SCBAM : เข้าสู่ช่วงเวลาของการพัก

MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 26-30 มิ.ย.66

๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มพักฐานบ้างหลังปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเน่องในช่วงที่ผ่านมา ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลงสัปดาห์แรกในรอบ 2 เดือน ท่าทีของประธาน Fed ยังย้ำจุดยืนดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวต่อไป หากเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมาย ขณะที่ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาทั้งดีและแย่สลับกันไป กล่าวคือ ความต้องการที่อยู่อาศัยขยายตัวแต่ตลาดแรงงานและภาคการผลิตชะลอตัว ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงแรงจากความกังวลเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงต่อเนื่อง โดยธนาคารอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าที่ตลาดคาด สร้างความกังวลว่าจะนำไปสู่เศรษฐกิจถดถอยในยุโรประยะถัดไป

๐ ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ เริ่มเห็นแรงเทขายทำกำไรในตลาดหุ้นญี่ปุ่นหลังปรับตัวขึ้นมาโดดเด่นตลอด 1-2 เดือน เงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ในระดับสูงและเงินเยนที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง อาจกดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นหันมาดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้นในอนาคต ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรงเช่นกัน หลังจากหลายสำนักวิจัยปรับลดคาดการณ์ GDP จีนลง ขณะที่นักลงทุนยังรอมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

๐สัปดาห์นี้ติดตามดัชนีเศรษฐกิจสำคัญทั่งโลก เช่น สหรัฐฯ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน, GDP งวด 1Q66 รอบสุดท้าย และเงินเฟ้อ PCE; ยุโรป: CPI และ Unemployment rate ญี่ปุ่น: Retail Sales และ Industrial Production จีน: PMI Manu & Service และ Industrial Profit

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาผสมผสานทั้งดีและแซ่ โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.เบื้องต้น ลดลงจากเดือนก่อนและต่ำกว่าตลาดคาด ขณะที่ยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและสูงกว่าคาด ส่งผลให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะข้าสู่กาวะถดถอยอาจเลื่อนไปปีหน้า เราจึงยังคงมุมมองเชิงบวก จากภาพเศรษฐกิจและโมเมนตัมตลาดที่เข็งแกร่ง

ยุโรป : มุมมองเป็นลบ แนะนําทยอยลดนํ้าหนัก

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นดอกเบี้ย 50bps สูงกว่าที่ตลาดคาด จากเงินเฟ้อ Core CPI ที่กลับมาสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินในยุโรปยังคงตึงตัวต่อเนื่อง กระทบต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลง สะท้อนจากดัชนี PMI ทั้งภาคการผลิตและบริการ ของยูโรโซนปรับตัวลดลง เราจึงแนะนำ ทยอยลดน้ำหนัก

ญี่ปุ่น : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก

เดือนพ.ค. ชะลอตัวลงมาที่ 3.2%YY จากดือนก่อนหน้าที่ 3.5%YOY แต่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CP1) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า รวมทั้งค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง อาจ
หันมาดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวขึ้น เป็นความเสี่ยงของตลาดหุ้นในระยะถัดไป เราจึงยังคงมุมมองเป็นกลาง (Neutral)

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
SET Index ยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ รวมทั้งเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องในตลาดหุ้นไทย เต่คาดว่า SET Index มีโอกาสเกิด Technical Rebound หลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อน ดัชนีตลาดหุ้นไทย ไม่หลุดแนวรับจิตวิทยาบริเวณ 1,500 จุด

จีน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรงหลังจากขึ้นมาโดดเด่นในช่วงสัปดาห์ก่อน ตลาดยังคงคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากกาครัฐ ถึงแม้จะมีต่อมาตรการสนับสนุน EV เพิ่มเติมแต่ตลาดยังมองว่าไม่เพียงพอต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่หลายสำนักวิจัยเริ่มปรับลดคาดการณ์ GDP ของจีนในปีนี้ลง กดดัน sentiment การลงทุนระยะสั้น

อินเดีย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นทดสอบจุดสูงสุดเดิมระหว่างสัปดาห์แต่ไม่ผ่านและมีแรงเทขายออกมาส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลงในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตสูงและกระแสงินทุนต่างชาติไหลเข้ายังสนับสนุนการลงทุน เราเริ่มมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นอินเดียมากขึ้น แต่ยังรอดูจังหวะข้าลงทุนที่เหมาะสม

เกาหลีใต้ : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปรับตัวลงต่อตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เร่มมีการพักฐานขึ้นหลังปรับตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนจากหุ้นกลุ่ม Semiconductor ที่คาดว่ากำไรน่าจะทำจุดต่ำสุดในไตรมาสปัจจุบัน ขณะที่ราคาาแต่แนวรับของกรอบแนโน้มขาขึ้น หากไม่หลุดจะมีลุ้นฟื้นตัวกลับ แนะนำเก๊งกำไรลุ้นการ rebound

เวียดนาม : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนตลาดหุ้นเวียดนามจากมาตรการภาครัจที่ทยอยออกมาตรการสนับสนนทางการ์เงินและการคลัง เพื่อกระต้นเศรษจกิจและอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวโดยระดับมูลค่าถูกน่าสนใจลงทุนระยะยาว ส่วนภาพทางเทคนิคดูดีมีโมเมนตัมเชิงบวก ดังนั้นแนะนำทยอยสะสมลงทุน

ตราสารหนี้
ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
กนง. มีโอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากมุมมองเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นและความกังวลว่าเงินเฟ้ออาจชะลอลงยากขึ้นในระยะถัดไป โดย SCB EIC คาดว่า กนง. มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งสู่ระดับ 2.50% แต่ตลาดหุ้นโลกอาจผันผวนสูงขึ้นในสัปตาห์นี้ ดังนั้น การพักงินไว้ในตราสารหนี้ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

ต่างประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ระดับ Bond Yield สหรัฐฯ ค่อนข้างทรงตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ออกมาในโทนข้มงวดกว่าตลาดคาดและการเร่งออกพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ของกระทรวงการคลัง อาจเพิ่มความผันผวนต่อราคาตราสารหนี้ทั่วโลกในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ระดับดอกเบี้ยในปัจจุบันถือว่าน่าสนใจลงทุนระยะกลาง-ยาว

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
การส่งสัญญาณ Hawkish ของ Fed ผลักดันให้ Real Yield มีแนวโน้มปรับขึ้นและกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลง (ราคาทองคำมักเคลื่อนไหวสวนทางกับ Real Yield) ภาพเชิงเทคนิค ราคาทองคำหลุดแนวโน้มขาขึ้นและลงมาใกล้แนวรับเส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วัน ซึ่งหากไม่หลุดแนรับ ก็มีโอกาสที่ราคาทองคำจะฟื้นตัวระยะสั้นได้

น้ำมัน : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ราคาน้ำมันดิบ WT1 ปรับตัวลงหลุดระดับ $70/6bโ อีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เรายังคาดว่า WTI จะแกว่งตัวใน โดยมีความเสี่ยงขาลงจำกัดหากไม่กิดเศษฐกิจถตถยยนแรงในสหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่การเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มดีขึ้นในครึ่งปีหลังคาดจะช่วยหนุนอุปสงค์น้ำมัน แนะนำซื้อเก๊งกำไรแถวระดับ 65-75/bbl

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก

REITs สิงคโปร์พักตัวเมื่อสัปดาหที่ผ‹านมา ดŒวยแรงกดดันจาก US Bond Yield ที่อยู‹ในทิศทางปรับขึ้น เนื่องจาก Fed ส‹งสัญญาณว‹า ยังมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกในปีนี้ ส่‹วน REITs ไทย ปรับตัวลงตามทิศทางตลาดหุŒนไทยโดยรวม และความผันผวนของราคาตามปจจัยเฉพาะตัว