขาย บริษัทฯ คาดว่าจะมีการหยุดซ่อมบำรุงตามแผนในปี 2562 ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตจะอยู่ประมาณ ที่อัตราร้อยละ 85

ธุรกิจอะโรเมติกส์ บริษัทฯ คาดว่าส่วนต่างผลิตภัณฑ์พาราไซลีนกับแนฟทาเฉลี่ยจะอยู่ระดับประมาณ 395 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ส่วนต่างราคาเบนซีนกับแนฟทาคาดว่าจะอยู่ในระดับ 205 เหรียญสหรัฐ/ตัน โดยผลิตภัณฑ์พาราไซลีนคาดว่าจะยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการของผลิตภัณฑ์ปลายทางโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์โพลีเอสเตอร์ที่ยังมีแนวโน้มความต้องการที่ดีต่อเนื่องและมีอัตราการใช้กำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ปลายน้้ำที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับสูง ขณะที่ผลิตภัณฑ์เบนซีน คงมีปัจจัยหนุนจากความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์ปลายทางในส่วนของผลิตภัณฑ์สไตรีนโมโนเมอร์และผลิตภัณฑ์ฟีนอล ทั้งนี้ ในส่วนของปริมาณการผลิตและการขาย บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถใช้กำลังการผลิตอยู่ที่อัตราร้อยละ 87 เนื่องจากคาดว่าจะมีแผนการปิดซ่อมบารุงและปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1

แนวโน้มสถานการณ์ธุรกิจโอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง บริษัทฯ คาดว่าราคาเฉลี่ยเม็ดพลาสติก HDPE ในปีหน้าเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 1,311 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน โดยคาดว่าจะอ่อนตัวลงจากปี 2561 เนื่องจากจะมีกำลังการผลิตใหม่จากประเทศสหรัฐอเมริกาที่เลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์มาจากปี 2561 เข้ามาในปีนี้ รวมถึงผลกระทบจากความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน

ขณะที่ผลิตภัณฑ์โมโนเอทิลีนไกลคอล (MEG) คาดว่าราคาเฉลี่ย MEG ACP อยู่ที่ 902 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน เนื่องจากยังได้รับแรงหนุนจากความต้องการจากผลิตภัณฑ์โพลีเอสเตอร์และโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET) โดยในส่วนของการดำเนินงานของบริษัทฯ คาดว่าการใช้กำลังการผลิตโดยรวมของโรงโอเลฟินส์อยู่ที่ร้อยละ 101 ล้านบาทและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จำนวน 33 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรจากการดำเนินธุรกิจปกติจำนวน (ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้) จำนวน 556 ล้านบาท กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ 43 ล้านบาท เงินรับค่าสินไหมทดแทนจำนวน 21 ล้านบาทและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จำนวน 26 ล้านบาท