SCBAM : ติดตามประชุมธนาคารกลาง ตลาดอาจผันผวนสูงขึ้น

MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 12-16 มิ.ย.66

Highlight ประจำสัปดาห์

๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเป็นการปรับตัวขึ้นที่กระจายหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ได้กระจุกเพียงเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่เป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน นักลงทุนอยู่ในสภาวะ Risk On หลังสภาคองเกรสสหรัฐฯ สามารถผ่านร่างกฎหมายแก้ปัญหาเพดานหนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังปรับตัวขึ้นโดดเด่นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 33 ปีได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดหุ้นจีน Offshore, ตลาดหุ้นไทยและเวียดนามต่างปรับตัวขึ้นได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะตลาดหุ้นเวียดนามที่โมเมนตัมรี่มกลับมาดูดีขึ้นอีกครั้งหลังดัชนี VN index ยืนเหนือ 1,100 จุด

๐ สัปดาห์นี้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) ในวันอังคารที่ 13 มิ.ย. รวมถึงผลการประชุมของเหล่ารนาคารกลางสำคัญ ได้แก่ Fed (13-14 มิ.ย.), BOJ (15-16 มิ.ย.) และ ECB (15 มิ.ย.) โดยนักลงทุนจับตา Fed Dot plot ใหม่ว่าแนวโน้มดอกเบี้ยที่ Fed มองจะเพิ่มสูงขึ้นกว่ารอบก่อนและตลาดคาดมากน้อยแค่ไหน (Dot plot รอบก่อนมองระดับดอกเบี้ยปัจจุบันถึงระดับดอกเบี้ย Terminal rate แล้วที่ 5.00-5.25%) นอกจากนี้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของฝั่งจีน เช่น Retail Sales, Industrial Production, Fixed Asset Investment และ Unemployment rate ทั้งนี้การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญและ Event การประชุมดังกล่าวอาจกลับมาเพิ่มความ
ผันผวนต่อตลาดการเงินให้สูงขึ้นได้อีกครั้ง

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
PMI ทั้งภาคการผลิตและบริการ เดือนพ.ค. ปรับตัวลงจากเดืนก่อนหน้า รวมทั้งตัวเลขแรงงานที่เริ่มคาดหวังว่า Fed อาจจะลดการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวโมเมนตัมที่ดี หลังจากดัชนี S&P500 กลับข้าสู่ตลาดกระทิง (ปรับตัวขึ้นกว่า 20% จากจุดต่ำสุดช่วงเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว)

ยุโรป : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
GDP งวด 1023 ของยุโรป หดตัว 0.1%00Q นับเป็นการหดตัว 2 ตรมาสติดต่อกัน ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาจะถดถอยเชิงเทคนิค ทั้งนี้ตลาดหุ้นยังคงได้ปัจจัยหนุนจาก ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงเติบโตดี และคาดการณ์กำไรตลาดหุ้นยังไม่ได้ถูกปรับลดลง เราจึงมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นยุโรป

ญี่ปุ่น : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
รายงาน GDP งวด 1Q23 ขยายตัว 2.7%YoV สูงกว่าตลาดคาดที่ 1.9% YOY จากภาคธุรกิจมีการลงทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งทั้งค่าจ้างที่แท้จริง (real wages) เดือนเม.ย. ลดลง 3% YOY ซึ่งปรับตัวลง 13 ดือนติดต่อกัน ช่วยหนุน BOJ ดำเนินการเงินผ่อนคลายแบบพิเศษต่อไป ทั้งนี้ระมัดระวังดัชนีอาจมีความเสี่ยงปรับฐานระยะสั้น หลังจากดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างแรงและเร็ว

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
SET Index ปรับตัวขึ้นไดŒดีจากเงินเฟ้อ CPI เดือนพ.ค.ชะลอตัวต‹อเนื่อง อยู‹ที่0.53%YoY และดัชนีความเชื่อมั่นผูŒบริโภคปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจยังเติบโตได้ดี รวมทั้งเริ่มเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย ทั้งนี้ ในระยะสั้นมองว่าตลาดอาจฟื้นตัวขึ้นได้บ้าง แต่อาจเป็นไปอย่างจำกัด เพื่อรอความชัดเจนของปัจจัยทางการเมือง

จีน : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวฟื้นขึ้นรับความคาดหวังว่าภาครัฐจะทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในระยะอันใกล้ ประกอบกับสถาณการณ์ความตึงเครียดการเมืองระหว่างสหรัฐฯ-จีน ดูผ่อนคลายมากขึ้นระยะสั้น หลังรมต.ต่างประเทศ สหรัฐฯ มีแผนเยือนจีนในสัปดาห์นี้ เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนระยะกลาง-ยาว

อินเดีย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นอินเดียมีแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตสูงและเห็นกระแสงินไทยต่างชาติไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากระดับมูลค่า (Valuation) ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตัวเองและภูมิภาคและระดับราคาที่ใกล้แตะระดับสูงสุดอาจเกิดแรงเทขายหรือพักฐานได้หากไม่ผ่านแนวต้านดังกล่าว ดังนั้นเราจึงมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นอินเดีย

เกาหลีใต้ : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้กลับมาปรับตัวขึ้นโดดเด่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตาม sentiment บวกจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่ม Semiconductor สหรัฐฯ โดยภาพทางเทคนิคดูมีโมเมนตัมเชิงบวกและอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น เราจึงแนะนำเก็งกำไรลุ้นการปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่องในระยะสั้น

เวียดนาม : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
VN Index ปรับตัวขึ้นทะลุ 1,100 จุดยืนเหนือระดับคำเส้นเฉลี่ย 200 วัน ส่งผลให้ภาพทางเทคนิคกลับมาดูดีขึ้น คาดว่าจะช่วยสร้าง sentiment บวกและแรงจูงใจในการทยอยกลับมาลงทุนพิ่มเติมของนักลงทุนรายย่อยในประเทศอีกครั้งขณะที่ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลังหนุนการฟื้นตัว แนะนำทยอยลงทุน

ตราสารหนี้
ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
รายงานตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานของไทยออกมาต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะตัวเลขงินเฟ้อทั่วไปที่ออกมาต่ำกว่าค่อนข้างมากเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงแรงในช่วงที่ผ่านมา ช่วยลดความกังวลเงินเฟ่อและเพิ่มความคาดหวังว่าแนวโน้มดอกเบี้ยไทยใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว หนุน sentiment บวกต่อการลงทุนตราสารหนี้ไทย

ต่างประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยโดยอายุ 2 ปีและอายุ 10 ปีอยู่ที่ 4.60% และ 3.74% ตามลำดับ ระยะสั้นอาจได้รับแรงกดดันจากการเร่งออก supply พันธบัตรสหรัฐฯ หลัง Debt Ceiling คลี่คลาย รวมถึงการประชุ่มของเหล่าธนาคารกลางในสัปดาห์นี้ (Fed, ECB, BOJ) อาจเพิ่มความผันผวนต่อราคาตราสารหนี้ทั่วโลกได้เช่นกัน
สินทรัพย์ทางเลือก

ทองคำ : มุมมองค่อนข้างเป็šนบวก แนะนําทยอยสะสม
ราคาทองคำปรับตัวฟื้นขึ้นมาได้เล็กน้อยในสัปตาห์ที่ผ่านมา แต่ยังต่ำกว่าระดับ US$2,000/0z ทั้งนี้เราคาดหวังโอกาสฟื้นตัวระยะสั้นจากดัชนี Dollar Index ที่มีโอกาสอ่อนค่าลง ถ้าหาก Fed ไม่ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนนี้ตามที่ตลาดคาดและไม่ได้ให้ Dot plot ที่ดูข้มงวดกว่าตลาดคาดหวังมากจนเกินไป

น้ำมัน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงมาอยู่แถวระดับ $70/bbl อีกครั้งในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยถูกกดดันจากการที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างมากในวันศุกร์ที่ผ่านมาคงความวิตกด้านอุปสงค์น้ำมันในฤดูร้อนชะลอตัว ทั้งนี้เรายังมองแนวโน้มราคา WT1 แกว่งตัวในกรอบกว้าง แนะนำซื้อเก็งกำไรแถว $65-75/bbI, ขายทำกำไรแถว $80-85/bbl

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน
: มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
แนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ ใกล้ถึงจุดสูงสุดช่วยลดแรงกดดันในกลุ่ม REITร สิงคโปร์ ทั้งนี้ติดตามการประชุม Fed เดือนมิ.ย. หากออก Dot plot ใหม่ข้มงวดกว่าตลาดคาดอาจส่งผลต่อราคา REITร สิงคโปร์ในระยะสั้น ขณะที่ REITร ไทยต้องพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมจากการฟื้นตัวอาจไม่เท่ากันและบรรยากาศการลงทุนอาจยังไม่โดดเด่นมากนัก