บลจ.ไทยพาณิชย์ ปรับเพิ่มมุมมอง “หุ้นไทย-ทองคำ” แนะทยอยสะสม

SCBAM MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 18-22 ก.ย.66
Highlight ประจำสัปดาห์

๐ ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวบวกลบสลับกัน หลังเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นในเดือนที่ผ่านมาและราคาน้ำมันคิบที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง สร้างความกังวลว่าแนวโน้มเงินเฟ้อในอนาคดอาจเร่งตัวขึ้นและจะกดดันให้ Fed ต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวกว่าที่ตลาดคาด เป็น Sentiment เชิงลบต่อทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ โดย US Bond Yield อายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้นมาบริเวณ 5% อีก ขณะที่การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ มีโอกาสกคดันกระเสเงินทุนให้ไหลออกจากตลาดหุ้นใหม่ (EM) อย่างไรก็ดี แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่เริ่มดีขึ้นก็เป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ ให้กับประเทศอื่นที่พึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ การบริโภค และการท่องเที่ยวจากจีน

๐ สัปดาห์นี้ เราปรับเพิ่มมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยและทองคำ ส่วนทิศทางตลาดหุ้นโลกสัปดาห์นี้ เราคาดว่าจะแกว่งตัวผันผวน อย่างไรก็ตาม เรามองเป็นโอกาสในการทยอยเลือกลงทุน คาดหวังการฟื้นตัวขึ้นในกรอบระยะ 3เดือนข้างหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะชะลอตัวลงแต่ไม่ถึงขึ้นกาวะกดถอยในปีนี้ ขณะที่ดัชนีเศรษฐกิจจีนที่เริ่มออกมาดีกว่คาด ทั้งยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุดสำหกรรมจะช่วยหนุนเศรษฐกิจใน EM ให้พื้นตัวได้อีกด้วย ทั้งนี้ ติดตามผลการประชุมของ Fed ช่วงกลางสัปดาห์นี้ หากมีการส่งสัญญาณถึงจุดสูงสุดของดอกเบี้ย น่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นโลก ให้พลิกกลับมาดีขึ้นได้

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
สหรัฐอเมริกา : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
งินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ส.ค. ออกมาค่อนข้างผสมผสาน กล่าวคือ เงินเฟ้อพื้นฐาน ออกมาตามคาดและซะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า แต่เงินฟ้อทั่วไป สูงกว่าคาดเล็กน้อยและเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้การฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังไม่ชัดเจน ตัวแปรสำคัญคือการประชุม Fed วันที่ 19-20 ก.ย. โดยเฉพาะการเปิดเผย Dot Plot รอบใหม่

ยุโรป : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะทยอยสะสม
ตลาดหุ้นยุโรปตอบสนองเชิงบวก หลัง ECB ส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุดหลังจากขึ้นดอกเบี้ย 25 bps ในการประชุมครั้งล่สุด ขณะที่หุ้นกลุ่มสินค้า Lxuy ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักก็ปรับตัวขึ้น หนุนจากยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งของจีน ด้าน Sentiment ระยะสั้น ตลาดหุ้นยุโรปมีโอกาสฟื้นตัวทางเทคนิค

ญี่ปุ่น : มุมมองค่อนข้างเป็นลบ แนะทยอยลดนํ้าหนัก
ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น ปรับตัวขึ้นได้ดีในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็เข้ามาใกล้แนวต้านบริเวณ 34,000 จุด เพิ่มความเสี่ยงที่จะมีแรงเทขายทำกำไรออกมาระยะสั้น นอกจากนี้ ทิศทางเงินเยนที่อ่อนค่าต่อเนื่องทำให้มีความกังวลว่า B0J อาจเข้ามาแทรกแซงเพื่อรักษาเสกียรภาพค่างิน ส่งผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นอาจมีความผันผวนสูงขึ้นในระยะข้างหน้า

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะทยอยสะสม
ในสัปดาห์นี้เราปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้นไทยเป็น ทยอยสะสม หลังจาก SET Index ย่อตัวลงต่อเนื่องจนเข้าใกล้แนวรับ 1,530 จุด เราประเมินว่า ความกังวลต่อกลุ่มพลังงานเนื่องจากนโยบายลดราคาพลังงาน รับรู้ในราคาหุ้นพอสมควรแล้ว และเชื่อว่า นโยบายกระตุ้นเศ์รษฐกิจทั้งกาคการบริโภคและการท่องเที่ยวน่าจะช่วยจำกัด Downside veง SET Index

จีน : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะทยอยสะสม
ตลาดหุ้นจีนปิดทรงตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากยอดค้าปลีกและผลผลิตสาหกรรม เดือน ส.ค. ที่ออกมาดีกว่าคาด นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับลด RRR เป็นปี อีก 25bps น่าจะช่วยประคองให้ตลาดหุ้นจีนทรงตัวได้ดีขึ้นในระยะสั้น

อินเดีย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งกว่าภูมิภาค อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่า ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงนี้ อาจผลักดันให้เงินเฟ้อของอินเดียกลับมาเร่งตัวขึ้นในระยะถัดไป และเป็นแรงกดดันต่อตลาดหุ้น แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและกำไรตลาดหุ้นมีแนวโน้มแข็งแกร่ง แต่เราแนะนำให้รอจังหวะเมื่อราคาหุ้นย่อตัวลงมาก่อนแล้วค่อยพิจารณาเข้าลงทุน

เกาหลีใต้ : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นกาหลีใต้ฟื้นตัวได้ดีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่นมา จากดัชนีเศรษฐกิจจีนที่ดีกว่าคาด ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าการส่งออกมีโอกาสฟื้นตัว รวมถึง ความคาดหวังว่า วัฏจักรของกลุ่ม Semiconductor ใกล้ถึงจุดต่ำสุด ดังนั้น คาดว่าดัชนี KOSPI ของเกาหลีใต้ มีโอกาสฟื้นตัวได้ต่อด้วยโมเมนตั้มที่แข็งแกร่งจากสัปดาห์ก่อน

เวียดนาม : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นเวียดนามแม้จะปรับตัวขึ้นโดดเด่นตั้งแต่ต้นปี แต่เรายังมองว่ามีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะยังปรับตัวขึ้นต่อในระยะข้างหน้า จากนโยบายสนับสนุนทั้งการเงินและการคลังจากกาครัฐ, ระดับมูลค่าที่ยังคงถูกเทียบค่าเฉลี่ยในอดีดและกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าหากค่างินดอลลาร์สหรัฐฯ เร่มกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง แนะนำรอทยอยสะสมเมื่อราคาย่อลงมา

ตราสารหนี้

ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
เริ่มเห็นการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลไทย เช่น อายุ 10 ปี ขยับเข้าใกล้ระดับ 3% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิสะสมในตลาดตราสารหนี้ไทยราว 1 หมื่นล้านบาทตั้งแต่ต้นเดือนนี้ ด้าน SCB EIC คาดว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps เป็น 2.50 % ในการประชุมเดือนนี้ และคงไว้ที่ระดับค้งกล่าวจนถึงปีหน้า

ต่างประเทศ : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนำทยอยสะสม
US Bond Yield ปรับตัวขึ้นทั้งอายุ 2 ปีและ 10 ปี มาอยู่ที่ระดับ 5.04 % และ 4.33% ตามลำดับในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจาก Headline CPI ของสรัฐฯ เดือน ส.ค. เร่งตัวขึ้น สร้างความกังวลว่า Fed อาจดำเนินนโยบายตึงตัวยาวนานกว่าคาด ตัวแปรสำคัญคือ ผลการประชุม Fed วันที่ 19-20 ก.ย. ซึ่งจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของตราสารหนี้สหรัฐฯ

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะทยอยสะสม
สัปดาห์นี้เราปรับเพิ่มมุมมองทองคำเป็น ทยอยสะสม ประเมินว่า ราคาทองคำที่ปรับตัวลงมาใกล้แนวรับเส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วัน บริเวณ US$1,910/Oz เป็นโอกาสสำหรับ Trading ตามสัญญาณทางเทคนิค และหากผลการประชุม Fed สัปดาห์นี้ ไม่ได้ออกมา Hawkish มากเกินไป คาดว่า Dollar Index อาจอ่อนค่าลง เป็นบวกต่อราคาทองคำ

น้ำมัน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทะลุ S$90/bbl ฝั่งอุปทานมีแนวโน้มตึงตัว เนื่องจากซาอุคิอาระเบียและรัสเซียขยายระยะเวลาลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้ โดย IEA ประเมินว่า Supply ที่ลดลงไป จะทำให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนสูงขึ้นในระยะถัดไป ทั้งนี้ เราประเมินว่า ราคาน้ำมัน WTI ที่เข้าใกล้ระดับ S$100/bbl อาจเผชิญแรงขายทำกำไรมากขึ้น

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
REITs อาจฟื้นตัวบ้างในระยะสั้น หลังจากปรัตัวลงมาต่อเนื่อง แต่ Upside การฟื้นตัวยังค่อนข้างจำกัดเมื่อ Bond Yield ยังคงผันผวนและมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอยู่ เรายังแนะนำให้ติดตามทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ จากการประชุม Fed ในสัปดาห์นี้ เพราะเมื่อใดที่วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นสิ้นสุด กลุ่ม REITs น่จะฟื้นตัวได้ชัดเจนหลังจากนั้นคาดตลาดหุ้นแกว่งตัวผันผวนรอดูเงินเฟ้อสหรัฐฯ