หุ้นกลุ่มเกษตร-อาหารปรับลง ต้นทุนสูงขึ้นกระทบกำไร-รับผลลบรัสเซียหยุดส่งออกปุ๋ย

HoonSmart.com>>หุ้นในกลุ่มเกษตร-อาหารปรับตัวลงทั่วหน้า รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับขึ้น นำโดยราคาน้ำมัน กระทบต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นส่งผลต่อความสามารถการทำกำไร อีกทั้งยังเผชิญกับผลกระทบจากรัสเซียหยุดส่งออกปุ๋ยเคมีชั่วคราว โดยบริษัทที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ได้แก่ GFPT, CPF และ TFG,กลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์ TU และ ASIAN

หุ้นในกลุ่มเกษตร และอาหาร ปิดเทรดภาคเช้าปรับตัวลงทั่วหน้า นำโดยหุ้น TKN ร่วง 5.81% มาอยู่ที่ 7.30 บาท ลดลง 0.45 บาท มูลค่าซื้อขาย 66.22 ล้านบาท

หุ้น ASIAN ร่วง 5.77% มาอยู่ที่ 14.70 บาท ลดลง 0.90 บาท มูลค่าซื้อขาย 58.59 ล้านบาท
หุ้น TFG ลบ 4.78% มาอยู่ที่ 3.98 บาท ลดลง 0.20 บาท มูลค่าซื้อขาย 40.18 ล้านบาท
หุ้น NRF ลบ 4.11% มาอยู่ที่ 7.00 บาท ลดลง 0.30 บาท มูลค่าซื้อขาย 40.40 ล้านบาท
หุ้น MINT ลบ 4.10 บาท มาอยู่ที่ 29.25 บาท ลดลง 1.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 701.87 ล้านบาท
หุ้น SNNP ลบ 3.73% มาอยู่ที่ 15.50 บาท ลดลง 0.60 บาท มูลค่าซื้อขาย 104.94 ล้านบาท
หุ้น GFPT ลบ 3.03% มาอยู่ที่ 12.80 บาท ลดลง 0.40 บาท มูลค่าซื้อขาย 107.74 ล้านบาท
หุ้น SAPPE ลบ 2.80% มาอยู่ที่ 24.30 บาท ลดลง 0.70 บาท มูลค่าซื้อขาย 30.95 ล้านบาท
หุ้น CPF ลบ 2.06% มาอยู่ที่ 23.80 บาท ลดลง 0.50 บาท มูลค่าซื้อขาย 816.20 ล้านบาท
หุ้น TU ลบ 2.03% มาอยู่ที่ 19.30 บาท ลดลง 0.40 บาท มูลค่าซื้อขาย 107.74 ล้านบาท

น.ส.สุทธาทิพย์ พีรทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้นในกลุ่มเกษตร และอาหาร มีความกังวลเกี่ยวกับวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ปรับตัวขึ้น อย่างเช่น อาหารสัตว์ พวกกากถั่วเหลือง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารสัตว์ ราคากากถั่วเหลืองจะปรับตัวขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์สูงขึ้น รวมถึงต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเป็นการปรับขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ที่ต่างปรับขึ้นกันหมด นำโดยราคาน้ำมัน ทำให้มีผลต่อต้นทุน กระทบต่อการทำกำไรของบริษัทฯ

สำหรับ CPF ที่มีฟาร์มหมู-ไก่อยู่ที่รัสเซียนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบอะไร และส่วนใหญ่ CPF ก็จะขายในประเทศรัสเซีย แต่หากสถานการณ์ยูเครนยืดเยื้อ ก็ต้องมาดูว่าการบริโภคจะหยุดชะงักหรือไม่ ซึ่งธุรกิจของ CPF ในรัสเซียแค่ 3% ของยอดขายรวม ถือว่าไม่มาก ส่วนใหญ่ 30% จะอยู่ในไทย ที่เหลืออยู่ในประเทศอื่น จะมีมากหน่อยก็ที่เวียดนาม

นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้น MINT ปรับตัวลงนำตัวอื่นก่อนเลย เพราะ MINT มีโรงแรมอยู่ในยุโรป และ CPF ก็มีฟาร์มหมูในรัสเซีย ส่วน TU ก็มีการ่วมลงทุนในรัสเซีย ทำให้คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย และยูเครน ซึ่งยิ่งค่าเงินรูเบิลอ่อนค่ามากก็จะไม่เป็นผลดีต่อการลงทุนในต่างประเทศ

นอกจากนี้ หลายบริษัทในไทยมีการลงทุนในยุโรป แต่ไม่ใช่ทุกบริษัทฯจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ยูเครน อย่าง GFPT ก็มีค้าขายในยุโรป, IVL มีโรงงานในยุโรป รวมถึง TOG, SAPPE, CBG, TKN เป็นต้น ต่างก็ทำการค้าขายในยุโรป

บล.เคทีบีเอสที แนะนำ”หลีกเลี่ยงการลงทุน”หุ้นในกลุ่ม เกษตร และอาหาร ไปก่อนเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงผลกระทบของสงคราม โดยบริษัทที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ได้แก่ GFPT, CPF และ TFG,กลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์ TU และ ASIAN ประเมินหุ้นที่กระทบจากรัสเซียหยุดส่งออกปุ๋ยเคมีชั่วคราว
ทั้งนี้ สำนักข่าวของรัสเซียรายงานว่าทางกระทรวงพาณิชย์ของประเทศรัสเซียมีแผนจะหยุดส่งออกปุ๋ยเคมีสู่ตลาดโลกชั่วคราว เพื่อรอการให้สถานการณ์การขนส่งกลับมาสู่ภาวะปกติ หลังจากบริษัทขนส่งหลายบริษัทได้แก่ A.P. Moller-Maersk A/S และ Mediterranean Shipping Co ประกาศหยุดดำเนินในธุรกิจในรัสเซียชั่วคราว ผลจากการทำสงครามกับยูเครน

ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นลบต่อกลุ่มเกษตร และอาหาร เนื่องจากประเทศรัสเซียเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีรายใหญ่ที่สุดในโลก มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 13% โดยประเทศที่นำ เข้าปุ๋ยเคมีจากประเทศรัสเซียมากที่สุดในโลกคือ “บราซิล” ซึ่งมีการนำเข้าปุ๋ ยเคมีจากรัสเซียคิดเป็นประมาณ 85% ของการบริโภคภายในประเทศ โดยปัจจุบันบราซิลเป็นประเทศผู้ส่งออกถั่วเหลืองรายใหญ่ อันดับ 1 ของโลก และส่งออกข้าวโพดรายใหญ่ อันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ หากรัสเซียมีการประกาศห้ามส่งออกปุ๋ยเคมีอย่างเป็นทางการ จะทำ ให้ต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

ผู้เลี้ยงสัตว์และผู้ผลิตอาหารสัตว์ในประเทศไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าปุ๋ ยเคมีจากรัสเซียคิดเป็นประมาณ 7% ของปริมาณการใช้ในประเทศ และนำเข้าถั่วเหลืองกว่า 70% ของปริมาณการใช้มาจากประเทศบราซิล ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการห้ามส่งออกปุ๋ ยเคมีของรัสเซีย ขณะที่ปัจจุบันราคาเนื้อสัตว์หมูและไก่ เป็นสินค้าควบคุม ดังนั้นหากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาขายอาจจะไม่สามารถปรับขึ้นได้ตามกลไกตลาด