HoonSmart.com>> ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 166 จุด ท่ามกลางการซื้อขายผันผวน นักลงทุนติดตามสถานการณ์รัสเซียบุกโจมตียูเครน มาตรการคว่ำบาตรรัยเซีย ด้านตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ราคาน้ำมันดิบพุ่งกว่า 4%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average:DJIA) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ปิดที่ 33,892.60 จุด ลดลง 166.15 จุด หรือ 0.49% ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนขณะที่นักลงทุนยังติดตามสถานการณ์รัสเซียบุกโจมตียูเครน รวมทั้งการใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจากสหรัฐฯและพันธมิตร
ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 4,373.94 จุด ลดลง 10.71 จุด, -0.24%
ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,751.40 จุด เพิ่มขึ้น 56.78 จุด, +0.41%
ดัชนี S&P 500 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง และติดต่อกันยาวสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020
การใช้มาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซียที่มากขึ้นทำให้ความเสี่ยงของนักลงทุนสูงขึ้น เพราะส่งผลให้หุ้นและพันธบัตรของรัสเซียหลุดจากมาตรฐานสำคัญของโลก และพ้นจากการเป็นแหล่งหลักของอุตสาหกรรมกองทุนเพื่อการลงทุน
MSCI Inc. กล่าวว่า กำลังทำความเข้าใจให้กับลูกค้าถึงผลกระทบของการคว่ำบาตรต่อตลาดและตัดสินทรัพย์ของรัเซียออกจากมาตรวัดหุ้นสำคัญๆ ในขณะเดียวกันโกลด์แมน แซคส์เตือนว่า มีความเสี่ยงของพันธบัตรรัสเซียที่จะถูกตัดออกจากดัชนี JPMorgan Chase & Co.
นักวิเคราะห์จากTavis McCourt กล่าวว่า โดยพื้นฐานแล้วสงครามเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง นักลงทุนเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง และหันไปหาพันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ปลอดภัยอื่น จนกว่าจะมีภาวะปกติใหม่หรือได้ข้อสรุป
หุ้นกลุ่มผู้ผลิตอาวุธปรับตัวขึ้น โดยหุ้นNorthrop Grumman เพิ่มขึ้น 7.93% หุ้นLockheed Martin เพิ่มขึ้น 6.67% หุ้นRaytheon Technologies เพิ่มขึ้น 4.67% หุ้นด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็ปรับขึ้นเช่นกัน โดยหุ้น Crowdstrike เพิ่มขึ้น 7.4%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็วโดยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 1.83% ลดลง 15 จุด และส่งผลให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับขึ้นและดัชนี Nasdaq กลับมาบวก หุ้นเทสลา 7.5%
ตลาดเงินตราต่างประเทศผันผวนมาก ธนาคารกลางของรัสเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลักเป็นสองเท่า จาก 9.5%เป็น 20% เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินห็นว่าเงินรูเบิลร่วงลงเกือบ 22% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินรูเบิลแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงเช้าของวันจันทร์
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในยุโรปและแคนาดาคว่ำบาตรธนาคารรัสเซียออกจากระบบ SWIFT ที่เชื่อมโยงธนาคารและสถาบันการเงินมากกว่า 11,000 แห่งในกว่า 200 ประเทศและเขตปกครอง
นอกจากนี้ พันธมิตรของสหรัฐฯ และยุโรปยังได้คว่ำบาตรธนาคารกลางของรัสเซีย ซึ่งทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศถูกแช่แข็ง
การคว่ำบาตรในตลาดการเงินทำให้นักลงทุนและผู้ค้าบางรายมองหาการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นนอกตลาดรัสเซีย
“ธนาคารรัสเซียบางแห่งถูกตัดออกจาก SWIFT (ยกเว้นธุรกรรมด้านพลังงาน) และการแช่แข็งของธนาคารกลางรัสเซียในการเข้าถึงทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ถืออยู่ในฝั่งตะวันตกจะเพิ่มความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน” นักวิเคราะห์จาก 22V Research กล่าว
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จาก 22V Research ชี้ให้เห็นว่ารัสเซียยังคงขายน้ำมันได้และกล่าวว่าอาจมี “ช่องว่าง” ในสินทรัพย์ของรัสเซียที่ถูกแช่แข็งซึ่ง “อาจจำกัดผลกระทบในตลาดได้ 2-3วัน”
ด้านนักวิเคราะห์จากToews Asset Managementระบุว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้น “อยู่เหนือกรณีพื้นฐาน ซึ่งก็คือเข้าสู่ภาวะ bear market เป็นผลจากมูลค่า อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่สูง
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.พ.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้
ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มธนาคารที่ลดลง 4.4% จากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซียกับยูเครน และการใช้มาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซียจากนานาชาติ
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 453.11 จุด ลดลง 0.42 จุด, -0.09%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,458.25 จุด ลดลง 31.21 จุด, -0.42%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,658.83 จุด ลดลง 93.60 จุด, -1.39%,
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,461.02 จุด ลดลง 106.21 จุด, -0.73%
ราคาน้ำมันดิบ WTI งวดส่งมอบเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 4.13 ดอลลาร์ หรือ 4.5% ปิดที่ 95.72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบ Brent ทะเลเหนืองวดส่งมอบเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 3.06 ดอลลาร์ หรือ 3.1% ปิดที่ 100.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล