FSS คาด SET INDEX 1,535-1,545 จุด กังวลบอนด์ ยิลด์ สหรัฐสูง-FED ขึ้นดบ.

HoonSmart.com>>ฟินันเซีย ไซรัส (FSS) คาด แนวโน้มตลาดวันนี้ SET Index จะยังแกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,535-1,545 จุด บรรยากาศการลงทุนค่อนไปในทางลบหลัง Bond Yield สหรัฐฯยังขยับสูงขึ้น กังวล FED ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หลังเงินเฟ้อยังต่ำกว่าเป้าหมาย ส่วนแนวโน้ม GDP ไทยคาดว่าจะทยอยเร่งขึ้นใน 4Q23-2024 แนะนำกลุ่ม Domestic Play ได้แก่ ค้าปลีก อาหารเครื่องดื่ม ธนาคาร การแพทย์

บล.ฟินันเซีย ไซรัส (FSS) คาด แนวโน้มตลาดวันนี้ SET Index จะยังแกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,535-1,545 จุด บรรยากาศการลงทุนค่อนไปในทางลบหลัง Bond Yield สหรัฐฯยังขยับสูงขึ้น กังวล FED ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หลังเงินเฟ้อยังต่ำกว่าเป้าหมาย ด้านปัจจัยในประเทศยังคงต้องติดตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของครม.ใหม่ โดยเฉพาะความชัดเจนของแหล่งเงิน

ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯยังแกร่ง กลุ่มเทคโนโลยีคาดถูกกดดันจากประเด็น TSMC ขอ Vendor ชะลอจัดส่งอุปกรณ์ผลิตชิประดับ Hi-End ทำให้ตลาดกังวลทิศทาง Demand ในอนาคต ขณะที่กลุ่มพลังงานต้น-กลางน้ำคาดยังประคองตลาดหลังราคาน้ำมันดิบยังยืนในระดับสูง โดย Brent ยังอยู่ที่ระดับ US$94 ต่อบาร์เรล

ปัจจัยสำคัญที่ตลาดจับตาสัปดาห์นี้คือการประชุม FED คืนวันพุธ ซึ่งคาดว่าจะคงดอกเบี้ยที่ 5.25-5.5% แต่ที่ต้องติดตามคือมุมมองต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะถัดไปว่าชะลอตัวลงได้ตามที่ FED คาดหวังหรือไม่

ส่วนปัจจัยในประเทศยังคงต้องติดตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของครม.ใหม่ โดยเฉพาะความชัดเจนของแหล่งเงิน ส่วนแนวโน้ม GDP คาดว่าจะทยอยเร่งขึ้นใน 4Q23-2024 ทำให้เรายังคงชอบกลุ่ม Domestic Play ได้แก่ ค้าปลีก อาหารเครื่องดื่ม ธนาคาร การแพทย์

ส่วนระยะสั้นเราคาดหุ้นที่คาดมีกำไร 3Q23 เติบโตดีทั้ง q-q และ y-y คาดว่าจะเคลื่อนไหวได้แข็งแรงกว่าตลาด

กลยุทธ์ : เลือกหุ้นที่มีโมเมนตัมกำไร 3Q23 แข็งแกร่ง//ถือลงทุนต่อเนื่องหลังสะสมบริเวณ 1,500+- จุดไปแล้ว
หุ้นเด่นเดือน ก.ย. : AOT, CPALL, CPN, NSL, TIDLOR

หุ้นเด่นวันนี้ : BH แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 300 บาทเราคาดกำไร 3Q23 ลุ้นทำ New High หนุนจากการเติบโตของผู้ป่วยต่างชาติที่เร่งขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยไทยได้อานิสงส์จากโรคระบาด เบื้องต้นคาดรายได้จะโตแรง 20-40% y-y เราคาดกำไรปี 2023 ที่ 6.8 พันลบ. +37% y-y และเติบโตได้ต่อเนื่องในปี 2024 ที่ 7.1 พันลบ. +5% y-y แนวรับ 255-252 บาท แนวต้าน 265-267 บาท

Fund Flow : เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนในภูมิภาคทรงตัว โดยรวมไหลเข้าบางๆ US$15 ล้าน เม็ดเงินยังไหลเข้ากระจุกตัวที่ไต้หวัน US$277 ล้าน แต่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$81 ล้าน ส่วนอาเซียนยังไหลออกจากนำดดยอินโดนีเซียและไทย US$54-88 ล้าน ส่วนเวียดนามไหลเข้าบางๆ แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะพลิกมาไหลออก หลัง Bond Yield สหรัฐฯปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ตลาดจับตาถ้อยแถลงของประธาน FED หลังการประชุมสัปดาห์นี้

ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ มีข่าว TSMC บริษัทผลิตชิปรายใหญ่สุดของโลก สั่งให้ Vendor ชะลอการจัดส่งอุปกรณ์สำหรับผลิตชิประดับ High end หลังเริ่มกังวลต่อ Demand ของลูกค้า จากข่าวนี้ทำให้ราคาหุ้นเทค US เมื่อวันศุกร์ปรับลงกันถ้วนหน้า ซึ่งจะเป็น Sentiment ลบต่อหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ไทย (DELTA HANA KCE) แม้สัดส่วน AI จะยังน้อยมาก หรือบางบริษัทยังไม่มีเลย แต่ที่ผ่านมาราคาหุ้นก็ปรับตัวขึ้นลงตามกระแสหุ้น AI ในต่างประเทศ

(+) STANLY คาดว่ากำไรปกติ 2QFY24 ที่ 422 ลบ. +39% q-q แต่ -12% y-y โดยคาดรายได้จากการขายของ STANLY +1% y-y เป็น 3.6 พันลบ. ใน 2QFY24 และคาดยอดขาย +7% q-q ใน 2QFY24 ส่วนมากจากปัจจัยด้านฤดูกาล โดยปกติ เม.ย. จะเป็นเดือนที่การผลิตต่ำที่สุดในรอบปีของอุตสาหกรรมยานยนต์เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดสงกรานต์ อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะฟื้นตัวจาก 15.3% ใน 1QFY24 เป็น 17% ใน 2QFY24 เท่ากับในปีที่แล้ว เราประมาณการกำไรปกติช่วง 1HFY24 อยู่ที่ 725 ลบ. +7% y-y และคิดเป็น 37% ของประมาณการกำไรปกติทั้งปีที่ 2 พันลบ. +12% y-y ทำให้ประมาณการกำไร FY24 และราคาเป้าหมายปัจจุบันที่ 240 บาท อาจมี Downside แต่ยังแนะนำ “ซื้อ”

(+) KBANK CEO ตั้งเป้าเน้นการสร้างผลกำไร ไม่เน้นขยายรายได้ และขยายธุรกิจไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งเรามีมุมมองบวกต่อการขยายธุรกิจไปต่างประเทศอย่างเวียดนามและอินโดนีเซีย และหากเป็นธนาคารที่เน้นด้าน retail banking จะช่วยเพิ่มศักยภาพการทำกำไรของกลุ่มฯ ให้สูงขึ้นได้ตามที่คาดหวัง เนื่องจากให้ yield และ NIM ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ปัจจุบัน KBANK มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจต่างประเทศต่ำเพียง 2.7% ของรายได้รวม อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่ต้องติดตามอีกมาก เช่น มูลค่าของกิจการที่จะเข้าซื้อ และคุณภาพของสินทรัพย์ของกิจการที่จะเข้าไปลงทุน คงราคาเป้าหมาย 150 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 288.87 จุด หรือ -0.83% ปิดที่ 34,618.24 จุด หุ้นทั้ง 11 กลุ่มของดัชนี S&P500 ปรับตัวลง นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศร่วง 1.95% และหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยร่วง 1.88%

(+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่ดีเกินคาดช่วยหนุนหุ้นกลุ่มบริษัทสินค้าหรูหรา และความคาดหวังว่า ECB จะใกล้ยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

(-) ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ ก่อนการประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้

(0) ค่าเงินบาททรงตัว อยู่ที่บริเวณ 35.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 61 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 90.77 ดอลลาร์/บาร์เรล ตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นในวันศุกร์ (15 ก.ย.) และทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ในปีนี้ รวมถึงปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันท่ามกลางความวิตกอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่ตึงตัวจากซาอุดีอาระเบียประกาศขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันจนถึงสิ้นปีนี้ ขณะที่รัสเซียขยายเวลาปรับลดการส่งออกน้ำมันจนถึงสิ้นปีนี้เช่นกัน ในขณะที่เช้านี้ปรับขึ้นต่อที่ระดับ 90.96 ดอลลาร์/บาร์เรล +0.21%

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 13.40 ดอลลาร์ หรือ 0.7% ปิดที่ 1,946.20 ดอลลาร์/ออนซ์ และปรับตัวขึ้น 0.2% ในรอบสัปดาห์นี้ เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อสัญญาทองคำ ในขณะที่เช้านี้ทรงตัวที่ระดับ 1,942.10 ดอลลาร์/ออนซ์ -0.01%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 880.27/ -0.57