ADVANC กำไร Q3 หด 9% ปรับเป้าปีนี้โต 3.5-4.5% จาก 5-7%

“แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส” ไตรมาส 3/61 กำไร 6.8 พันล้านบาท ลดลง 9% จากงวดปีก่อน ส่วน 9 เดือนยังโต 2% พร้อมปรับเป้ารายได้ปีนี้โตเหลือ 3.5-4.5% สะท้อนตลาดชะลอตัว ส่วนงบลงทุนคงเดิม 2.5 หมื่นล้านบาท

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) แจ้งว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 กำไรสุทธิ 6,800.46 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 2.29 บาท ลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 7,468.97 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 2.51 บาท ส่วนงวด 9 เดือน ปี 2561 กำไรสุทธิ 22,842.88 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 7.68 บาท เพิ่มขึ้น 2.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 22,376.68 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 7.53 บาท

สาเหตุที่กำไรไตรมาส 3/61 ลดลง 9.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 15% เมื่อเทียบไตรมาสที่แล้ว จากค่าเสื่อมราคาที่สูงขึ้น ทั้งนี้ หากไม่รวมรายการพิเศษ EBITDA จะเพิ่มขึ้น 2.1% เทียบกับปีก่อน แต่ลดลง 5.5% โดยมีรายได้รวมเท่ากับ 42,110 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.2% เทียบกับปีก่อน จากการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การรวมรายได้จาก CSL รายได้จากค่าเช่าเครื่องและอุปกรณ์ และรายได้จากการขายซิมและอุปกรณ์อย่างไรก็ตาม รายได้รวมลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนจากการชะลอตัวของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่

พร้อมกันนี้เอไอเอส ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของรายได้สำหรับปี 2561 หลังจากผลดำเนินงาน 9 เดือน ปี 2561 มีรายได้จากการให้บริการหลักเติบโต 3.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนถึงการชะลอตัวของตลาด โดยคาดการณ์การเติบโตของรายได้สำหรับปี 2561 เป็นเติบโต 3.5-4.5% จากคาดการณ์เดิมเติบโต 5-7% อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยังคงคาดการณ์อัตรากำไร EBITDA margin ของทั้งปีไว้ที่ 45-47% โดย 9 เดือนแรกของปีนี้อัตรากำไร EBITDA margin อยู่ที่ 46.2%

ในช่วง 9 เดือนแรก เอไอเอสมีรายได้การให้บริการหลัก (หรือรายได้การให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่ายและค่าเช่าเครื่องและอุปกรณ์) เติบโตร้อยละ 3.9 เทียบกับปีก่อน และได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของรายได้ทัง้ ปีเป็นร้อยละ 3.5-4.5 เพื่อสะท้อนผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรก และการเติบโตของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ชะลอตัวลง เอไอเอสยังคงเน้นการให้บริการโครงข่าย 4G ที่มีคุณภาพพร้อมสร้างการรับรู้ของลูกค้าต่อแบรนด์เอไอเอสให้ดีขึ้น โดยคาดว่าแนวโน้มการย้ายจากระบบเติมเงินไปเป็นระบบรายเดือนจะยังคงมีต่อเนื่อง

เอไอเอส ไฟเบอร์ยังคงเติบโตได้ดีในขณะที่ตลาดยังคงมีการแข่งขันสูง โดยปัจจุบันมีลูกค้ารวมทัง้ สิ้น 676,700 ราย และเน้นการหาลูกค้าที่มีคุณภาพโดยใช้แพ็กเกจ FMC ในการดึงดดู ลูกค้าเพื่อเพิ่มรายได้ตอ่ ครัวเรือนให้สูงขึ้น

ส่วนการเพิกถอน CSL ออกจากตลาดหลักทรัพย์เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการเข้าซื้อ CSL เป็นการดำเนินยุทธศาสตร์สาคัญของเอไอเอสในการเติบโตในตลาดลูกค้าองค์กรในระยะยาว ในปี 2561 นี้ คาดว่าการเติบโตของรายได้การให้บริการหลักจะมีสัดส่วนที่มาจาก CSL น้อยกว่า 2ถ จากผลของการตัดรายได้ระหว่างกันหลังควบรวม

นอกจากนี้ เอไอเอสยังคงแผนการลงทุนสำหรับการขยายโครงข่าย 4G และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเช่นเดิม และคาดว่างบลงทุนที่เป็นเงินสด (ไม่รวมค่าใบอนุญาต) จะอยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท รวมทั้งนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 70% ของกำไรสุทธิ