Chartered Group ขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นใหญ่ MFC “คลัง-ออมสิน”กอดหุ้นแน่นหนุนก้าวสู่บริษัทระดับโลก

HoonSmart.com>> บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) เปิดชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ บริษัทระดับโลก “Chartered Group” เข้าถือหุ้น 24.96% หลังซื้อหุ้นจาก “บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” (CGH) ด้าน “กระทรวงการคลัง-ธนาคารออมสิน” กอดหุ้นแน่น ยันพร้อมสนับสนุนเต็มที่ก้าวสู่บริษัทระดับโลก บอร์ดแต่งตั้ง “สุกฤตย์ สุรบถโสภณ-สมบูรณ์ กิติญาณทรัพย์-ณัฐกร อธิธนาวานิช-อิศรา พุฒตาลศรี” นั่งกรรมการ

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี (MFC) เปิดเผยว่าบริษัทฯ ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 24 กันยายน 2567 ถึงการเข้าซื้อหุ้นโดย Chartered Group (โดย Opus-Chartered Issuances S.A.) จำนวน 31,357,850 หุ้น หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.96 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ จากบริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) “CGH” โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 โดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่เดิมทั้งสองราย ได้แก่ กระทรวงการคลัง และธนาคารออมสิน ยังคงถือหุ้นในสัดส่วนเดิมที่ร้อยละ 15.92 และร้อยละ 24.94 ตามลำดับ

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการของบริษัทฯ กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นับเป็นโอกาสสำคัญที่บริษัทฯ จะเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนจาก Chartered Group ซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการแก่ลูกค้าและนักลงทุนทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง”

ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใหม่ Chartered Group เป็นบริษัท Private Equity ระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน การบริหารและดำเนินธุรกิจ การเพิ่มศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การเงิน อสังหาริมทรัพย์และไลฟ์สไตล์ รวมถึงเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากกว่า 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.5 แสนล้านบาท) ใน 7 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ เยอรมนี ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิสราเอล ลักเซมเบิร์ก และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพ เนื่องจากมีประชาชนให้ความสนใจด้านการเงินและการลงทุนมากขึ้น และเปิดกว้างในผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ จึงเป็นเหตุผลให้บริษัทระดับโลกแห่งนี้เข้ามาลงทุน

“การเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้ของ Chartered Group จะเป็นการลงทุนระยะยาวในประเทศไทย และมีความตั้งใจที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ร่วมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เช่น กระทรวงการคลังและธนาคารออมสิน เพื่อมุ่งสู่การเป็นพันธมิตรด้านการลงทุนอันดับหนึ่ง ผ่านแนวคิดสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การนำเสนอผลิตภัณฑ์การเงิน บริการการเงิน และพันธมิตรนักลงทุนที่ดีที่สุดสู่ตลาดไทย 2) การร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเงินที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้แก่สังคม 3) สร้างเสริมพันธมิตรด้านการบริหารทรัพย์สินส่วนบุคคลในระดับโลก และ 4) การส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้แก่นักลงทุนและประชาชนโดยทั่วไปให้เกิดความยั่งยืนในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว”

อนึ่ง การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นนิมิตรหมายและโอกาสอันดีในการสร้างเสริมให้บริษัทฯ มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และจะทำให้บริษัทฯ สามารถพัฒนาการส่งมอบบริการที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้าที่ได้มอบความไว้วางใจและให้การสนับสนุนแก่บริษัทฯ มาโดยตลอด ตลอดจนสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้แก่นักลงทุนและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ รวมถึงเสริมสร้างความเชื่อมั่นว่าความร่วมมือร่วมใจของผู้บริหารและพนักงานทุกฝ่ายในองค์กรจะนำพาให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลดีต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกราย

ด้านบลจ.เอ็มเอฟซี แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 รับทราบการเข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ ซึ่งได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 22 ส.ค.2567 ระหว่างบริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (CGH) ในฐานะผู้ขาย และบริษัท โอปุส-ชาร์เตอร์ด อิชชูแอนเซสซ์ แอส.อา. จำกัด (มหาชน) (OPUS CHARTERED ISSUANCES SA.) (“OPUS”) ในฐานะผู้ซื้อ เพื่อซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ จำนวน 31,357,850 หุ้น หรือคิดเป็น 24.96% ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัทฯ จึงได้ยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักหลักหรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2567 และสำนักงาน ก.ล.ต. ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบริษัท โอปุส-ชาร์เตอร์ด อิชชูแอนเซสซ์ แอส.อา. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.2567 เป็นต้นไป

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทไม่มีผลกระทบต่อการบริหารงานและโครงสร้างการจัดการของบริษัทแต่อย่างใด นอกจากนั้น ภายหลังการได้มาซึ่งหันสามัญในบริษัทฯ ของ OPUS ยังไม่ทำให้ OPUS มีหน้าที่ต้องทำคำเสนอชื้อหลักหลักทรัพย์ทั้งหมดในบริษัทฯ (Mandatory Tender Offer) เนื่องจากการได้มาซึ่งหุ้นดังกล่าวข้างต้นยังไม่ข้ามจุดที่ต้องทำคำเสนอซื้อทั้งหมดของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทนที่ทจ. 12/2554 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบจำกิจการ

คณะกรรมการการยังรับทราบการลาออกก่อนครบวาระของกรรมการ 4 ท่าน ดังนี้ (1) ดร.โชคชัย อักษรนันท์ ตำแหน่ง กรรมการอิสระ รองประธานกรรมการ และประธาน
คณะกรรมการตรวจสอบ , (2) พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ตำแหน่ง กรรมการอิสระ ทั้งสองรายมีผลวันที่ 20 ก.ย.2567 (3) พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ตำแหน่ง กรรมการและกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทบแทน (4) นายสุรพล ขวัญใจธัญญา ตำแหน่ง กรรมการ ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการบริหาร และกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน ทั้งสองราย มีผลวันที่ 24 ก.ย.2567

นอกจากนี้รับทราบการลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารของนายสดาวุธ เตชะอุบล มีผลวันที่ 24 ก.ย.2567

คณะกรรมการบริษัทฯได้อนุมัติการแต่งตั้งกรรมการใหม่จำนวน 4 ท่าน เพื่อทดแทนกรรมการ 4 ท่านที่ลาออกก่อนครบวาระ โดยให้มีผลเมื่อได้รับความเห็นขอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ดังนี้
(1) นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ เป็นกรรมการทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงของ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงสิงแก้ว โดยให้ตำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน , (2) นายสมบูรณ์ กิติญาณทรัพย์ เป็นกรรมการทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงของ ดร.โชคชัย อักษรนันท์ ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำหนดค่าตอบแทน

(3) นายณัฐกร อธิธนาวานิช เป็นกรรมการทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงของนายสุรพล ขวัญใจธัญญา โดยดำรงตำแหน่งกรรมการ (มีอำนาจจัดการ) ประธานคณะกรรมการบริหาร กรรมกา
กำหนดค่าตอบแทน และกรรมการกำกับดูแลกิจการและละความยั่งยืน (4) นายอิศรา พุฒตาลศรี เป็นกรรมการทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงของ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช โดยให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ (มีอำนาจจัดการ) กรรมการบริหาร กรรมการบริหารความเสี่ยงและกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน

หลังจากก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการของบริษัทฯ จะทำให้โครงสร้างคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยเปลี่ยนแปลงเป็นดังนี้

คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 14 ราย ได้แก่ (1) ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ตำแหน่ง กรรมการอิสระ และประธานกรรมการ , (2) นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ ณ ตำแหน่ง กรรมการอิสระ และรองประธานกรรมการ , (3) นายสมบูรณ์ กิติญาณทรัพย์ ตำแหน่ง กรรมการอิสระ , (4) ดร. วิกรม คุ้มไพโรจน์ ตำแหน่ง กรรมการอิสระ , (5) นายจุมพล ริมสาคร ตำแหน่ง กรรมการอิสระ , (6) นายพลจักร นิ่มวัฒนา ตำแหน่ง กรรมการ , (7) นายพลช หุตะเจริญ ตำแหน่ง กรรมการ , (8) รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ตำแหน่ง กรรมการ , (9) นางสาวปภากร รัตนเศรษฐ ตำแหน่ง กรรมการ , (10) นายวีระชัย อมรถกลสุเวชช ตำแหน่ง กรรมการ

(11) นายสดาวุธ เตชะอุบล ตำแหน่ง กรรมการ , (12) นายณัฐกร อธิธนาวานิช ตำแหน่ง กรรมการ , (13) นายอิศรา พุฒตาลศรี ตำแหน่ง กรรมการ , (14) นายธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ ตำแหน่ง กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ