MFC : US stocks fall as investors await inflation data

Highlighted Funds

MGF : ลงทุนในหุ้นเติบโตคุณภาพดี (Quality Growth Stock) มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาด เนื่องจากหุ้นประเภทนี้มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง มีกำไรและรายได้เติบโตสม่ำเสมอ อีกทั้งยังทนกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เงินเฟ้อและดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นได้ดี

M-EDGE : โอกาสลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และเติบโตอย่างยั่งยืน คัดเลือกลงทุนหุ้นคุณภาพดี สามารถสร้างมูลค่าได้เหนือกว่าดัชนีหุ้นโลก อีกทั้ง กองทุนกระจายการลงทุนไปในธุรกิจที่มี business cycle ต่างกัน และหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เหมาะสมกับภาวะตลาดในปัจจุบันที่มีความผันผวนสูง

MCHINA : ลงทุนในหุ้นจีน A-shares ซึ่งได้ประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนในระยะยาว จากกลุ่มชนชั้นกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน Valuation อยู่ในระดับที่ค่อนข้างถูก โดย Forward P/E ของดัชนี CSI300 อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่ -0.5 S.D.

MCHEVO : ลงทุนในหุ้นจีน All Shares ใน China Evolution Theme บริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ของจีน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. กลุ่มการบริโภค 2. กลุ่มเทคโนโลยี 3. กลุ่มอุตสาหกรรม 4. กลุ่มพลังงานสะอาด 5. กลุ่มยาและสุขภาพ

M-BT : กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นที่คัดสรรหุ้นไทยที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคโดยทีมผู้จัดการกองทุนที่มากด้วยประสบการณ์และมีกลยุทธ์การบริหารพอร์ตที่ยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด ที่มีความผันผวน

Investment Strategy

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 0.50% สู่ระดับ 0.75% – 1.00% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง (ภาพที่ 1) ขณะเดียวกันคณะกรรมการมีความเห็นว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ในการประชุม 2 ครั้งถัดไปเดือน มิ.ย. และเดือน ก.ค. ซึ่งปัจจุบันเฟดยังไม่ได้พิจารณาถึงเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงที่ระดับ 0.75%

นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังประกาศดึงสภาพคล่องออกจากระบบ (Quantitative Tightening) ที่วงเงินไม่เกิน 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2565 ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดขนาดงบดุลในวงเงิน 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน ซึ่งจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และตราสารหนี้ MBS วงเงิน 1.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม และหลังจากนั้น 3 เดือน ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเพิ่มการลดขนาดงบดุลเป็น 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และตราสารหนี้ MBS วงเงิน 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าจะสามารถลดขนาดงบดุลได้ถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอีก 1 ปีข้างหน้า และจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี เพื่อให้ขนาดงบดุล (Fed Balance Sheet) กลับมาที่ระดับเดิมก่อนเกิดวิกฤตโควิด

สหรัฐฯ รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 428,000 ตำแหน่งในเดือน เม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดที่ระดับ 380,000 ตำแหน่ง (ภาพที่ 3) นอกจากนี้หากพิจารณาตัวเลขอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานที่ใช้บ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ กลับพบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 0.3%MoM ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 0.5%MoM สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ Bloomberg Consensus ที่มองว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีโอกาสทำจุดสูงสุดในไตรมาสที่ 2 และจะเริ่มปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้ติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ CPI ในวันพุธที่ 11 พ.ค. นี้ ว่าจะชะลอตัวลงตามที่ตลาดคาดหรือไม่