SCBAM : ติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ หากต่ำคาด ลุ้นตลาดฟื้นตัว

MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 10-14 ก.ค. 66

Highlight ประจำสัปดาห์

๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง โดยกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่สร้างผลตอบแทนดีกว่ากลุ่มหุ้นขนาดกลางขนาดเล็ก รายงานตัวเลขเศรษฐกิจออกมาผสมผสานทั้งดีและแย่ ขณะที่รายงานผลการประชุม Fed (FOMC Minutes) ออกไทนเข้มงวดกดดันตลาดหุ้นระหว่างสัปดาห์ ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงแรงจากความกังวลว่า ECB จะดำเนินนยบายการงินตึงตัวต่อเนื่องท่ามกลางเศรษฐกิจยุโรปที่ซะลอตัว ส่วนทางตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ นำโดยตลาดหุ้นจีนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาต่ำกว่าคาดต่อเนื่องและยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกางการคลังอย่างที่ตลาดคาดหวัง

๐ ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาบวกลบสลับกัน โดยกลุ่มตัวเลขที่ออกมาดี ได้แก่ ด้ชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อกาคบริการ (ISM Services), การจ้างงานกาคเอกซน ADP National Employment และ ค่าจ้างแรงงาน (Average Hourly Earnings) ต่างออกมาดีกว่าคาด ส่วนตัวเลขที่ออกมาแย่ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อกาคการผลิต (1SM Manu.) ออกมาต่ำากว่าคาดและอยู่ในโซนหดตัวต่อเนื่องและการจ้างงานนอกกาคเกษตร (Nonfarm Payroแl) ที่ออกมาต่ำกว่าคาดและเดือนก่อน ทั้งนี้ตัวเลขางต้นยังสนับสนุนมุมมองของเราว่าสหรัฐฯ ยังอยู่ในปลายวัฏจักเศรษฐกิจ

๐ ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ คือ ดัชนีราคาผู้บริโกคสหรัฐฯ (CP1) เดือน มิ.ย. หากรายงานออกมาต่ำากว่าคาด จะสะท้อนถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่ซะลอตัวลงต่อ ส่งผลให้นักลงทุนผ่อนคลายความกังวลว่า Fed จ:ดำเนินการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าตลาดคาดและน่าจะช่วยหนุนตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัว

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง จากความกังวล Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย แม้การจ้างงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้นน้อยกว่คาด แต่ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโงยังไม่ปรับตัวลง สะท้อนภาคแรงงานยังคงตึงตัว ทั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีแนวโน้มเติบโตหนุนจากภาคบริการที่ขยายตัวต่อเนื่อง เราจึงยังคงมุมมองเชิงบวก แนะนำทยอยสะสม

ยุโรป : มุมมองค่อนข้างเป็นลบ แนะนําทยอยลดนํ้าหนัก
ดัชนี Composite PMI ของยูโรโซน เดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงภาพรวมของภาคการผลิตและบริการมีแนวโน้มหดตัวในอนาคต รวมทั้งเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด เป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจยุโรปโดยเฉพาะภาคการส่งออก ส่งผลให้เศรษฐกิจอาจเสี่ยงเกิด Recession เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น แนะนำ ทยอยลดน้ำหนัก

ญี่ปุ่น : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเริ่มมีการพักฐานปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนต่างชาติเริ่มซื้อสุทธิในตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง รวมทั้งเงินเยนมีแนวโน้มแข็งค่ขึ้น ทำให้มีแรงเทขายทำกำไรหลังจากดัชนีปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 33 ปี อย่างไรก็ตามจากภาพรวมเศรษฐกิจ และกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตได้ดี ยังคงเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
รายงานเงินเพื่อ CP1 เดือน มิ.ย. +0.23% YOY ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าแรงกคดันด้านเงินเฟ้อของไทย ยังน้อยกว่าหลายประเทศ เราประเมินว่า นักลงทุนรอความชัดเจนเรื่องการเมืองในประเทศ โดยมีปัจจัยสำคัญสัปดาห์นี้ คือ การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้คาดว่า SET Index น่าจะมีความผันผวนช่วงนี้

จีน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรง โดยเฉพาะ H-shares จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาต่ำกว่าคาดต่อเนื่อง ขณะที่ Goldman Sachs ออกมาปรับลดคำแนะนำหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของจีน เป็น Sentiment เชิงลบกดดันการลงทุนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระยะสั้นคาดตลาดหุ้นจีนมีโอกาสลุ้นฟื้นตัว หากว่าภาครัฐออกนยบายการคลังเพิ่มเติม

อินเดีย : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
หุ้นอินเดียยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่องหลังทำจุดสูงสุดให้เป็นประวัติการณ์ เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นอินเดีย จากโมเมนตัมของราคาและแนวน้มกำไรยังอยู่ในเชิงบวก ขณะที่ระดับมูลค่า (Valuation) ดูตึงตัวน้อยลงจนไม่ได้เป็นปัจจัยกดดันหลักเหมือนช่วงที่ผ่านมาแล้ว ดังนั้นเราจึงแนะนำทยอยสะสมเมื่อตลาดย่อตัว

เกาหลีใต้ : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ค่อนข้างผันผวนเคลื่อนไหวไร้ทิศทางที่ชัดเจนในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เรายังมีมุมมองเชิงบวกโดยคาดว่าระดับ Inventory ของกลุ่ม Semiconductor น่าจะทำจุดต่ำสุดในโตรมาสปัจจุบัน ช่วยหนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะถัดไป โดยหากไม่หลุดเส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วัน อาจมีลุ้นฟื้นตัวกลับ แนะนำเก็งกำไร คาดหวังการ rebound

เวียดนาม : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าภูมิภาค ถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญบางตัวจะชะลอตัวลงแต่เงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ช่วยหนุนให้ภาครัฐยังสามารถดำเนินนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะที่ระดับราคามูลค่ายังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวและต่ำกว่าภูมิภาค ดังนั้นเรามีมุมมองเชิงบวกแนะนำทยอยสะสมลงทุน

ตราสารหนี้
ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
อัตราเงินเพีอไทยทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.23% YoY ต่ำกว่าเดือนก่อนและชะลอตัวลง 6 เดือนติดต่อกัน ส่วนอัตราเงินเฟิอพื้นฐานออกมาต่ำกว่าคาคและเดือนก่อน (+1.32% Vd +1.40% Vs +1.55%YOY) สะท้อนแรงกคดันด้านเงินเพีอที่มีน้ำหนักน้อยลง ทำให้ กนง.อาจปริบขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า ช่วยลดแรงกดดันต่อกลุ่มตราสารหนี้ไทย

ต่างประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ระดับ Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นทั้งระยะสั้น 2 ปีและระยะยาว 10 ปีมาอยู่ที่ระดับ 4.85% และ 4.07% ตามลำดับจากรายงานการประชุม Fed (FOMC Minutes) ที่ยังค่อนข้าง Hawkish ติดตามตัวเลขงินเฟ้อสหธิฐฯ (CPI) หากออกมาต่ำกว่าคาดอาจช่วยหนุนการฟื้นตัวระยะสั้น ทั้งนี้เรามองระดับดอกเบี้ยปัจจุบันน่าสนใจลงทุนระยะกลาง-ยาว

สินทรัพย์ทางเลือก

ทองคำ : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ราคาทองคำปรับตัวลงแต่กลับมาฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาจากค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาอ่อนค่าลง ทั้งนี้ ราคาอาจแกว่งตัวออกข้างระยะสั้น หากนักลงทุนยังคงอยู่ในสภาวะเปิดรับความเสี่ยงต่อไป แต่หากรายงานงินเฟ้อสัปดาห์นี้ออกมาต่ำกว่าคาด อาจกดดันให้ค่างินดอลลาร์ อ่อนค่าลงต่อซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ

น้ำมัน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาน้ำมันดิน WTI ปรับขึ้นฟื้นตัวขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ รวมถึงแรงหนุนจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐลดลง 5 แท่น สู่ระดับ 540 แท่นในรอบสัปดาห์นี้ แสดงถึงอุปทานยังคงตึงตัวต่อไปเรายังคาคว่า WTI จะแกว่งตัวในกรอบกว้างและมีความเสี่ยงขาลงจำกัด แนะนำรอซื้อเก็งกำไรแกวระดับ 85-70 ดอลลาร์/บาร์เรล และขายแถวระดับ 75 ดอลลาร์/บาร์เรล

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
เรามีมุมมองเป็นกลางต่อกลุ่ม REIT สิงคโปร์และไทย จากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่อาจมีอีก 1-2 ครั้ง อาจส่งผลกดดันการฟื้นตัวในระยะสั้น แต่หากรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาดในสัปดาห์นี้ อาจช่วยหนุนการปรับตัวขึ้นของกลุ่ม REITร สิงคโปร์ ส่วน REIT ไทยต้องเลือกเป็นรายอุตสาหกรรมจากการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากัน