SCBAM : เงินเฟ้อสหรัฐฯ ตํ่าคาดเล็กน้อย หนุน Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย

SCBAM : MARKET INSIGHT ประจําวันที่ 15-19 พ.ค. 66

HighLight ประจำสัปดาห์

๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ บวกลบสลับกัน ดัชนี S&P500 -0.30%, ดัชนี NASDAQ +0.4% รายงานอัตราเงินเฟ้อผูŒบริโภคสหรัฐฯ (CPI) ออกมาตํ่ากว๋าคาดเล็กน็อย ขณะที่งานเปิดตัว AI Platform ใหม่ของ Alphabet ช่๋วยหนุน Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ๋มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปทรงตัว ถึงแม้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนโดยรวมออกมาขยายตัวและดีกว่าคาด แต่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อีก 25bps พร้อมแสดงท่าทีเข้มงวดต่อไปเพื่อคุมเงินเฟ้อกดดันบรรยากาศการลงทุน ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวผสมผสาน ตลาดหุ้นจีนและเกาหลีใต้ถูกแรงเทขาย ขณะที่เห็นการฟื้นตัวที่ดีของตลาดหุ้นอินเดีย, ไทยและเวียดนาม

๐ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย. สหรัฐฯ (Headline CPI) ออกมาตํ่ากว่าคาดเล็กน้อย (4.9% vs est. 5.0%YoY) แต่รายเดือนตามคาด (0.4% vs est. 0.4%MoM) ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ออกมาตามคาด (5.5% vs est. 5.5%YoY, 0.4% vs est. 0.4%MoM) จากการรายงานดังกล่าวสนับสนุนแนวโน้มเงินเฟ้อชะลอตัวลงต่อเนื่องและเพิ่มโอกาสที่ Fed จะหยุดขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามความคาดหวังเงินเฟ้อผู้บริโภคสหรัฐฯ ระยะ 5 ปี‚ ที่ออกมาสูงกว่าคาด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (3.2% vs est. 2.9%YoY) ทําให้ตลาดกลับมากังวลเรื่องดอกเบี้ยอาจค้างนานกว่าที่คาดอีกครั้ง

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา
รายงานเงินเฟ้อ CPI เดือน เม.ย. อยู่ที่ 4.9%YoY ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และตํ่ากว่าตลาดคาด หนุนความคาดหวัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้Œตลาดหุ้นสหรัฐฯฟื้นตัวได้ในระยะสั้น โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ทั้งนี้ตลาดหุ้นยังมีความเสี่ยงในเรื่องเพดานหนี้สหรัฐฯ และความกังวลสภาพคล่องในภาคธนาคาร จึงมองว่าตลาดหุ้นยังคงผันผวนสูง

ยุโรป
BOE ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps สู่ระดับ 4.5% ตามคาด โดยเน้นยํ้าถึงความจําเป็นในการดําเนินนโยบายการเงินตึงตัวต่อเนื่อง เพื่อคุมเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นยุโรป ทั้งนี้ ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปที่ลดลง และกําไรบริษัทจดทะเบียนรอบ 1Q66 ที่ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นยุโรปในช‹วงนี้

ญี่ปุ่น
รายงานดัชนี Composite PMI เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 52.9 สะท้อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มขยายตัวดี รวมทั้ง BOJ ยังคงดําเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย จึงเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นต่อได้ ทั้งนี้ ระมัดระวังดัชนีอาจมีความเสี่ยงปรับฐานในระยะข้างหน้า หลังจากปรับตัวขึ้นมาใกล้ระดับสูงสุดเดิม

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย
SET Index ปรับตัวขึ้น จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคภายในประเทศ สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งได้แรงหนุนจากช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี สัปดาห์นี้ ความผันผวนของตลาดหุ้นไทย อาจเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยการเมือง คือ ผลการเลือกตั้งและการจับขั้วตั้งรัฐบาล

จีน
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงโดยถูกกดดันจากการที่จีนเปิดเผยข้อมูลการค้าและเงินเฟ้อที่น่าผิดหวังเมื่อสัปดาห์ก่อน สร้างความกังวลต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีนี้อาจช้ากว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า รวมถึงรายงานงบ 1Q66 โดยรวมออกมาค่อนข้างสร้างความผิดหวังต่อนักลงทุน ทั้งนี้เรายังเชื่อมั่นต่อโอกาสฟื้นตัวในระยะข้างหน้า แนะนําทยอยสะสมลงทุน

อินเดีย
ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวฟื้นขึ้นได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงแม้้ระดับมูลค่า (Valuation) ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตัวเองและภูมิภาค แต่แนวโน้มกําไรบริษัทและภาพทางเทคนิคที่ดูมีโมเมนตัมดีขึ้น อาจช่วยหนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะสั้น ดังนั้นเราจึงมีมุมมองเป็นกลางต่อการลงทุนตลาดหุ้นอินเดีย

เกาหลีใต้
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปรับตัวลงต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเห็นกระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกและงบ 1Q66 ที่โดยรวมออกมาอ่อนแอโดยเฉพาะกลุ่ม Semi ส่วนใหญ่่ยังให้ Negative Guidance สําหรับ 2Q66 ทั้งนี้เราคาดว่า สต็อกสินค้าของกลุ่่ม Semi น่าจะถึงจุดตํ่าสุดในช่วง 2Q-3Q66 หากไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง

เวียดนาม
ภาครัฐทยอยออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลัง ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า แต่การรายงานงบของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่ยังดูชะลอตัวและตํ่ากว่าคาด จํากัดการฟื้นตัวในระยะสั้น เราแนะนําทยอยสะสมเมื่อตลาดหุ้นย่อตัว

ตราสารหนี้

ในประเทศ
Bond Yield ไทย มีแนวโน้มทรงตัวราว 1.96% สําหรับอายุ 2 ปี‚ และ 2.50% สําหรับอายุ 10 ปี‚ ทั้งนี้การประชุม กนง.ช‹วงปลายเดือนนี้ (31 พ.ค.) หากขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมอาจส่‹งผลกดดันราคาตราสารหนี้ไทยระยะสั้น แต‹เรามองเป็นโอกาสสะสมลงทุนเพิ่มเติม โดยการถือตราสารหนี้ในประเทศจะช่‹วยกระจายความเสี่ยงและเสริมสภาพคล‹องของพอร์ต

ต่างประเทศ
Bond Yield สหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัวราว 3.99% สําหรับอายุ 2 ปี และ 3.46% สําหรับอายุ 10 ปี ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ ที่ออกมาตํ่าคาดเล็กน้อยช่วยหนุน sentiment การลงทุนในกลุ่มดังกล่าว รวมถึงอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่อยู่ระดับสูงจูงใจลงทุนเพื่อรับกระแสเงินสดเช่นกัน ดังนั้นเราคงคําแนะนําทยอยสะสมลงทุน

สินทรัพย์ทางเลือก

ทองคํา
ราคาทองคํายังสามารถแกว่งตัวยืนเหนือระดับ US$2,000/Oz จากปัจจัยสนับสนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงเวลาที่นักลงทุนกังวลเศรษฐกิจถดถอยและการที่ Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย ทั้งนี้เรามองว่่าทองคํามีความเสี่ยงถูกเทขายทํากําไรไดŒหากนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

นํ้ามัน
ราคานํ้ามัน WTI ยังแกว่งตัวผันผวนแถวระดับ US$70/bbl นักลงทุนยังกังวลภาพเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ และยุโรปขณะที่เศรษฐกิจจีนอาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด สร้างความกังวลอุปสงค์ชะลอตัว นอกจากนี้รายงานสต็อกนํ้ามันดิบสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าคาดส่ง sentiment ลบเพิ่มเติม ทั้งนี้เรามองเป็นโอกาสเก็งกําไรและคาดหวังการฟื้นตัวกลับ

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน
เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ REITs สิงคโปร์ มากขึ้นหลัง Fed เริ่มส‹งสัญญาณอาจขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย ซึ่งมักจะเป็นปัจจัยหนุนต่อราคากลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ผลประกอบการที่ออกมาโดยรวมยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ขณะที่ฝั่ง REITs ไทยอาจต้องพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมจากการฟื้นตัวอาจไม่เท่ากันและกระแสเงินทุนยังไม่ได้หันกลับมาลงทุนมากนัก