HoonSmart.com>> “Private Credit” หนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือก โอกาสสร้างผลตอบแทนจาก “การปล่อยกู้ให้บริษัทเอกชนโดยตรง” อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 15 ปีสูง 9-10% ต่อปี ด้าน “บลจ.เอ็มเอฟซี” (MFC) ชูกองทุน MPCREDIT-UI กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ เน้นปล่อยกู้บริษัทคุณภาพดี มั่นคง โอกาสรับผลตอบแทนสม่ำเสมอ แนะกระจายการลงทุน ช่วยลดความเสี่ยงพอร์ต ท่ามกลางภาวะตลาดผันผวน ผ่านกองทุนหลักบริหารจัดการโดย Apollo Asset Management เบอร์ 1 ด้านการลงทุน Private Credit
“Private Credit” หรือการให้สินเชื่อนอกตลาด หนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือกที่สร้างผลตอบแทนจากการปล่อยกู้โดยตรง (Direct Lending) โดยกองทุนจะนำเงินไปปล่อยกู้ให้กับบริษัทเอกชนคุณภาพดี และส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน (Senior Secured Debt) เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากผู้กู้ กองทุนก็จะนำเงินมาจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุน
“การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก Private Credit มีมากว่า 20 ปีในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ยังใหม่ในประเทศไทย ซึ่งการลงทุนมีหลายแบบและที่นิยม คือ การปล่อยสินเชื่อโดยตรงใหับริษัท โดยผู้ให้กู้ที่ไม่ใช่ธนาคาร จึงมีการเรียกหลักประกัน รวมถึงเงื่อนไขพิเศษ เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้ ทำให้ Private Credit ให้ผลตอบแทนที่ดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง” นายเชาวน์กร โชติบัณฑ์ Head of Investment Strategy บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี (MFC) กล่าว
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของ Private Credit จะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว บวกกับอัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มเพื่อชดเชยความเสี่ยงด้านเครดิต (Floating Rate + Spread) ซึ่งปัจจุบันตลาดอยู่ในช่วงที่มี Yield สูง จากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสหรัฐฯ (Floating Rate) ที่อยู่ระดับสูงตามดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นมาอยู่จุดสูงสุดแล้ว จึงทำให้ Private Credit ให้ Yield ที่อยู่ระดับสูงน่าสนใจ
จากข้อมูลผลตอบแทนของ Cliffwater Direct Lending Index (CDLI) ตั้งแต่ปี ก.ย. 2547 – ธ.ค. 2566 ให้ผลตอบแทนในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 9.46% ต่อปี และมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้เฉลี่ยใน 10 ปี อยู่ระดับต่ำ โดยมี Credit Loss อยู่ที่ 0.96% ทำให้เป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่มีผลตอบแทนน่าสนใจเมื่อเทียบกับความเสี่ยง (วัดโดย Volatility) ที่น่าสนใจ
“Private Credit จึงมีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ เช่น Investment Grade Bond ไปจนถึง High Yield Bond ขณะเดียวกันยังมีความสัมพันธ์ต่ำกับตลาดทุนโดยรวม จึงช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน”
ขณะที่ตลาด Private Credit มีมูลค่าตลาดใหญ่ถึง 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2566 และมีการคาดการณ์ว่ามีโอาสเติบโตถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2571 โตเฉลี่ยปีละ 12% ซึ่งสะท้องถึงความน่าสนใจและโอกาสในการลงทุน
หากมองทางด้านความเสี่ยงโดยรวมของ Private Credit อยู่ที่การผิดนัดชำระหนี้( Default) ดังนั้นในการลงทุนจึงต้องเลือกกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์อย่างยาวนาน
สำหรับ “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไพรเวท เครดิต โซลูชั่น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (MPCREDIT-UI)” ลงทุนในกองทุนหลัก “Apollo Debt Solutions BDC iCapital Offshore Access Fund SPC” บริหารโดย pollo Asset Management ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนหลัก ก่อตั้งปี 1990 ภายใต้ AUM 651 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นหนึ่งในด้านการลงทุนใน Alternative Credit ภายใต้สินทรัพย์บริหาร 460 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
จุดเด่นของกองทุน
- ภายใต้ Apollo Global Corporate Credit (“GCC”) การลงทุนมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ เฉลี่ยต่ำที่ 0.1% ต่อปี และมีอัตราการสูญเสียน้อยกว่า 0.04% ต่อปี (2009-Sep 2023)
- กองทุน ADS Apollo Debt Solutions BDC (กองทุนอ้างอิง) ได้รับการจัดอันดับเครดิต investment grade BBB- โดย S&P และ Baa3 โดย Moody’s
พอร์ตการลงทุนเดือน เม.ย 2567 - กลยุทธ์เน้นปล่อยกู้โดยตรงให้แก่บริษัทเอกชนสหรัฐ ขนาดใหญ่ คุณภาพดี
- ปล่อยกู้บริษัท 230 บริษัท (โดยมี EBITDA เฉลี่ย 228 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ของพอร์ตการลงทุน)
- กระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย Software 12.7%, Health Care 9.6%, Commercial Service 9.5% , Financial Service 5.0% ,Insurance 4.7%
- มีหลักประกัน และ 100% First Lien สิทธิได้รับชำระก่อนเป็นลำดับแรก
- Floating rate 96% มี Average Loan to Value (LTV) ของพอร์ตที่ระดับ 39%
- Annualized Distribution Yield 9.66% (USD)Net Asset Value 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแหล่งที่มา Apollo Debt Solutions Fund Fact sheet as of April 2024
ทั้งนี้ สินทรัพย์ประเภท Private Credit สำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
กองทุนนี้ไม่ถูกจํากัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป และลงทุนกระจุกตัวในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่อง ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก