หลายสัปดาห์ก่อน ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมคนสูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2565 หลายคนก็เลยงง คำว่าสังคมคนสูงอายุโดยสมบูรณ์คือ อะไร และสำคัญยังไง
สังคมคนสูงอายุโดยสมบูรณ์ คำนี้ เป็นคำที่องค์การสหประชาชาติใช้ในการประเมินว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งจะก้าวเข้าสู่สังคมคนสูงอายุ โดยแบ่งเป็น
• สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เมื่อประชากรที่เกษียณอายุแล้ว คือ 60 ปีหรือ 65 ปี ขึ้นไป มีสัดส่วนเกินร้อยละ 10 หรือร้อยละ 7 ตามลำดับ (ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 คือกว่า 13 ปีแล้ว)
• สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อมีสัดส่วนเกินร้อยละ20 และร้อยละ 14 ตามลำดับ (อันนี้แหละที่ ธปท. ประเมินไทยจะเป็น Aged Society ปี 2565)
เมื่อประเทศไหนเป็นสังคมคนสูงอายุแล้ว คนที่ลำบากแน่ๆเลยก็คือ คนสูงอายุนั่นเอง เพราะเมื่อคนสูงอายุมีมาก แต่คนที่มีกำลังหาเงินมีน้อย ลองนึกดูง่ายๆ อย่างในครอบครัวเราเอง หากมีคุณพ่อ คุณแม่ที่อายุเยอะๆ ไม่มีรายได้ มีปัญหาสุขภาพ และทั้งครอบครัวมีเราทำงานเลี้ยงดูเพียงคนเดียว ภาระจะหนักมากน้อยแค่ไหน และคุณภาพชีวิตจะดีหรือไม่
ดังนั้น เราจึงมักเห็นภาพคนสูงอายุหลายๆคนที่มีปัญหาในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะเรื่องรายได้ และการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งนั่นคือภาพที่เราเห็น แต่เราอยากรู้หรือไม่ครับว่า จริงๆแล้วคนสูงอายุ เขาคิดอะไรอยู่
เมื่อปีที่ผ่านมา สำนักข่าว Daily Mail อังกฤษ ออกสัมภาษณ์คนอายุเกิน 60 ปีว่า ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา รู้สึกเสียดายอะไรมากที่สุด และหากย้อนเวลากลับได้จะทำตัวใหม่ให้ต่างจากเดิม
คำตอบมากที่สุดมี 7 คำตอบ เรียงตามลำดับคำตอบที่มีคนตอบมากที่สุดดังนี้
1.ถ้าย้อนเวลากลับได้ จะเชื่อฟังพ่อแม่มากกว่านี้ เพราะพ่อแม่รู้จักเราดีและ หวังดีต่อเรา แม้เมื่อเราโตแล้ว สิ่งที่พ่อแม่พูดก็มีค่าควรฟังhttps://hoonsmart.com/wp-admin/post.php?post=3103&action=edit#
2. จะทำสิ่งที่อยากทำ เพราะเสียดายเวลาและโอกาสมากที่ตอนมีกำลังวังชากลับ ไม่กล้าทำ เพราะกลัวล้มเหลว พออายุ 60 แล้วถึงตระหนักว่า ความล้มเหลวหนักที่สุดของ มนุษย์คือการไม่ทำ
3. การเดินทาง คนอายุเกิน 60 ทั้งหมดพูดเหมือนกันว่า ตอนที่ไปไหนได้คล่อง ดันไม่ไป ไม่มีเวลาบ้าง ไม่มีเงินบ้าง แล้วแต่จะอ้างกัน มาวันนี้มีเงิน มีเวลา แต่จะไปไหนๆก็ไม่สะดวก เหมือนก่อนแล้วยิ่งแก่ยิ่งไปยากใครที่ยังไหวจึง ควรไปเที่ยวเสีย คนที่ยังหนุ่มสาวก็ควรไป เพราะจะคล่องตัวและทำ กิจกรรมต่างๆได้ดีกว่า ตอนแก่เยอะเลย
4.จะพูดคำว่ารักให้มากขึ้น ไม่ว่าจะบอกรักพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ป้าน้าอาลุง หลานเหลน โดยเฉพาะลูก และสามี ภรรยา บางที่เรานึกเองว่าเราทำ อะไรให้ตั้งเยอะ น่าจะรู้ แล้วว่ารักแต่ที่จริงถ้าเรา ไม่เอ่ยคำว่ารักก็เหมือนกับ หัวใจไม่ยอมเปิดและคน รอบข้างเขาจะขาดความมั่นใจโดยเฉพาะลูกที่พ่อแม่ ไม่เคยบอกว่ารักจะขาดความมั่นใจมาก ๆ
5.จะเป็นตัวของตัวเอง มากกว่าที่เคยเป็นตอนหนุ่ม สาว และตอนทำงาน บางทีต้องทำเป็นชอบอะไร ตามสมัยให้เหมือนคนอื่น บางทีไม่กล้าแปลกแยก พอแก่แล้วถึงเข้าใจได้ว่า คนเราไม่สามารเหมือนคน อื่นและเหมือนตัวเองได้ พร้อมกันและเมื่อมองย้อน อดีต จะเห็นชัดเจนว่า คนเงินเดือนสูงและประสบ ความสำเร็จนั้นมักจะเป็นคนที่ไม่พยายามทำตัวให้เหมือนคนอื่น
6.เปลี่ยนงานหากงานที่ทำมันบั่นทอนจิตใจ มันหนักไป ถูกเอาเปรียบมากไป หรือมีปัญหาอื่น คนวัยเกิน60บอกว่า นึกไม่ออกว่าทำไมไม่หางาน ใหม่ ไปทนทำอยู่ทำไม
7.ถ้าย้อนเวลากลับได้ คนวัยเกษียณบอกว่าจะกังวล กับเรื่องต่างๆให้น้อยลง เพราะที่ผ่านมามัวไปกังวล เรื่องบ้าบอคอแตกมากมาย โดยไม่เกิดผลอะไรเลย กังวลแล้วทุกเรื่องก็จบลงได้ โดยที่ความกังวลไม่ได้ทำให้ จบลงดีหรือเลวกว่าเดิม
แล้วถ้ามาลองถามความรู้สึกคนสูงอายุไทยบ้างล่ะ เขาคิดอะไรอยู่
หลายปีก่อน Ernst & Young ได้ทำวิจัย Ernst & Young Retirement Survey สำรวจเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
• 49% กล่าวว่า อยากศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการเพื่อวัยเกษียณให้มากกว่านี้
• 46% อยากทำงบประมาณที่ดีกว่านี้เพื่อความถูกต้องของจำนวนเงินที่ต้องการเงินในยามเกษียณ
• 46% กล่าวว่า อยากเริ่มวางแผนให้เร็วกว่านี้
• 31% ต้องการขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาทางการเงิน!
หากตอนนี้เรายังมีเวลาอีกเยอะ ลองมองความคิดของคนสูงอายุตอนนี้เป็นจดหมายเตือนก็ดีนะ ดีกว่ามาบ่น รู้งี้ เสียดาย และเสียใจภายหลัง