HoonSmart.com>> “จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล” เปิดงบปี 65 ขาดทุนสุทธิ 2,028 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% จากปี 64 ขาดทุน 1,501 ล้านบาท รายได้รวมลดลง 0.4% ด้านค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่ม สำรองหนี้ลูกหนี้ค้างชำระของ TTTBB ขณะที่ต้นทุนขายสูงขึ้น 1,123 ล้านบาท จากต้นทุนธุรกิจเหมืองขุดบิทคอยน์ ค่าเช่าวงจรเชื่อมต่อค่าคอนเทนต์และบุ๊กประมาณการค่าเสียหายคดีพิพาทระหว่าง TTTBB กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2565 ขาดทุนสุทธิ 2,028.59 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.24 บาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 528 ล้านบาท คิดเป็น 35% จากปี 2564 ขาดทุนสุทธิ 1,500.70 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.17 บาท
บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมจากการดำเนินงานในปี 2565 อยู่ที่ 20,281 ล้านบาท (ไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 24 ล้านบาท) ลดลง 90 ล้านบาท คิดเป็น 0.4% จากปี 2564 มีจำนวน 20,371 ล้านบาท และมี EBITDA อยู่ที่ 12,995 ล้านบาท ลดลง 653 ล้านบาท คิดเป็น 5% เมื่อเทียบกับปี 2564
ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวน 19,105 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 930 ล้านบาท หรือ 5% และมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจำนวน 4,499 ล้านบาท ลดลง 193 ล้านบาท หรือลดลง 4% นอกจากนี้มีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน 207 ล้านบาท ตามนโยบายการตั้งสำรองตามอายุหนี้ของลูกหนี้ที่ค้างชำระของ TTTBB
ต้นทุนขายและบริการจำนวน 14,606 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,123 ล้านบาท คิดเป็น 8% โดยต้นทุนหลักๆ มาจากต้นทุนธุรกิจเหมืองขุดบิตคอยน์ ค่าเช่าวงจรเชื่อมต่อค่าคอนเทนต์ เพิ่มขึ้น รวมถึงมีการบันทึกประมาณการค่าเสียหายจากคดีพิพาทของ TTTBB กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 231 ล้านบาท
ต้นทุนค่าเช่าในส่วนสัญญาประกันรายได้ (สัญญาเช่า 20%) ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากรายการปรับปรุงสำรองประกันรายได้ค่าเช่า OFC ของ JASIF จากการเปลี่ยนแปลงสมมติฐานอัตราคิดลดและอัตราการเพิ่มของค่าเช่า ซึ่งมีผลกระทบต่อการบันทึกต้นทุนค่าเช่า OFC สำหรับสำรองประกันรายได้ค่าเช่าในปี 2565 โดยต้นทุนค่าเช่า OFC เป็นยอดสุทธิจากค่าเสื่อมราคา-สินทรัพย์สิทธิการใช้และค่าเช่า OFC ตามสัญญาประกันรายได้หลังหักรายการตัดจำหน่ายสำรองประกันรายได้ค่าเช่าและปรับปรุงสำรองประกันรายได้ค่าเช่า OFC ของ JASIF จากการเปลี่ยนแปลงสมมติฐานอัตราคิดลด และอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าเช่า
สำหรับแนวโน้มธุรกิจในปี 2566 ธุรกรรมการจำหน่ายธุรกิจบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต บริษัทฯ คาดว่าธุรกรรมการจำหน่ายเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัทย่อย และธุรกิจที่เกี่ยวข้องของบริษัท ทริปเปิลทีบรอดแบนด์ (TTTBB) รวมถึงการจำหน่ายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) ให้แก่ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (AWN) ที่บริษัทฯ ได้เปิดเผยไปแล้วในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 จะแล้วเสร็จในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 1 หรือต้นไตรมาสที่ 2 ปี 2566
การปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทฯ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจปัจจุบัน และสร้างธุรกิจใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนความเติบโตขององค์กร ภายหลังจากที่ธุรกรรมการจำหน่ายเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัทย่อย และธุรกิจที่เกี่ยวข้องของ TTTBB รวมถึงการจำหน่วยลงทุนใน JASIF ให้แก่ AWN เสร็จสิ้นลงแล้ว กลุ่ม JAS จะดำเนินการปรับโครงสร้าง โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม JAS Green กลุ่ม JAS Care และ กลุ่ม JAS Innovation โดยที่
กลุ่ม JAS Green จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานสะอาด ซึ่งรวมถึงบริการติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อป ให้แก่ ภาคการพาณิชย์และอุตสาหกรรม (Commercial and Industrial Sector : “C&I”) และ ลูกค้าทั่วไป
กลุ่ม JAS Care จะดำเนินธุรกิจให้บริการการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัล (Digital Healthcare Service) โดยผสานการให้บริการแบบออฟไลน์ของพันธมิตร เข้ากับแพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีออนไลน์ที่หลากหลาย โดย JAS Care จะให้บริการแก่ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
กลุ่ม JAS Innovation ประกอบด้วยธุรกิจนวัตกรรมต่าง ๆ อาทิธุรกิจอินเทอร์เน็ตทีวีภายใต้แบรนด์ 3BB GIGATV ธุรกิจให้บริการโครงข่าย และไอทีโซลูชั่น ครบวงจร ซึ่งด าเนินการโดยบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต (Ji-NET) และ กลุ่ม JTS นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเหมืองขุดบิตคอยน์ ซึ่งกลุ่ม JTS จะยังคงด าเนินการต่อไป โดยจะย้ายสถานที่ติดตั้งเครื่องขุดบิตคอยน์ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลง ในขณะเดียวกัน ก็จะด าเนินการขยายธุรกิจโซลูชั่น เทคโนโลยีต่าง ๆ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด (JasTel) และบริษัท คลาวคอมพิวติ้ง โซลูชั่นส์ (CCS) อีกด้วย
โดยจำนวนพนักงานของกลุ่ม JAS จะลดลงจากประมาณ 10,000 คน เหลือไม่ถึง 1,000 คน ซึ่งจะทำให้กลุ่ม JAS สามารถปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมของธุรกิจต่าง ๆ ดังกล่าว ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ
องค์กร และมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย