SCBAM : Fed ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด ส่งสัญญาณเตรียมหยุดขึ้น

SCBAM
MARKET INSIGHT ประจําวันที่ 8-12 พ.ค. 66

Highlight ประจำสัปดาห์
๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ค่อนข้างผันผวนในรอบสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี S&P500 -0.80% ขณะที่ ดัชนี NASDAQ +0.07% ผลการประชุม Fed ออกมาตามคาด ด้านการรายงานงบ 1Q66 และดัชนีเศรษฐกิจออกมาในทิศทางบวกช่วยลดความกังวลเศรษฐกิจถดถอยลงไปได้บ้าง ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงเล็กน้อย นักลงทุนเริ่มกลับมาให้นํ้าหนักกับปัจจัยลบจากแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของ ECB ส่วนตลาดหุ้นเอเชียฟื้นตัวเป็นส่วนใหญ่ นําโดยจีนที่กลับมาจากวันหยุดยาววันแรงงานและญี่ปุ่นยังมี sentiment บวกต่อเนื่องหลัง BOJ ยังยึดนโยบายการเงินผ่อนคลาย

๐ ผลการประชุม Fed มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps เป็น 5.00-5.25% ตามตลาดคาด โดย Statement ของ Fed ส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ย (Pause) แต่่ถ้อยแถลงของประธาน Fed ยังยืนยันจะพิจารณาจากชุดข้อมูลเป็นหลัก (Data Dependent) โดยมองความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น แต่ยังเชื่อว่าจะมีโอกาสไม่เกิดขึ้นมากกว่า ขณะที่ผลการประชุม ECB มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps ตามตลาดคาด โดยระบุว่าเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มอยู่สูง ทําให้นักลงทุนคาดว่า ECB จะยังเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในระยะข้างหน้า

๐ รายงานงบ 1Q66 สหรัฐฯ ออกมาแล้ว 85% ของจํานวนบริษัททั้งหมดในดัชนี S&P500 โดยมีสูงถึง 79% ที่รายงานกําไรดีกว่าคาด ขณะที่มี 44 บริษัทใหญ่ Earnings Guidance เป็นลบ และ 35 บริษัทให้ Earnings Guidance เป็šนบวกสําหรับ 2Q66 (ขŒอมูลจาก FactSet ณ วันที่ 5 พ.ค.)

หุ้นกลุ่่มประเทศพัฒนาแล้ว
สหรัฐอเมริกา
Fed มีมติขึ้นดอกเบี้ย 25bps มาอยู่ที่ 5.0-5.25% ตามตลาดคาด แต่่ส่งสัญญาณไม่มีการลดดอกเบี้ยในช่วงนี้ ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานเดือน เม.ย.ยังคงแข็งแกร่ง กดดันเงินเฟ้ออยู่ระดับสูงยาวนาน และ Fed อาจต้องคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง รวมทั้งมีความกังวลเรื่องเพดานหนี้สหรัฐฯ เป็นปัจจัยกดดันตลาดเพิ่มเติม จึงมองว่าตลาดหุ้นอาจแกว่งตัวผันผวนสูงขึ้น

ยุโรป
ECB มีมติขึ้นดอกเบี้ย 25bps ตามตลาดคาด ขณะที่รายงานเงินเฟ้อ CPI เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นมาที่ 7%YoY สูงกว่าคาด สะท้อน ECB ยังคงต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง แต่ตลาดหุ้นยุโรปได้ปัจจัยหนุนจากกําไรบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าค่าดและมีการปรับคาดการณ์กําไรตลาดขึ้น ทั้งนี้ระมัดระวังอาจมีแรงขายทํากําไร หลังจากดัชนีปรับตัวขึ้นสูง

ญี่ปุ่น
ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นในเรื่องนโยบายการเงินคลี่คลายลง หลังจาก BOJ ยังคงดําเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติมีการกลับเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้นญี่ปุ่นต่อเนื่อง และด้วยมูลค่า P/E Ratio ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นอยู่ในระดับที่ไม่แพง จึงเป็นปัจจัยหนุนดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับหลายตลาด

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่
ไทย
รายงานเงินเฟ้อ CPI เดือน เม.ย. อยู่ที่ 2.67%YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และตํ่ากว่าตลาดคาด ขณะที่ PMI ภาคการผลิตของไทยเดือน เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น มาที่ 60.4 สะท้อนภาพเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต‹อเนื่อง และเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้ดี ทั้งนี้ เราประเมินว่า SET Index มีโอกาสฟื้นตัวทางเทคนิค หลังจากปรับตัวลงมาใกล้แนวรับบริเวณ 1,515-1,520 จุด

จีน
ตลาดหุ้นจีน Offshore ปรับตัวขึ้น ขณะที่ตลาดหุ้นจีน Onshore ปรับตัวลงเล็กน้อยหลังวันหยุดยาวจากวันแรงงาน นักลงทุนยังระมัดระวังจากภาคการผลิตที่ยังไม่ค่อยฟื้นตัวและภาคบริการที่ฟื้นตัวแต่อาจไม่ร้อนแรงอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้าทั้งนี้ เราเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนมีโอกาสฟื้นตัวดีขึ้นในระยะข้างหน้า แนะนําทยอยสะสมลงทุน

อินเดีย
ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นได้ก่อนที่จะปรับตัวลงแรงเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน นําโดย HDFC Bank และ HDFC ทั้งนี้เรามีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นอินเดีย ถึงแม้ระดับมูลค่า (Valuation) ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตัวเองและภูมิภาค แต่แนวโน้มกําไรบริษัทและภาพทางเทคนิคที่ดูมีโมเมนตัมดีขึ้น อาจช่วยหนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะสั้น

เกาหลีใต้
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เริ่มทรงตัวหลังปรับตัวลงแรงในสัปดาห์ก่อนหน้าจากการรายงานงบของกลุ่ม Semi ส่วนใหญ่่ยังให้ Guidance ไม่ค่อยดีนักสําหรับ 2Q23 ทั้งนี้เราคาดว่าวัฏจักร สต๊อกสินค้าของกลุ่ม Semi น่าจะถึงจุดตํ่าสุดในช่วง 2Q-3Q23 หากไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงจนฉุดอุปสงค์ลงเพิ่มเติม แนะนําทยอยสะสมลงทุนเมื่อตลาดปรับตัวลงมา

เวียดนาม
ภาครัฐทยอยออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลัง ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในระยข้างหน้า แต่การรายงานงบของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่ยังดูชะลอตัวและตํ่ากว่าคาด จํากัดการฟื้นตัวในระยะสั้น เราแนะนําทยอยสะสมเมื่อตลาดหุ้นย่อตัว

ตราสารหนี้
ในประเทศ
รายงานอัตราเงินเฟ้อไทยเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 2.67% YoY ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และตํ่าสุดในรอบ 16 เดือน ช่วยลดแรงกดดันการขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ในการประชุมครั้งหน้า เรามองว่าการถือตราสารหนี้ในประเทศช่วงนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงและเสริมสภาพคล่องของพอร์ต เพื่อรอจังหวะกลับเข้าไปเพิ่มนํ้าหนักในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง

ต่างประเทศ
Bond Yield สหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัวราว 3.91% สําหรับอายุ 2 ปี และ 3.44% ผลการประชุม Fed ออกมาตามคาดโดยการส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายถือเป็นปัจจัยหนุนต่อราคากลุ่มตราสารหนี้ทั่วโลกในระยะข้างหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ระดับสูงจูงใจลงทุนเพื่อรับกระแสเงินสดเช่นกัน เราคงคําแนะนําทยอยสะสม

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคํา
ราคาทองคําขึ้นมาทะลุแนว US$2,000/Oz แต่ความผันผวนสูง ผลการประชุม Fed ออกมาตามคาดโดยการส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายถือเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาทองคําเช่นกัน แต่เรามองว่าทองคํามีความเสี่ยงถูกเทขายทํากําไรได้ หากนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

นํ้ามัน
ราคานํ้ามัน WTI แกว่งตัวผันผวนรุนแรง โดยปรับลงตํ่ากว่าระดับ US$70/bbl ระหว่างสัปดาห์ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นกลับมาปิดบริเวณ US$71/bbl นักลงทุนยังคงกังวลภาพเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่เศรษฐกิจจีนอาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด สร้างความกังวลอุปสงคชะลอตัว ทั้งนี้ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงอาจเข้าซื้อเก็งกําไรระยะสั้น

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน
การประชุม Fed เดือน พ.ค. ออกมาตามคาด และส่งสัญญาณว่า มีโอกาสหยุดขึ้นดอกเบี้ย (Pause) ทําให้ Bond Yield มีทิศทางทรงตัวและไม่ได้ผันผวนมากเหมือนปีก่อน ส่งผลบวกต่อกลุ่ม REITs ที่มี Sentiment การลงทุนเชื่อมโยงกับทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ และ Bond Yield ค่อนข้างมาก