SCBAM : ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ส่งสัญญาณตึงตัวน้อยลง

ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นได้ดี นำโดยกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ โดยได้ปัจจัยหนุนจากความคาดหวังว่า Fed จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี ภายหลังการรายงานตัวเลขการจ้างงานที่มีสัญญาณอ่อนแรงลง ในขณะที่ตลาดหุ้นฝั่งเอเชียส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้ดีตาม Sentiment ของตลาดหุ้นโลก รวมทั้งยังได้ปัจจัยบวกจากการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน

ทิศทางการลงทุนในสัปดาห์นี้ ในระยะสั้นคาดตลาดหุ้นยังมีทิศทางผันผวน มีโอกาสเกิดแรงขายทำกำไรในตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมามากในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งตลาดหุ้นยังขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ และถูกกดดันจากการรายงานดัชนีเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง แนะนำเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการลงทุน แต่ในระยะยาว เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดว่า มีโอกาสหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยในปีนี้และแนวโน้มดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุด รวมถึงผลประกอบการของบริษัทที่ยังคงแข็งแกร่ง หนุนโอกาสปรับประมาณการขึ้นในระยะถัดไป จึงมองเป็นโอกาสทยอยสะสมเมื่อราคาหุ้นปรับย่อตัวลงมา

ติดตามการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ เช่น ดัชนี PMI ภาคบริการของสหรัฐฯ,ยุโรป, จีน รวมถึง ดัชนีเงินเฟ้อ CPI ของจีน, ไทย และรายงาน GDP 2Q66 ของยุโรป, ญี่ปุ่น

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ดัชนีตลาดแรงงานสหรัฐฯ เดือนส.ค. เริ่มห็นสัญญาณอ่อนแรงลง แม้การจ้างงานนอกภาคเกษตร สูงกว่าคาด แต่อัตราการว่างงานปรับตัวสูงขึ้น และค่าจ้างรายชั่วไมงชะลอลง ทำให้ตลาดคาดว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ก่อน ในระยะสั้นเรามองว่าดัชนีหุ้นสหรัฐฯ มีไอกาสพักตัว หลังจากฟื้นตัวทางเทคนิคจนทำให้ Upside เริ่มจำกัด จึงปรับลดคำแนะนำเป็น คงน้ำหนัก

ยุโรป : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ/เพิ่มน้ำหนัก
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นในสัปตาห์ที่ผ่านมา จากดัชนีเงินเฟ้อเบื้องต้นเดือน ส.ค. มีทิศทางชะลอลง รวมทั้งได้ Sentiment เชิงบวก จากจีนที่ทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐทิจ จึงมองว่าในระยะสั้น ตลาดหุ้นยุโรปมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ จากการฟื้นตัวทางเทคนิค และระดับมูลค่า (Valuation) อยู่ในระดับไม่แพง จึงปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น ทยอยสะสม

ญี่ปุ่น : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ด้ชนียอดค้าปลีกเดือน ก.ค. ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและสูงกว่าคาด สะท้อนการบริโกคในประเกทศที่ยังแข็งแกร่ง ดัชนีเศรษฐกิจในกาคการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมทั้งกิศทางเงินเยนอ่อนค่าทรงตัวที่ระดับ 146 เยน/เหรียญ ทำให้มีความกังวลว่า BOJ อาจเข้ามารักษาเสถียรภาพค่างินเยน ส่งผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงมีความฝันผวน

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
SET Index ปรับตัวลงช่วงท้ายสัปดาห่ หลังจากดัชนีตอบสนองเชิงบวกระยะสั้นต่อปัจจัยการเมืองที่มีความชัดเจนขึ้น จนเข้าใกล้โซนแนวต้านระยะสั้นที่ 1,580 จุด และกระแสเงินทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย รวมทั้งมีความเสี่ยงที่คาดการณ์ GDP ปีนี้ จะถูกปรับลง จากการส่งออกที่ชะลอลงต่อเนื่อง เรามองว่า SET Index อาจมีการพักตัวในช่วงนี้

จีน : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นได้ดีในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดอบรับการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งดัชนี Caixin PMI ภาคการผลิตเดือนส.ค. ปรับตัวขึ้นมาที่ 51.0 ซึ่งอยู่ในโซนขยายตัว สะท้อนแนวโน้มกาคการผลิตมีทิศทางที่ดีขึ้น คาดเป็นปัจจัยหนุนระยะสั้นให้ดัชนีหุ้นจีนที่ Laggard ตลาดหุ้นอื่น ปรับตัวขึ้นต่อได้

อินเดีย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
GDP ช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. +7.8%YOY เร่งตัวขึ้นจากตรมาสก่อนหน้า สะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจที่เข็งแกร่ง ช่วยหมุนแนวโน้มกำไรมริษัทจดทะเบียนยังคงปรับเพิ่มขึ้น สนับสนุนมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนระยะกลาง ทั้งนี้ความกังวลต่อเฟ้อกลับมาสูงขึ้น และตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา จึงมีโอกาสพัก

เกาหลีใต้ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ยอดส่งออกเดือน ส.ค. หดตัว -8.4% YoY โดยหดตัวน้อยกจำตลาด แต่ยังคงลดลงต่อเนื่อง 11 เดือนติดต่อกัน สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนส.ค. ที่ปรับตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ตามแนวโน้มเศรษฐกิจจีน และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นเกาหลีใต้ โดยในระยะสั้นเรายังคงมุมมองเป็นกลาง รอติดตามสถานการณ์ต่อไป

เวียดนาม : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
รายงานเงินเฟ้อ CPI เดือนส.ค. เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.96% YoY และการส่งออกหดตัวลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ทำให้เป้าหมายของรัฐบาลสำหรับ GDP ปีนี้ที่ 6.5% มีความท้าทายค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ในระยะกลาง-ยาว เรามีมุมมองเชิงบวก จากระดับ Valuation ที่ยังดูน่าสนใจ แต่ในระยะสั้นคาดตลาดหุ้นเวียดนามยังมีความผันผวน

ตราสารหนี้

ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
มองว่า กนง. มีโอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งสู่ Terminal Rate ที่ระดับ 2.50%6 จากมุมมองของ กนง. ที่ประเมินว่า เงินฟ้อจะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีหลังปัจจัยชั่วคราวทยอยหมดลงและมีความเสี่ยงสูงจากตันทุนราคาอาหาร หากเอลนีโญ รุนแรงกว่าคาด แนะนำคงน้ำหนักการลงทุนตราสารหนี้ไทย เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน

ต่างประเทศ : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
Yield สหรัฐฯ ปรับตัวลงเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ จนมาดีดตัวขึ้นในวันศุกร์ หลังการรายงานดัชนีออกมาผสมผสาน ขณะที่ CME FedWatch Tool คาคว่า Fed จะคงดอกเบี้ยตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ เรายังคงแนะนำทยอยสะสมตราสารหนี้ต่างประเทศ เพราะวัฏจักรดอกเบี้ยขขึ้นใกล้สิ้นสุด และ Veld อยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุนระยะยาว

สินทรัพย์ทางเลือก

ทองคำ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ได้รับปัจจัยหนุนจาก US Bond Vield ที่เริ่มย่อตัวลงบ้าง ตามความคาดหวังว่า Fed จะหยุดขึ้นดอกเบี้ย เรามองว่า ราคาทองคำน่าจะมีความผันผวนระยะสั้น ด้วยแรงกดดันจาก Dollar Index ที่แข็งค่าขึ้น แต่ในระยะยาว ยังคงมุมมองแชิงบวก และแนะนำทยอยสะสมเมื่อราคาย่อตัวลงมา เพื่อเป็นสินทรัพย์ช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ต

น้ำมัน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้นทำจุดสูงสุดของปีนี้ จากการค่าดการณ์อุปสงค์การใช้น้ำมันจากจีนมีแนวโน้มสูงขึ้น ภายหลังการรายงานดัชนีภาคการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่แนวโน้มอุปทานน้ำมันยังตึงตัว คาดว่า OPEC มีโอกาสลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้ ทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มทรงตัวถึงขยับขึ้นในช่วงนี้

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
REITs อาจฟื้นตัวบ้างในระยะสั้น หลังจากปรับตัวลงมาต่อเนื่อง แต่ Upside การฟื้นตัวยังค่อนข้างจำกัด เมื่อ Bond Yield ยังคงผันผวนและมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอยู่ เรายังแนะนำให้ติดตามทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ เป็นหลัก เมื่อใดที่วัฎจักรขาขึ้นสิ้นสุด กลุ่ม REITs น่าจะฟื้นตัวได้ชัดเจนหลังจากนั้น